วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ประสบการณ์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายประกันคุณภาพ: มหาวิทยาเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

เมื่อ 24 มิถุนายน 2557 ที่ผ่านมา ทีมงานสำนักงานประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นำโดย ดร.ศิริชัย นามบุรี ซึ่งกำกับดูแลงานประกันคุณภาพของ มรย. และรักษาการผู้อำนวยการ อาจารย์สุวิมล อิสระธนาชัยกุล ผศ.สุวรรณา ศรีไตรรัตน์ คุณชลธิดา เจะมะ เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป และคุณฮามีดะห์ ดือราแม นักวิชาการศึกษา บุคลากรประจำสำนักงานประกันคุณภาพ  ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการบริหารงานประกันคุณภาพขององค์กร กับ ศูนย์ประกันคุณภาพการศึกษา (http://www.qa.kmutnb.ac.th) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ. http://www.kmutnb.ac.th) ซึ่งประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีสาระสำคัญๆ หลายประการ จึงนำมาเผยแพร่ไว้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนางานประกันคุณภาพภายในของ มรย. และหน่วยงานภายใน ดังนี้
  • ผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีผลประเมินคุณภาพภายในรอบปีการศึกษา 2555 อยู่ในระดับดีมาก (คะแนน 4.57)  ความสำเร็จอยู่ที่การขับเคลื่อนของผู้บริหารระดับมหาวิทยาลัย คณะ/ศูนย์/สำนัก จึงส่งผลเป็นคุณภาพโดยรวมของมหาวิทยาลัย โดยผู้บริหารระดับคณะจะต้องทำคำรับรองการบริหารงานกับอธิการบดี และกำกับตัวชี้วัดโดยผู้บริหารระดับรองอธิการบดี เน้นว่าการดำเนินงานประกันคุณภาพเป็นหน้าที่ของทุกคนในองค์กร ทุกคนจะต้องมีแนวปฏิบัติแต่ละรายบุคคลที่มีคุณภาพ ร่วมกันสร้างวัฒนธรรมคุณภาพในการทำงาน การปฏิบัติงานในแต่ละวันและตลอดทั้งปีอย่างมีคุณภาพ  ทำความเข้าใจกับระบบประกันคุณภาพ ตัวชี้วัดและเกณฑ์ให้เกิดเป็นองค์ความรู้ ก็จะเป็นกรอบให้การปฏิบัติงานในหน้าที่อย่างมีเป้าหมายและมีคุณภาพตามมา และจะเกิดความภาคภูมิใจร่วมกันในองค์กร
  • ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบประกันคุณภาพ ของผู้บริหารทุกระดับจะต้องยอมรับและมีเจตคติที่ดี มีความรู้และมีทักษะในการทำงานที่สอดคล้องกับระบบประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย ทั้ง สกอ. (http://www.mua.go.th/users/bhes/catalog3.htm) สมศ. (http://www.onesqa.or.th/onesqa/th/home/index.php)  หรือ กพร. (เป็นกฎหมายที่หน่วยงานต้องปฏิบัติ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารองค์กร และผู้บริหารจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบและได้รับมอบหมายให้กำกับตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี รวมทั้งตัวบ่งชี้ประกันคุณภาพตามกรอบภาระหน้าที่ที่เกี่ยวข้องด้วย
  • การสร้างเครือข่ายประกันคุณภาพภายใน การสร้างเครือข่ายบุคลากรหน่วยงานภายใน สร้างความเข้มแข็งให้เกิดความรู้ ทักษะในระบบประกันคุณภาพภายใน เป็นปัจจัยให้งานประกันคุณภาพภายในคณะ/ศูนย์/สำนัก เข้มแข็ง ต้องมีการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ มีโครงการให้ความรู้ และเข้าร่วมประชุมทุกครั้ง เพื่อนำไปถ่ายทอดและดำเนินงานต่อในคณะ/ศูนย์/สำนัก มีกิจกรรมสัมมนาของเครือข่ายประกันคุณภาพภายในทุกปี มีการประกวดแนวปฏิบัติที่ดี นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรมพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะด้านการตรวจประเมินคุณภาพ และสนับสนุนให้มีชื่อขึ้นบัญชีเป็นผู้ประเมินภายในของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภายนอก
  • การกำกับติดตาม มหาวิทยาลัยฯ มีการกำกับและติดตามผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ประกันคุณภาพรอบ 6 เดือนและ 9 เดือน นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรม Pre-Audit ตามคำร้องขอแต่ละหน่วยงาน เพื่อลงพื้นที่ตรวจสอบและให้คำแนะนำก่อนตรวจประเมินจริง
  • ปัจจัยความสำเร็จ ที่สำคัญคือ นโยบายผู้บริหาร  ความสำเร็จของระบบประกันคุณภาพ ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือ นโยบายของผู้บริหารระดับสูงสุด ที่ให้ความสำคัญเอาจริงเอาจังในการกำกับ ติดตามและตรวจสอบ เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาเมื่อพบข้อบกพร่องในการดำเนินงานได้ทันเวลา
แนวปฏิบัติที่ดีข้างต้น มหาวิทยาลัยและแต่ละหน่วยงานภายใน รวมทั้งระดับหลักสูตร จะได้นำมาปรับประยุกต์ใช้กับระบบประกันคุณภาพภายในของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาต่อไป

วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การเรียนรู้จากการศึกษาดูงาน: เครือข่ายประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2557 ที่ผ่านมา สำนักงานประกันคุณภาพ  มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นำคณะผู้บริหารระดับมหาวิทยาลัย คณะ หลักสูตรและคณาจารย์ผู้สอน บุคลากร จำนวน 45 คน ไปศึกษาดูงานเพื่อสร้างเครือข่ายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับมหาวิทยาลัยเครือข่ายภาคใต้ตอนล่าง  ได้แก่ มหาวิทยาลัยทักษิณ (http://www.tsu.ac.th) และมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (http://www.skru.ac.th) ซึ่งผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นับเป็นประโยชน์ในการนำแนวปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานตามกรอบแนวทางการประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตร สามารถสรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้

1. มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ (ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. 2551 ภายใต้ปรัชญาของมหาวิทยาลัย “ปัญญา จริยธรรม นำการพัฒนา”) ดำเนินงานประกันคุณภาพโดยฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพ (http://www.pt.tsu.ac.th/aqad/main) ได้มีการนำระบบการประกันคุณภาพภายในมาประยุกต์ใช้ โดยใช้ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ตามกรอบ (1) การประกันคุณภาพภายใน (SAR) ของ สกอ. (2) ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ของ สมศ.  (3) เกณฑ์ระบบรางวัลคุณภาพแห่งชาติ หรือ Thailand Quality Award (TQA)  และ (4) ตัวบ่งชี้ตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยทักษิณเอง  รวมตัวบ่งชี้ทั้งหมด จำนวน 18 ตัว โดยแบ่งหมวดตัวบ ่งชี้และเกณฑ์ออกเป็น 4 หมวด หมวดที่ 1 กระบวนการบริหารหลักสูตร หมวดที่ 2 การจัดการเรียนรู้และให้คําปรึกษา หมวดที่ 3 คุณภาพอาจารย์ และหมวดที่ 4 คุณภาพหลักสูตรและคุณภาพบัณฑิต  (คู่มือประกันคุณภาพหลักสูตร มหาวิทยาลัยทักษิณ) ทั้งนี้ได้นำร่องการประเมินหลักสูตรมาตั้งแต่เมื่อ 3 ปีที่แล้ว และในปีการศึกษา 2556 ได้นำมาใช้เต็มรูปแบบ โดยคณะและหลักสูตร จะเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการบริหารจัดการคุณภาพภายในตามกรอบที่มหาวิทยาลัยกำหนดด้วยหน่วยงานเองเป็นหลัก
 EDUCATIONAL CRITERIA FOR PERFORMANCE EXCELLENCE (EDPEX) มาเผยแพร่ให้ความรู้ในองค์กร เพื่อเตรียมการนำมาใช้กับหน่วยงานที่มีความพร้อม และผ่านการประเมินคุณภาพภายในตามกรอบของ สกอ. ผ่านระดับดีมากแล้ว ซึ่งหลายมหาวิทยาลัยได้นำร่องนำระบบ EdPEx มาใช้ในหน่วยงานเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศแล้วหลายมหาวิทยาลัย เช่น  คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น
   นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยทักษิณ ยังได้เริ่มนำระบบ

วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Google Apps เพื่อการศึกษา

แสดงเครื่องมือ Google Apps สำหรับการศึกษา
          Google Apps for Education หรือ Google Apps สำหรับการศึกษา จากบริษัท Google ซึ่งให้สถานศึกษาใช้งานได้ฟรี มีพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวได้มากถึง 30GB ในรูปแบบ Cloud Computing และมีเครื่องมือต่าง ๆ สำหรับบุคลากร ครูผู้สอน และนักเรียนนักศึกษา สนับสนุนในการปฏิบัติงาน การบริหาร รวมถึงสนับสนุนการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี
          ตัวอย่างเครื่องมือใน Google Apps for Education ที่นิยมใช้งานและรู้จักอย่างแพร่หลายทั่วโลก เช่น Google Mail, Google Hangout, Google Group, Google Plus เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร Google Calendar เป็นเครื่องมือจัดการเวลานัดหมาย ตารางงาน ตารางสอน Google Drive, Google Doc, Google Spreadsheet, Google Form เป็นเครื่องมือจัดการเอกสาร Google Site, Blogger เป็นเครื่องมือการสร้างเว็บไซต์หรือบล็อคอย่างง่าย เป็นต้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานด้านอื่น ๆ ได้อย่างหลากหลายรูปแบบ

          ประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ใน Google Apps for Education
  • เชื่อมต่อได้ตลอดเวลา ในพื้นที่ที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้

วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตร คณะ และสถาบัน ปีการศึกษา 2557

  เมื่อ วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน 2557 ผู้แทนระดับบริหารมหาวิทยาลัย คณะ/สำนัก/สถาบัน และคณาจารย์ผู้แทนจากหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จำนวน 30 คน ได้เข้าร่วมประชุมสัมมนาวิพากษ์  ร่างคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 ฉบับประชาพิจารณ์ ณ โรงแรมลีการ์เด้น พลาซ่า อ.หาดใหญ่ ที่ผ่านมา โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ เป็นเจ้าภาพจัดร่วมกับ สกอ. ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 6 และเป็นเวทีวิพากษ์ครั้งสุดท้าย หลังจากที่จัดในภูมิภาคอื่นๆ มาแล้ว 5 ครั้ง
     ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการเตรียมการของมหาวิทยาลัยฯ คณะ และระดับหลักสูตร เพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายในตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ซึ่งรับผิดชอบโดย สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา หน่วยงานในสังกัด สกอ. และจะนำมาใช้ในปีการศึกษา 2557 ที่จะถึงนี้อย่างแน่นอน (เริ่มเดือนสิงหาคม 2557 ตามกำหนดการเปิดภาคเรียนตามอาเซียน)  สาระสำคัญสามารถสรุปประเด็นได้ดังนี้
  1.  ร่างคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 ฉบับประชาพิจารณ์ เพื่อรับฟังความเห็นจากสถาบันอุดมศึกษาหรือหน่วยงานต่างๆ ที่จะถูกประเมินคุณภาพภายในตามระบบที่ สกอ. กำหนดขึ้น ทั้งนี้ เพื่อนำคู่มือฉบับจริงประกาศใช้ให้ทันภายในเดือนสิงหาคม 2557 นี้
  2. รายละเอียดและกรอบแนวคิดการประเมิน มีทั้งระดับหลักสูตร ระดับคณะวิชา และระดับสถาบัน (มหาวิทยาลัย)

    ระดับหลักสูตร ตัวบ่งชี้ครอบคลุมถึง สัดส่วนนักศึกษาต่ออาจารย์ต่อนักศึกษา จำนวนนักศึกษา ต่ออาจารย์ (การเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ) ผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัยของอาจารย์ ความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ สื่ออุปกรณ์การเรียนการสอน ห้องสมุดและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ การ ดำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา คุณภาพบัณฑิตพิจารณาจาก การมีงานทำหรือประกอบอาชีพอิสระ คุณภาพผลงานตีพิมพ์และเผยแพร่ระดับบัณฑิตศึกษา
    ระดับคณะวิชา ตัวบ่งชี้ควรเป็นตัวบ่งชี้ที่ประเมินการดำเนินการของคณะวิชาเพื่อสนับสนุนการ จัดการเรียนการสอนของแต่ละหลักสูตรที่คณะดูแลพิจารณาเฉพาะองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง โดยครอบคลุมด้านกิจกรรมนักศึกษา การให้บริการทางวิชาการ การวิจัย และการประกันคุณภาพ ระดับสถานศึกษา เป็นการประกันคุณภาพในระดับสถาบัน พิจารณาให้เป็นไปตามมาตรฐาน
    สถาบัน (มหาวิทยาลัย) ซึ่งประกอบด้วย
      1) มาตรฐานด้านศักยภาพและความพร้อมในการจัดการศึกษา ด้านกายภาพ ด้านวิชาการ ด้านการเงิน ด้านการบริหารจัดการ
      2) มาตรฐานด้านการดำเนินการตามภารกิจของสถาบัน ประกอบด้วย ด้านการผลิตบัณฑิต ด้านการวิจัย ด้านการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม