วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สรุปอบรมจริยธรรมการทำวิจัยในมนุษย์

 

สรุปอบรมจริยธรรมการทำวิจัยในมนุษย์ (วิทยากร ดร.ชมพูนุช สุภาพวานิช) วันที่ 18 สิงหาคม 2563 เวลา 13.00-16.00 น.

- การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคนหรือการกระทำต่อคน (แบบสอบถาม สัมภาษณ์ทางสังคมศาสตร์ สิ่งแวดล้อมและสภาวะแวดล้อมต่างๆ การทดลองทางเภสัชผลิตภัณฑ์ การศึกษาทางจิตวิทยา)
- สิงที่ต้องเตรียมในการขอจริยธรรมการทำวิจัยในคน (โครงร่างการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เอกสารชี้แจงข้อมูลสำหรับอาสาสมัครวิจัยหรือผู้ป่วย เอกสารแสดงความยินยอม ปรวะัติผู้วิจัย หนังสือนำ/ส่งข้อเสนอโครงการวิจัย)
- โครงร่างวิจัย (ชื่อโครงการวิจัย ชื่อผู้วิจัย วัตถุประสงค์ ตาม flow โครงร่างวิจัย และเพิ่มส่วนการขอความยินยอมและการอนุมัติ ข้อพิจารณาด้านจริยธรรม )
- หลักจริยธรรมทั่วไป (เคารพในบุคคล หลักผลประโยชน์ ความยุติธรรม)
- เคารพในศักดิ์ศรี เคารพนการยินยอม
- หลักผลประโยชน์ (ประโยชน์ที่เกิดขึ้น ความเสี่ยงต่อกลุ่มเปาะบาง)
- หลักยุติธรรม (หลักเกณ์ การคัดเลือก)
- ประเด็นสำคัญในการเขียนเพื่อขอจริยธรรมวิจัยในคน
- โครงร่างการวิจัย (ต้องบอกประเภทของการวิจัย ประชากร เป็นใคร ที่ไหน จำนวนเท่าไร กลุ่มตัวอย่าง ที่มาที่ไปขอจำนวนกลุ่มตัวอย่าง เกณฑ์คัดเข้าออก วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง สถานที่เก็บ)
- กลุ่มเปราะบาง ทารก เด็ก ผู้ป่วย ผู้ต้องขัง นักเรียน นักศึกษา
- การรวบรวมข้อมูล (เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ระบุวิธีการเชิญชวนอาสาสมัครเข้าร่วม วิธีการเก็บข้อมูล ระยะเวลาที่เก็บข้อมูล ค่าตอบแทนหรือรางวัล สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล)
- ข้อมูลที่ต้องให้เพิ่มเติมในโครงร่างวิจัย (วิธีการระมัดระวังและรักษาความลับของอาสาสมัครวิจัย รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลวิจัยและการเก็บรักษาข้อมูล)
- การตัดตอนความเชื่อมโยงกับผู้เป็นเจ้าของข้อมูลทั้งในส่วนของขั้นตอนการดำเนินการวิจัยและการขอเสนอผลการวิจัย
- เอกสารแสดงความยินยอมเข้าร่วมวิจัย (ระบุยืนยันว่าผู้วิจัยได้อธิบายวัตถุประสงค์แก่อาสามัครแล้ว ระบุที่อยู่และเบอร์ติดต่อสอบถามผู้วิจัยได้ตลอด 24 ชม.)
- เอกสารข้อมูลคำอธิบายสำหรับอาสาสมัครวิจัย
- การตีพิมพ์บทความต่างประเทศ ต้องแจ้งขอจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ผ่านเว็บไซต์ของ WHO อยู่ในส่วน thic
- ระยะเวลาในการพิจารณา 1 เดือน ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ ขั้นต่ำ 5 คน
- ต้องระบุในบทที่ 3 ว่าได้ใช้จริยธรรมการทำวิจัยอย่างไร มีการขอจริยธรรมการทำวิจัยในคนอย่างไร
- ตั้งค่าตอบแทนคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ประมาณคนละ 2000 บาท
- ได้แจ้งให้อาสมัครยินยอมให้ข้อมูลโดยไม่มีการบังคับ
- ต้องส่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยทุกอย่างให้กรรมการพิจารณา เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ ฯลฯ
- ต้องขอจริยธรรมในกรณีที่ต้องการเขียนบทความเพื่อเผยแพร่ หรือนำออกสู่สาธรารณชน เช่น ตีพิมพ์ในวารสาร หรือนำเสนอทั้งในระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สำนักงานประกันคุณภาพสร้างระบบกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสำหรับหน่วยงานสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา พ.ศ. 2562

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้กำหนดให้มีการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในหน่วยงานสายสนับสนุน เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงาน ทั้งนี้เพื่อให้หน่วยงานสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาได้มีการพัฒนามุ่งสู่วิสัยทัศน์และสนับสนุนการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานสายสนับสนุนในภาพรวมตามระบบคุณภาพและกลไกที่มหาวิทยาลัยกำหนดขึ้นโดยวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ในองค์ประกอบคุณภาพต่าง ๆ ว่าเป็นไปตามเกณฑ์และได้มาตรฐานเพื่อให้หน่วยงานสายสนับสนุนทราบสถานภาพของตนเอง อันจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางในการพัฒนาคุณภาพไปสู่เป้าหมาย (Targets) และเป้าประสงค์  (Goals) ที่ตั้งไว้ ตามจุดเน้นของตนเองเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สะท้อนจุดแข็ง จุดที่ควรพัฒนา ตลอดจนข้อเสนอแนะ ในการพัฒนาการดำเนินงาน เพื่อนำไปปรับปรุงผลการดำเนินการในแต่ละระดับอย่างต่อเนื่อง ยกระดับขีดความสามารถของหน่วยงานสายสนับสนุนและมหาวิทยาลัย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สะท้อนจุดแข็ง จุดที่ควรพัฒนา ตลอดจนข้อเสนอแนะ ในการพัฒนาการดำเนินงาน และเพื่อนำไปปรับปรุงผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และยกระดับขีดความสามารถของหน่วยงานสายสนับสนุนและของมหาวิทยาลัย

ในการจัดทำตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสำหรับหน่วยงานสายสนับสนุน ประจำปีการศึกษา 2562 นี้ โดยใช้กรอบและแนวทางการดำเนินงาน ในตัวบ่งชี้ของคณะกรรมการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ และตัวชี้วัดแผนปฏิบัติราชการประจำปีของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นโยบายเร่งด่วน และตัวชี้วัดแผนปฏิบัติราชการระจำปีเพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

การจัดทำการตัวบ่งชี้ประกันคุณภาพการศึกษาภายในสำหรับหน่วยงานสายสนับสนุน สำนักงานประกันคุณภาพ ได้จัดประชุมเพื่อพิจารณาตัวบ่งชี้สำหรับหน่วยงานสายสนับสนุน ในวันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2563 โดยมีรองอธิการบดีฝ่ายบริหารเป็นประธานการประชุม ผู้อำนวยการสำนักงานประกันคุณภาพ ผู้บริหารและผู้แทนของหน่วยงานสายสนับสนุน ได้แก่ สำนักงานอธิการบดี สำนักวิทยบริการฯ และสถาบันวิจัยฯ เข้าประชุม โดยมีมติดังนี้ ข้อที่ 1 ในปีการศึกษา 2562 องค์ประกอบที่ 2 การวิจัยและการบริการวิชาการ ไม่ประเมินต้วบ่งชี้ ได้แก่ เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์  และ ผลงานทางวิชาการของนักวิจัย ข้อที่ 2 เสนอแนะพัฒนาตัวบ่งชี้เกี่ยวกับการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของอาจารย์และบุคลากร ในปีการศึกษา 2563 ข้อที่ 3 เสนอแนะพัฒนาตัวบ่งชี้วิจัยสถาบันและนำผลการวิจัยมาใช้ประโยชน์ ในปีการศึกษา 2563 ข้อที่ 4 การตั้งค่าเป้าหมายของตัวบ่งชี้ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีให้สอดคล้องกับค่าเป้าหมายที่มหาวิทยาลัยกำหนด และความเชื่อมโยงของตัวบ่งชี้

คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสำหรับหน่วยงานสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พ.ศ. 2562 (Download)


ภาพกิจกรรม




การบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประจำปีงบประมาณ 2563

การบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประจำปีงบประมาณ 2563 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 อาจารย์ ดร.ศิริชัย  นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและประธานคณะกรรมการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เพื่อติดตามความก้าวหน้าการบริหารความเสี่ยงของหน่วยงานในมหาวิทยาลัย และของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ทั้งนี้ได้มีการทบทวนการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยในปีที่ผ่านมาเพื่อให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2564 และแผนบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ความสอดคล้องของประเด็นความเสี่ยงของหน่วยงานกับมหาวิทยาลัย การติดตามความก้าวหน้าการบริหารความเสี่ยงที่ผ่านมา ทั้งนี้ในระดับมหาวิทยาลัย คณะกรรมการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงได้มีการพิจารณาแผนบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประจำงบประมาณ พ.ศ. 2563 การติดตามผลการดำเนินงาน ซึ่งในปีนี้มหาวิทยาลัยมีประเภทความเสี่ยงที่ต้องมีการจัดการความเสี่ยงและการควบคุมทั้งหมด 8 หัวข้อ ประกอบด้วย 
        1) จำนวนนักศึกษาใหม่ลดลงและไม่เป็นไปตามแผนรับ
        2) ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยอาจไม่เป็นที่ยอมรับของตลาดแรงงานในอนาคต
        3) รายได้ของมหาวิทยาลัยลดลง อาจไม่เพียงพอต่อการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร
        4) การเสียโอกาสจากการปรับเปลี่ยนให้เป็นองค์กรดิจิทัล (Digital Trans-formation) ในการพัฒนามหาวิทยาลัย
        5) อันตรายและการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นกับ บุคลากร นักศึกษา และผู้ใช้บริการของมหาวิทยาลัยจากการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อม
        6) ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมีจำนวนลดลง ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม       
        7) อาจารย์ผู้สอนขาดความน่าเชื่อถือและการยอมรับจากนักศึกษา
        8) การเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนและเกิดการทุจริตในองค์กร

แผนบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประจำปีงบประมาณ 2563 (Download)