1. มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ (ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. 2551 ภายใต้ปรัชญาของมหาวิทยาลัย “ปัญญา จริยธรรม นำการพัฒนา”) ดำเนินงานประกันคุณภาพโดยฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพ (http://www.pt.tsu.ac.th/aqad/main) ได้มีการนำระบบการประกันคุณภาพภายในมาประยุกต์ใช้ โดยใช้ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ตามกรอบ (1) การประกันคุณภาพภายใน (SAR) ของ สกอ. (2) ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ของ สมศ. (3) เกณฑ์ระบบรางวัลคุณภาพแห่งชาติ หรือ Thailand Quality Award (TQA) และ (4) ตัวบ่งชี้ตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยทักษิณเอง รวมตัวบ่งชี้ทั้งหมด จำนวน 18 ตัว โดยแบ่งหมวดตัวบ ่งชี้และเกณฑ์ออกเป็น 4 หมวด หมวดที่ 1 กระบวนการบริหารหลักสูตร หมวดที่ 2 การจัดการเรียนรู้และให้คําปรึกษา หมวดที่ 3 คุณภาพอาจารย์ และหมวดที่ 4 คุณภาพหลักสูตรและคุณภาพบัณฑิต (คู่มือประกันคุณภาพหลักสูตร มหาวิทยาลัยทักษิณ) ทั้งนี้ได้นำร่องการประเมินหลักสูตรมาตั้งแต่เมื่อ 3 ปีที่แล้ว และในปีการศึกษา 2556 ได้นำมาใช้เต็มรูปแบบ โดยคณะและหลักสูตร จะเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการบริหารจัดการคุณภาพภายในตามกรอบที่มหาวิทยาลัยกำหนดด้วยหน่วยงานเองเป็นหลัก
EDUCATIONAL CRITERIA FOR PERFORMANCE EXCELLENCE (EDPEX) มาเผยแพร่ให้ความรู้ในองค์กร เพื่อเตรียมการนำมาใช้กับหน่วยงานที่มีความพร้อม และผ่านการประเมินคุณภาพภายในตามกรอบของ สกอ. ผ่านระดับดีมากแล้ว ซึ่งหลายมหาวิทยาลัยได้นำร่องนำระบบ EdPEx มาใช้ในหน่วยงานเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศแล้วหลายมหาวิทยาลัย เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น
นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยทักษิณ ยังได้เริ่มนำระบบ
2. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มีบริบทการบริหารจัดการระบบงานประกันคุณภาพใกล้เคียงกับ มรย. ได้เริ่มดำเนินการประเมินการประกันคุณภาพภายในในปีการศึกษา 2556 เช่นเดียวกัน โดยตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินหลักสูตร ใช้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติหรือ TQF ( Thai Qualifications Framework for Higher Education) เป็นตัวบ่งชี้มาตรฐานในการประเมินหลักสูตร นับเป็นการเตรียมความพร้อมในการประเมินคุณภาพภายใน (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ TQF ได้ที่ http://www.mua.go.th/users/tqf-hed)
จากการศึกษาดูงานครั้งนี้ คณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการบริหารและปฏิบัติงานตามกรอบหรือระบบประกันคุณภาพภายในของแต่ละมหาวิทยาลัย ได้รับมุมมองใหม่ๆ ได้มีโอกาสสร้างเครือข่ายบุคลากรระหว่างมหาวิทยาลัย จึงนับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการนำความรู้ ประสบการณ์ เจตคติที่ดีต่อระบบประกันคุณภาพ กลับมาปรับประยุกต์ใช้ในองค์กรและมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาต่อไป
จากประสบการณ์ครั้งนี้ ทำให้ได้เห็นว่า นโยบายของมหาวิทยาลัย ที่กำหนดให้มีการประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในปีการศึกษา 2556 นี้ (จำนวน 8 ตัวบ่งชี้ http://web.yru.ac.th/qa/web/index.php/2012-11-05-03-03-29 ) ซึ่งได้ดำเนินการในระหว่างวันที่ 3-20 มิถุนายน 2557 ที่ผ่านมานั้น นับเป็นการเตรียมความพร้อมและเป็นการประเมินศักยภาพหลักสูตรเพื่อเตรียมรองรับการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2557 ที่กำหนดโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา (สกอ.) ซึ่งจะเริ่มกำหนดให้มีการประเมินรอบปี 2557 ในเดือนสิงหาคม 2557 เป็นต้นไป รวมทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการประเมินภายนอกจาก สมศ. รอบสี่่ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาจะรับการประเมินในต้นปี พ.ศ. 2559 นี้