ระบบและกลไกการสนับสนุนการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ขั้นตอน
|
กลไกสนับสนุนการจัดการความรู้
|
1. บ่งชี้ความรู้
|
1. มหาวิทยาลัยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
2. คณะกรรมจัดประชุมเพื่อกำหนดขั้นตอนและประเด็นการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยในแต่ละปีการศึกษาให้ครอบคลุมอย่างน้อย
2 ด้านตามพันธกิจ
ได้แก่ การเรียนการสอน และการวิจัย
และเพิ่มเติมอีก 1 ประเด็น
คือ การบริหารจัดการองค์กรยกระดับคุณภาพการบริการ
3. คณะกรรมการแจ้งประเด็นการจัดการความรู้ให้แก่ส่วนราชการภายในนำไปเป็นแนวทางในการจัดการความรู้ในองค์กร
|
2. สร้างหรือแสวงหาความรู้
|
1. กำหนดให้ส่วนราชการสร้างหรือแสวงหาความรู้ในประเด็นที่คณะกรรมการฯ
กำหนด
2. การสร้างหรือแสวงหาความรู้
ได้จากการถอดบทเรียนจากแนวปฏิบัติที่ดีจากการจัดการเรียนการสอน จัดการเรียนรู้
การให้บริการวิชาการ
ได้จากผลการวิจัยที่ได้นำไปใช้ประโยชน์เชิงประจักษ์ หรือผลงานการคิดค้นนวัตกรรมใหม่
ๆ
3. คณาจารย์และบุคลากรเสนอหลักฐานเชิงประจักษ์ให้คณะ/สำนัก
รวบรวมจากหลักฐานที่เสนอประกอบการประเมินผลปฏิบัติราชการ/ผลการปฏิบัติงานประจำปีในแต่ละรอบการประเมิน
|
3. ประมวลและกลั่นกรอง
|
1. คณะกรรมการจัดการความรู้แต่ละส่วนราชการ
ทำการประมวลและกลั่นกรององค์ความรู้ในแต่ละประเด็น
2. เสนอมหาวิทยาลัยเป็นองค์ความรู้
|
4. จัดการความรู้ให้เป็นระบบ
|
1. เผยแพร่ความรู้ผ่านระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัย
ได้แก่ ระบบคลังปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (http://wb.yru.ac.th)
|
5. การเข้าถึงความรู้
|
1. เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์
และสามารถดาวน์โหลดเอกสารองค์ความรู้ไปศึกษา เรียนรู้ได้
|
6. แลกเปลี่ยนแบ่งปัน
|
1. เวที KM
YRU Forum ที่มีกำหนดจัดขึ้นทุกปีการศึกษา
|
7. การเรียนรู้
|
1. ส่วนราชการหรือบุคลากร
สามารถนำองค์ความรู้ไปสู่การเรียนรู้ได้
โดยการศึกษาจากเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่เผยแพร่ในเวทีแลกเปลี่ยนแบ่งปัน
2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์
ได้แก่ facebook Google+ และ Line Group ของมหาวิทยาลัย
|
เอกสารอ้างอิง