วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ความรู้ ประสบการณ์ และแนวคิด: การปรับเปลี่ยนทิศทางการพัฒนา (Reprofiling) มหาวิทยาลัยราชภัฏสู่ความเป็นเลิศ (พ.ศ.2560-2569)

เอกสารประกอบการบรรยาย
   ระหว่างวันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ 2559 ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และ นางสาวทวีวรรณ ทองนวล ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยฯ ให้เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการ เรื่อง การปรับยุทธศาสตร์ (Reprofiling) มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2560-2569 ณ โรงแรมเอสดี อเวนิว กรุงเทพฯ ซึ่งจัดโดยที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.) โดยได้รับเกียรติจาก ดร.กฤษณพงศ์  กีรติกร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หรือ มจธ. (http://www.kmutt.ac.th) และ อ.ธนิตสรณ์ จิระพรชัย รองอธิการบดีฝ่ายแผนและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นวิทยากรเชิงปฏิบัติการ ซึ่งวิทยากรได้เสนอแนวทางและข้อเสนอแนะในการปรับทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาในระยะ 10 ปีข้างหน้า ซึ่งผู้เข้าประชุมปฏิบัติการ ได้แก่ อธิการบดี รองอธิการบดี ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน คณบดี และผู้เกี่ยวข้องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยละ 2-3 ท่าน

    สำหรับวัตถุประสงค์สำคัญในการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ คือ เพื่อให้ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องร่วมกันจัดทำ Workshop กำหนดกรอบหรือทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏในระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2560-2569) โดยการกำหนดทิศทางการพัฒนาอิงตามความร่วมมือกลุ่มพื้นที่ให้บริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏ รวม 7 กลุ่มพื้นที่ ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง กรุงเทพมหานคร ภาคตะวันตก และภาคใต้ ทั้งนี้ เพื่อใช้ความเข้มแข็งและอัตลักษณ์ของพื้นที่แต่ละกลุ่ม รวมทั้งความเชี่ยวชาญของ มรย.แต่ละกลุ่ม (Cluster) กำหนดยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และเป้าหมายของการพัฒนา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่บริการ โดยใช้ข้อมูลจากภายนอกที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาในพื้นที่ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของภาวะของโลก สภาพสังคมไทยในอนาคต และโครงการขนาดใหญ่ (Mega Project) ของไทย ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  ทั้งนี้ เน้นการปรับทิศทางการพัฒนาตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยฯ ได้แก่ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในพื้นที่เป็นสำคัญ เน้นเป้าหมาย คือ การได้งานทำของผู้เรียน โดยมองปัจจัยภายนอก (Outside In) ที่มีผลกระทบต่อการผลิตบัณฑิตเป็นหลัก มากกว่ามองจากภายในมหาวิทยาลัย

    สาระสำคัญที่วิทยากร ดร.กฤษณะพงศ์ กีรติกร บรรยายชี้ให้เห็นภาพในอนาคตที่มหาวิทยาลัยราชภัฏจะต้องปรับทิศทางการพัฒนา ทั้งนี้ เนื่องจากมีสภาพหรือภาวะจากภายนอกที่มีผลกระทบต่ออนาคตของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะพันธกิจหลัก ได้แก่การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลกระทบจากภายนอกจากสภาพการเปลี่ยไปของสภาพเศรษฐกิจ สังคมของโลก ในภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งของไทยเอง โดยเน้นประเด็นสำคัญดังนี้

  • ในช่วงปี พ.ศ. 2557-2559 ประเทศต้องการงบประมาณเพื่อโครงการขนาดใหญ่ทางสังคมและเศรษฐกิจ ควบคู่กับ การลดความทุกข์ประชาชนการกระตุ้นเศรษฐกิจ การศึกษาต้องสามารถตอบโจทย์ประเทศได้ สังคมจึงจะเห็นว่า ควรสนับสนุนการศึกษา
  • คำถามพื้นๆ ที่ต้องการคำตอบ (Nuts and Bolts Questions) ที่มหาวิทยาลัยฯ ต้องหาคำตอบ ได้แก่
    1.  การปฏิรูปอุดมศึกษาไทย เพื่อก้าวไปสู่มหาวิทยาลัยโลก
    2. การพัฒนามหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์สังคมอีก 20 ปีข้างหน้า
    3. มุมมองต่อคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยในอดีตและปัจจุบัน
    4. นโยบายหรือวิธีการ ที่ประเทศไทยเคยใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษาทั้งที่ได้ผลดีและไม่ได้ผล
    5. กรณีศึกษาในประเทศอื่นที่มีบริบทที่ใกล้เคียงกับประเทศไทยที่ประสบความสาเร็จในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
    6. จุดแข็งที่เรามีและจุดอ่อนที่ควรจะต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในทศวรรษหน้า
  • 7. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย ภาพในหลายๆมุมมอง
  • 8. ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด หากมหาวิทยาลัยไม่สามารถปรับตัว
  • ตามสถานการณ์เงินได้ จะเกิดอะไรขึ้น เช่น การจ้างออก 
  • การยุบรวมภาควิชาฯ การยอมลดคุณภาพของนักศึกษา
  • 9. จุดเด่น ข้อดี / จุดด้อย จุดอ่อน ของการออกนอกระบบ
  • 10. อนาคต ทิศทางของมหาวิทยาลัยในกากับ ของ ประเทศไทย
  • 11. ตัวอย่าง ความสาเร็จด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัยในกากับ
  • ในประเทศ หรือ ตัวอย่างในต่างประเทศ
  • 12. การลงทุนด้านการศึกษา สัดส่วนระหว่างการลงทุนของรัฐกับผู้เรียน
    13. ถ้าอาจารย์ขาดทักษะในการสอนให้นศ.วิชาเรียนแบบ Problem -based หรือการสร้าง critical thinking จะมีวิธี หรือทางเลือกอื่นในการแก้ไขปัญหานี้ อย่างไร?
    14.ถ้าจานวนของภาคเอกชนที่มีวัฒนธรรมการทาวิจัยและพัฒนาน้อย มหาวิทยาลัยควรมีมาตรการอย่างไร ?
    15. สานักวิชาฯ ควรมีการปรับตัวอย่างไร ต่อภาวะที่จานวน นศ. 
  • ที่เข้าสู่ระบบลดลงอย่างต่อเนื่อง บริบทใดน่าจะเป็นโอกาสและภัยคุกคาม
  • มหาวิทยาลัยคงไม่เพียงสร้างกาลังคนทางเทคนิค-ทหารเดินเท้าทางเทคนิค (Technical foot soldier) ออกไปทำงานเท่านั้น แต่มหาวิทยาลัยต้องสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัยต้องใช้ social brain (สติปัญญา/ทักษะทางสังคม) นอกจาก technical brain (สติปัญญาเชิงเทคนิค/สำหรับการประกอบอาชีพ)
  • มหาวิทยาลัย (โดยเฉพาะหลักสูตร) ต้องคิดใหม่ ทำใหม่ เปลี่ยน Mind Set ยอมรับว่าปัจจุบันมีปัญหาการผลิตบัณฑิตไม่มีงานทำ รับประกันไม่ได้ว่าบัณฑิตที่เรียนกับเราแล้ว จบไปมีงานทำ คุณภาพบัณฑิตมีปัญหา ทั้ง Social Brain และ Technical Brain
  • เมื่อมหาวิทยาลัยหรือหลักสูตร ต้องการให้เกิดผลที่เปลี่ยนแปลง เกิดผลใหม่ๆ จะต้อง "ไม่ทำอย่างเดิม ซ้ำแล้วซ้ำเล่า" ซึ่ง  "การทำอย่างเดิม ซ้ำแล้วซ้ำเล่า และคาดหวังจะได้ผลใหม่ เป็นความเสียสติ-ความไร้สติ"  โดยวิทยากรยกคำกล่าวของ Albert Einstein เป็นการกระตุ้นให้คนในมหาวิทยาลัยฯ ต้องเปลี่ยนความคิดของตัวเองหรือ Mind Set ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงทิศทางการพัฒนา (เน้นการมองจากภายนอก หรือ Out Side In เป็นหลัก)
  • ผู้จบมหาวิทยาลัย ตกงานในอัตราสูงกว่าผู้จบ ปวช. ปวส. มัธยมปลาย เรียนมหาวิทยาลัยไปเพื่ออะไร ถ้าหลักสูตรมหาวิทยาลัยไร้คุณภาพ ไม่ใช่ความต้องการของตลาด/สังคม ถ้าหลักสูตรไม่สร้างผู้จบให้มี workability/employability
  • Learning Outcomes ของการศึกษาแนวโน้มสาคัญของการศึกษา เน้น ทักษะการเรียนรู้ 21stCentury Skills, Employability 
  • การสร้าง 21st Century Skills ทำได้โดยการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมและทรัพยากรทั้งปวงในบริบทของผู้เรียนให้เป็น “ห้องเรียน” หรือ “แหล่งเรียนรู้” ให้เกิดพื้นที่กระบวนการเรียนรู้(Learning space) ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น
    :การเรียนบนฐานโครงการ(Project-Based Learning) เพื่อเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และการมองเชิงบูรณาการ
    : การเรียนบนฐานปัญหา(Problem-Based Learning) เพื่อเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา
    : การเรียนรู้บนฐานวิจัย (Research-Based Learning) เพื่อกระตุ้นความใฝ่รู้และทักษะการเรียนรู้
    : การเรียนรู้คู่การทำงาน (Work-Based Learning) เพื่อเสริมทักษะความพร้อมด้านอาชีพไป จนถึง
    : การเรียนรู้คู่การบริการ(Service Learning) เพื่อสร้างทั้งทักษะชีวิตและจิตสานึกในหน้าที่ต่อสังคม
  • การ Reprofiling อุดมศึกษาทาอะไรได้ทันที ได้แก่
    1.เลิกหลักสูตรที่ผู้จบไม่มีงานทำหรือถูกจ้างต่ากว่าวุฒิ (แม้จะมีผู้เรียนและสร้างรายได้ให้มหาวิทยาลัยฯ)
    2. ปรับหลักสูตรให้เชื่อมโลกของงาน (Work based/ integrated/ immersion) ทั้งภาคสังคม ธุรกิจ อุตสาหกรรม สร้าง soft skills/ workability/ employability
    3. อุดหนุนหลักสูตรที่จำเป็นต่อสังคม 

  สำหรับในส่วนของ อ.ธนิสรณ์ จิระพรชัย และคณะ เป็นการนำข้อมูล สารสนเทศเทศที่ได้ในช่วงเช้า ปฏิบัติงาน Workshop โดยแยกเป็นเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏแต่ละกลุ่ม วิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่ ความเข้มแข็งของมหาวิทยาลัยเครือข่าย เพื่อกำหนดเป้าหมายการพัฒนาและกลยุทธ์ในการพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยเน้นผลกระทบจากบริบทของโลก ได้แก่ การจับกลุ่มของภาคีประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น
สำหรับในส่วนของ
Chindia, BRICS, ASEAN, AIIB  นโยบายและทิศทางของประเทศ ได้แก่ WORKFORCE, Aging society, ความเหลื่อมล้ำ, Middle Income Trap, เส้นทางคมนาคมระหว่างประเทศ, เขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือเศรษฐกิจดิจิตอลบริบทของสังคมไทย รวมทั้งเมคกะโปรเจคที่กำลังจะเกิดขึ้น ได้แก่ ระบบบริหารน้ำ ระบบจัดการขยะ รถไฟความเร็วสูง/รถไฟรางคู่เชื่อมสุวรรณภูมิและจีน หรือโครงข่ายถนนระหว่างประเทศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยราชภัฏแต่ละกลุ่มอย่างไร
ไม่ว่าจะเป็นด้าน การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
   สำหรับ กลุ่มราชภัฏภาคใต้ ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กำหนด ไว้ 3 Cluster สำหรับความร่วมมือในการพัฒนาร่วมกันในประเด็นของ ได้แก่ การผลิตครูตามบริบท การท่องเที่ยวและบริการ และอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหาร ซึ่งจะมีการร่วมกันกำหนดเสนอข้อมูลและสารสนเทศ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และโครงการในภาพรวมร่วมกันต่อไป
การกำหนด Cluster ความร่วมมือในการพัฒนาของมหาวิทยาลัยราชภัฏแต่ละกลุ่ม
(ผลจากการจัดทำ Workshop และการนำเสนอในเบื้องต้น)
    โดยสรุป กล่าวได้ว่าการปรับทิศทางของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาพรวมของกลุ่ม และของแต่ละมหาวิทยาลัยราชภัฏ หรือแม้แต่ "มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา" เอง จำเป็นต้องเร่งปรับทิศทางในการพัฒนา (Reprofiling) องค์กร พัฒนาและบรรจุในแผนยุทธศาสตร์ในระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2560-2569) อย่างเร่งด่วน ได้แก่ 

  • การพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรใหม่ๆ ที่ผลิตบัณฑิตเพื่อการมีงานทำ เน้นความต้องการของตลาดมากกว่าของมหาวิทยาลัย สอดคล้องกับบริบทสังคมโลก อาเซียน หรือของประเทศ การปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้น Work-based Learning สร้างทักษะและความพร้อมการทำงานให้บัณฑิต ก่อนออกสู่ตลาดแรงงาน 
  • การทำวิจัยและบริการวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนในพื้นที่ เน้นตอบสนองความต้องการของประชากรกลุ่มใหญ่ ซึ่่งได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ ที่ยังมีความสามารถ มีกำลังซื้อ

          ดังนั้น ในระยะ 10 ปี ข้างหน้า ซึ่งเห็นว่าหลักสูตรควรจะต้องพิจารณาปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการทำงานของบัณฑิตเป็นประเด็นสำคัญ มากกว่ามองจากภายในและใช้วิธีการพัฒนาหลักสูตรในรูปแบบเดิมๆ ที่เน้นการศึกษาความต้องการของผู้เรียน ควรศึกษาปัจจัยภายนอก ความต้องการผู้ใช้บัณฑิต ทิศทางของตลาดแรงงานมากกว่า ไม่เช่นนั้น จะเป็นการทำร้ายบัณฑิตทางอ้อม สำเร็จการศึกษาแล้ว ไม่มีงานทำอย่างแน่นอน