วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2563

รายงานสรุปการบริหารความเสี่ยงมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประจำปีงบประมาณ 2563

           ด้วยคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาได้ดำเนินการจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยประจำปีงบประมาณ 2563 ในการดำเนินการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยมีประเด็นความเสี่ยง 8 ประเด็น ซึ่งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้ดำเนินการตามกระบวนการและขั้นตอนการบริหารความเสี่ยง จนได้แผนการบริหารความเสี่ยงที่ผ่านการพิจารณาจากที่ประชุมผู้บริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 4//2563 ทั้งนี้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้มีการติดตามผลการดำเนินการบริหารความเสี่ยงจากผู้รับผิดชอบและจากการรายงานข้อมูลจาก 7 ส่วนราชการที่รายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 และครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2563 ทั้งนี้ได้มีการวิเคราะห์ความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ข้อเสนอแนะจุดที่ควรปรับปรุง และได้จัดทำร่างแผนบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2564 

          💢ประเด็นความเสี่ยงที่ต้องนำไปจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงในปีงบประมาณ 2564 มีดังนี้

                     1. จำนวนนักศึกษาใหม่ลดลงและไม่เป็นไปตามแผนรับ
                     2. ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยอาจไม่เป็นที่ยอมรับของตลาดแรงงานในอนาคต
                     3. รายได้ของมหาวิทยาลัยลดลง อาจไม่เพียงพอต่อการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร
                     4. การเสียโอกาสจากการปรับเปลี่ยนให้เป็นองค์กรดิจิทัล (Digital Trans-formation) ในการพัฒนามหาวิทยาลัย
                     5. ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมีจำนวนลดลง ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม  
                     6. อาจารย์ผู้สอนขาดความน่าเชื่อถือและการยอมรับจากนักศึกษา


💢ประเด็นความเสี่ยงที่ความเสี่ยงลดลง

          

          1. อันตรายและการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นกับ บุคลากร นักศึกษา และผู้ใช้บริการของมหาวิทยาลัยจากการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อม

          2. การเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนและเกิดการทุจริตในองค์กร


💢ประเด็นความเสี่ยงใหม่นำมาจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564


          1. การติดเชื้อไวรัส Covid -๑๙ ของบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย

          2. ลูกหนี้เกินกำหนดระยะเวลา

          3. ความปลอดภัยสถานที่และทรัพย์สินของทางราชการ


👉คำสั่ง มรย. 7252/2562 แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

👉รายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยง ครั้งที่ 1/2563

👉รายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยง ครั้งที่ 2/2563

👉รายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยง ครั้งที่ 3/2563

👉แผนบริหารความเสี่ยงมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

👉รายงานสรุปการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563










วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา : ใต้สุดสยาม มหาวิทยาลัยสวยงามชายแดนใต้

 

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (Yala Rajabhat University: YRU) ตั้งอยู่ในจังหวัดยะลา เลขที่ 133 ถ.เทศบาล 3 ต.สะเตง อ.เมือง จ.ยะลา อยู่ในเขตภาคใต้ของประเทศไทยและตั้งอยู่ใต้สุดของประเทศไทย และมีเขตติดต่อกับทางภาคเหนือของประเทศมาเลเซีย มหาวิทยาลัยมีพัฒนาการมากว่า 80 ปี มีความเชี่ยวชาญในการผลิตครูและผลิตบัณฑิตสหวิชาการ เพื่อตอบสนองทำงานในท้องถิ่นจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการพัฒนาประเทศไทย




ปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนหลายศาสตร์ร่วมกัน (Comprehensive University) ในระดับปริญญาตรีเป็นส่วนใหญ่ ประกอบด้วย 4 คณะ ได้แก่ 1) คณะครุศาสตร์ 2) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 3) คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร และ 4) คณะวิทยาการจัดการ มีหลักสูตรรวมทั้งหมด 52 หลักสูตร จัดการเรียนการสอนในคณะครุศาสตร์ จำนวน 8 หลักสูตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  16 หลักสูตร คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร  15 หลักสูตร และคณะวิทยาการจัดการ 13 หลักสูตร มีนักศึกษากว่า 9,346 คน  (ข้อมูลจากกองบริการการศึกษา http://register.yru.ac.th) บุคลากรสายวิชาการหรืออาจารย์ จำนวน 397 คน และบุคลากรสนับสนุน  440 คน รวมจำนวนบุคลากร ทั้งหมด 837 คน 

คณะวิทยาการจัดการ

คณะครุศาสตร์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

สำหรับการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยมุ่งเน้นการบูรณาการหลายศาสตร์ด้วยการส่งเสริมให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติงานในพื้นที่สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนและท้องถิ่นจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยโดยใช้พื้นที่และปัญหาเป็นฐาน (Area-based and Problem-based) มหาวิทยาลัยมีพื้นที่บริการหลักได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาสโดยร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ทั้งหมด 38 แห่ง ร่วมมือกันพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา คุณภาพชีวิตของประชาชน และคุณภาพสังคมสอดคล้องกับปรัชญาการก่อตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา คือสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นชายแดนใต้อย่างยั่งยืน

ภาพบรรยากาศภายในมหาวิทยาลัยเพิ่มเติม...

วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สรุปอบรมจริยธรรมการทำวิจัยในมนุษย์

 

สรุปอบรมจริยธรรมการทำวิจัยในมนุษย์ (วิทยากร ดร.ชมพูนุช สุภาพวานิช) วันที่ 18 สิงหาคม 2563 เวลา 13.00-16.00 น.

- การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคนหรือการกระทำต่อคน (แบบสอบถาม สัมภาษณ์ทางสังคมศาสตร์ สิ่งแวดล้อมและสภาวะแวดล้อมต่างๆ การทดลองทางเภสัชผลิตภัณฑ์ การศึกษาทางจิตวิทยา)
- สิงที่ต้องเตรียมในการขอจริยธรรมการทำวิจัยในคน (โครงร่างการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เอกสารชี้แจงข้อมูลสำหรับอาสาสมัครวิจัยหรือผู้ป่วย เอกสารแสดงความยินยอม ปรวะัติผู้วิจัย หนังสือนำ/ส่งข้อเสนอโครงการวิจัย)
- โครงร่างวิจัย (ชื่อโครงการวิจัย ชื่อผู้วิจัย วัตถุประสงค์ ตาม flow โครงร่างวิจัย และเพิ่มส่วนการขอความยินยอมและการอนุมัติ ข้อพิจารณาด้านจริยธรรม )
- หลักจริยธรรมทั่วไป (เคารพในบุคคล หลักผลประโยชน์ ความยุติธรรม)
- เคารพในศักดิ์ศรี เคารพนการยินยอม
- หลักผลประโยชน์ (ประโยชน์ที่เกิดขึ้น ความเสี่ยงต่อกลุ่มเปาะบาง)
- หลักยุติธรรม (หลักเกณ์ การคัดเลือก)
- ประเด็นสำคัญในการเขียนเพื่อขอจริยธรรมวิจัยในคน
- โครงร่างการวิจัย (ต้องบอกประเภทของการวิจัย ประชากร เป็นใคร ที่ไหน จำนวนเท่าไร กลุ่มตัวอย่าง ที่มาที่ไปขอจำนวนกลุ่มตัวอย่าง เกณฑ์คัดเข้าออก วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง สถานที่เก็บ)
- กลุ่มเปราะบาง ทารก เด็ก ผู้ป่วย ผู้ต้องขัง นักเรียน นักศึกษา
- การรวบรวมข้อมูล (เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ระบุวิธีการเชิญชวนอาสาสมัครเข้าร่วม วิธีการเก็บข้อมูล ระยะเวลาที่เก็บข้อมูล ค่าตอบแทนหรือรางวัล สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล)
- ข้อมูลที่ต้องให้เพิ่มเติมในโครงร่างวิจัย (วิธีการระมัดระวังและรักษาความลับของอาสาสมัครวิจัย รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลวิจัยและการเก็บรักษาข้อมูล)
- การตัดตอนความเชื่อมโยงกับผู้เป็นเจ้าของข้อมูลทั้งในส่วนของขั้นตอนการดำเนินการวิจัยและการขอเสนอผลการวิจัย
- เอกสารแสดงความยินยอมเข้าร่วมวิจัย (ระบุยืนยันว่าผู้วิจัยได้อธิบายวัตถุประสงค์แก่อาสามัครแล้ว ระบุที่อยู่และเบอร์ติดต่อสอบถามผู้วิจัยได้ตลอด 24 ชม.)
- เอกสารข้อมูลคำอธิบายสำหรับอาสาสมัครวิจัย
- การตีพิมพ์บทความต่างประเทศ ต้องแจ้งขอจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ผ่านเว็บไซต์ของ WHO อยู่ในส่วน thic
- ระยะเวลาในการพิจารณา 1 เดือน ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ ขั้นต่ำ 5 คน
- ต้องระบุในบทที่ 3 ว่าได้ใช้จริยธรรมการทำวิจัยอย่างไร มีการขอจริยธรรมการทำวิจัยในคนอย่างไร
- ตั้งค่าตอบแทนคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ประมาณคนละ 2000 บาท
- ได้แจ้งให้อาสมัครยินยอมให้ข้อมูลโดยไม่มีการบังคับ
- ต้องส่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยทุกอย่างให้กรรมการพิจารณา เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ ฯลฯ
- ต้องขอจริยธรรมในกรณีที่ต้องการเขียนบทความเพื่อเผยแพร่ หรือนำออกสู่สาธรารณชน เช่น ตีพิมพ์ในวารสาร หรือนำเสนอทั้งในระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สำนักงานประกันคุณภาพสร้างระบบกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสำหรับหน่วยงานสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา พ.ศ. 2562

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้กำหนดให้มีการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในหน่วยงานสายสนับสนุน เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงาน ทั้งนี้เพื่อให้หน่วยงานสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาได้มีการพัฒนามุ่งสู่วิสัยทัศน์และสนับสนุนการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานสายสนับสนุนในภาพรวมตามระบบคุณภาพและกลไกที่มหาวิทยาลัยกำหนดขึ้นโดยวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ในองค์ประกอบคุณภาพต่าง ๆ ว่าเป็นไปตามเกณฑ์และได้มาตรฐานเพื่อให้หน่วยงานสายสนับสนุนทราบสถานภาพของตนเอง อันจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางในการพัฒนาคุณภาพไปสู่เป้าหมาย (Targets) และเป้าประสงค์  (Goals) ที่ตั้งไว้ ตามจุดเน้นของตนเองเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สะท้อนจุดแข็ง จุดที่ควรพัฒนา ตลอดจนข้อเสนอแนะ ในการพัฒนาการดำเนินงาน เพื่อนำไปปรับปรุงผลการดำเนินการในแต่ละระดับอย่างต่อเนื่อง ยกระดับขีดความสามารถของหน่วยงานสายสนับสนุนและมหาวิทยาลัย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สะท้อนจุดแข็ง จุดที่ควรพัฒนา ตลอดจนข้อเสนอแนะ ในการพัฒนาการดำเนินงาน และเพื่อนำไปปรับปรุงผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และยกระดับขีดความสามารถของหน่วยงานสายสนับสนุนและของมหาวิทยาลัย

ในการจัดทำตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสำหรับหน่วยงานสายสนับสนุน ประจำปีการศึกษา 2562 นี้ โดยใช้กรอบและแนวทางการดำเนินงาน ในตัวบ่งชี้ของคณะกรรมการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ และตัวชี้วัดแผนปฏิบัติราชการประจำปีของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นโยบายเร่งด่วน และตัวชี้วัดแผนปฏิบัติราชการระจำปีเพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

การจัดทำการตัวบ่งชี้ประกันคุณภาพการศึกษาภายในสำหรับหน่วยงานสายสนับสนุน สำนักงานประกันคุณภาพ ได้จัดประชุมเพื่อพิจารณาตัวบ่งชี้สำหรับหน่วยงานสายสนับสนุน ในวันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2563 โดยมีรองอธิการบดีฝ่ายบริหารเป็นประธานการประชุม ผู้อำนวยการสำนักงานประกันคุณภาพ ผู้บริหารและผู้แทนของหน่วยงานสายสนับสนุน ได้แก่ สำนักงานอธิการบดี สำนักวิทยบริการฯ และสถาบันวิจัยฯ เข้าประชุม โดยมีมติดังนี้ ข้อที่ 1 ในปีการศึกษา 2562 องค์ประกอบที่ 2 การวิจัยและการบริการวิชาการ ไม่ประเมินต้วบ่งชี้ ได้แก่ เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์  และ ผลงานทางวิชาการของนักวิจัย ข้อที่ 2 เสนอแนะพัฒนาตัวบ่งชี้เกี่ยวกับการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของอาจารย์และบุคลากร ในปีการศึกษา 2563 ข้อที่ 3 เสนอแนะพัฒนาตัวบ่งชี้วิจัยสถาบันและนำผลการวิจัยมาใช้ประโยชน์ ในปีการศึกษา 2563 ข้อที่ 4 การตั้งค่าเป้าหมายของตัวบ่งชี้ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีให้สอดคล้องกับค่าเป้าหมายที่มหาวิทยาลัยกำหนด และความเชื่อมโยงของตัวบ่งชี้

คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสำหรับหน่วยงานสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พ.ศ. 2562 (Download)


ภาพกิจกรรม




การบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประจำปีงบประมาณ 2563

การบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประจำปีงบประมาณ 2563 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 อาจารย์ ดร.ศิริชัย  นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและประธานคณะกรรมการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เพื่อติดตามความก้าวหน้าการบริหารความเสี่ยงของหน่วยงานในมหาวิทยาลัย และของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ทั้งนี้ได้มีการทบทวนการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยในปีที่ผ่านมาเพื่อให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2564 และแผนบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ความสอดคล้องของประเด็นความเสี่ยงของหน่วยงานกับมหาวิทยาลัย การติดตามความก้าวหน้าการบริหารความเสี่ยงที่ผ่านมา ทั้งนี้ในระดับมหาวิทยาลัย คณะกรรมการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงได้มีการพิจารณาแผนบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประจำงบประมาณ พ.ศ. 2563 การติดตามผลการดำเนินงาน ซึ่งในปีนี้มหาวิทยาลัยมีประเภทความเสี่ยงที่ต้องมีการจัดการความเสี่ยงและการควบคุมทั้งหมด 8 หัวข้อ ประกอบด้วย 
        1) จำนวนนักศึกษาใหม่ลดลงและไม่เป็นไปตามแผนรับ
        2) ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยอาจไม่เป็นที่ยอมรับของตลาดแรงงานในอนาคต
        3) รายได้ของมหาวิทยาลัยลดลง อาจไม่เพียงพอต่อการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร
        4) การเสียโอกาสจากการปรับเปลี่ยนให้เป็นองค์กรดิจิทัล (Digital Trans-formation) ในการพัฒนามหาวิทยาลัย
        5) อันตรายและการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นกับ บุคลากร นักศึกษา และผู้ใช้บริการของมหาวิทยาลัยจากการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อม
        6) ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมีจำนวนลดลง ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม       
        7) อาจารย์ผู้สอนขาดความน่าเชื่อถือและการยอมรับจากนักศึกษา
        8) การเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนและเกิดการทุจริตในองค์กร

แผนบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประจำปีงบประมาณ 2563 (Download)
        


วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ผลงานการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา KM YRU Forum 2019 ประจำปีงบประมาณ 2563

                ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้กำหนดการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ KM YRU Forum 2019 โดยในปีงบประมาณ 2563 ได้กำหนดให้มีการส่งผลงานเข้าร่วมประกวดแบบออนไลน์ในรูปแบบวิดีโอและเอกสารประกอบการพิจารณาใน 4 ประเด็น ดังนี้
              - ประเด็นที่ 1 นวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
              - ประเด็นที่ 2 นวัตกรรมในการบริหารจัดการด้านการวิจัย
              - ประเด็นที่ 3 นวัตกรรมการให้บริการวิชาการยกระดับคุณภาพชีวิตและการศึกษา
              - ประเด็นที่ 4 นวัตกรรมในการบริหารจัดการสู่องค์กร 4.0
              ในการนี้ จากการรวบรวมมีผลงานเข้าร่วมประกวดทั้ง 4 ประเด็น รวมทั้งสิ้น 28 หัวข้อ ทั้งนี้ สำนักงานประกันคุณภาพ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลงาน ตามคำสั่ง มรย. ที่ 1981/2563 เพื่อพิจารณาผลงานแยกตามประเด็น ซึ่งฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการดำเนินงานได้จัดทำแบบฟอร์มการประเมินฯ ในการให้คะแนนการประกวดผลงานออนไลน์  ซึ่งขณะนี้อยู่ในกระบวนการพิจารณาผลงานเพื่อคัดเลือกผลงานที่ได้รับรางวัล

               ทั้งนี้ทางฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการดำเนินงานขอนำผลงานของบุคลากรทุกท่านเพื่อเผยแพร่และให้บุคลากรที่สนใจร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมหรือผู้ที่เสนอผลงานเพื่อให้มีการขยายผลและการนำผลงานที่สนใจไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการและการพัฒนาองค์กรต่อไป
               คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลงาน Download
              สรุปผลงานที่เข้าร่วมประกวด Download
               สำหรับผลงานที่ส่งเข้าร่วมประกวดแยกเป็นประเด็นทั้ง 4 ประเด็น มีดังนี้
               
ลำดับที่
ประเด็น/หัวข้อ
ผู้รับผิดชอบ
หน่วยงาน
สื่อนำเสนอ
ประเด็นที่ 1  นวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

1.1
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนขนาดใหญ่ในศตวรรษที่ 21 HEART Model
1. อาจารย์อัฟฎอล อาแว
2. อาจารย์คอยรูลอานวารี จิ
3. อาจารย์บูขอรี ลือโมะ
4. อาจารย์รัฐชาติ กาญจนภูมิ
5. อาจารย์พิริยา สร้อยแก้ว
6. อาจารย์จันทรา โอระสะ
7. อาจารย์สุนิษา เรืองพะวัง
8. อาจารย์ซารีนา กาหลง
9. อาจารย์นุชนันท์ นาคเสวี
10. อาจารย์นันทนา รัตนชัย
กองบริการการศึกษา
1.2
Integrated Learning Innovation
1. รองศาสตราจารย์อัปสร  อีซอ
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปวีณา  เจะอารง
3. อาจารย์สุธิดา  เลขาวิจิตร์
4. อาจารย์ชรีฮาน  ยีแว
5. อาจารย์ ดร.อรวรรณ  วรานันตกุล
คณะวิทยาการจัดการ
1.3
การออกแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาสายการศึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์กรัณฑรักข์  วิทยอภิบาลกุล
คณะครุศาสตร์
1.4
Reprocess for Learning
อาจารย์นุรฟิตตรี หะยีดารียอ
คณะครุศาสตร์
1.5
YRU Learning Sharing Program
อาจารย์ ดร.ชินีเพ็ญ มะลิสุวรรณ
คณะวิทยาการจัดการ
1.6
บทปฏิบัติการฟิสิกส์ขั้นสูงเพื่อสนบัสนุนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 2
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์อาบีดีน ดะแซสาเมาะ
2 นางสาวสูปียา ปะดอ
คณะวิทย์
1.7
จากห้องเรียนภูมิสารสนเทศสู่การแข่งขัน Arc GIS online
1 อาจารย์สรียา หมัดอาด้้า
2 อาจารย์วิไลวรรณ วิไลรัตน
คณะมนุษย์ฯ
1.8
นวัตกรรมละครสร้างสรรค์ในรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่น
1. นางสาวธวัลรัตน์  พรหมวิเศษ
2. นางสาวจิตติขวัญ   ภู่พันธ์ตระกูล
3. นางสาวสุรัสวดี  นราพงศ์เกษม
4. ผู้ช่วยศาสราจารย์สุภา วัชรสุขุม
5. นางสาวซอฟูวะห์   กูโน
คณะมนุษย์ฯ
1.9
การใช้เครื่องมือประเมินผลออนไลน์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิจัย
อาจารย์ปราณี หลำเบ็ญสะ
คณะครุศาสตร์
ประเด็นที่ 2  นวัตกรรมในการบริหารจัดการด้านการวิจัย

2.1
เปลี่ยนวิกฤติ Covid-19 เป็นโอกาสในการดำเนินงานพันธกิจวิจัย
1. รองศาสตราจารย์อัปสร  อีซอ  
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปวีณา  เจะอารง  
3. ดร.ศุภมาส  รัตนพิพัฒน์  
4. นายรอมซี  แตมาสา
คณะวิทยาการจัดการ
2.2
Ready to review & Reference
นางสาวนัสรี มะแน
สถาบันวิจัยฯ
2.3
ผลิตภัณฑ์จากน้ำยางพาราดิบ
1. ดร.เพ็ญนภา เกื้อเกตุ
2. ดร.ภูริชาติ พรหมเต็ม
3. ดร.ภูตรา อาแล
4. อาจารย์ ศุภรัตน์ ไชยนาพงษ์
5. นายฟาริด ลอร์ส
6. นายซอฟี สารี
7. นางสาวนิฟาฏิน โตะมิง
8. นางสาวยูวาตี ดาหะมะ
9. นายทัศน์ภณธ์ อุดมรัตนสิน
10.นางสาวดานานี สาหะ
คณะวิทยาการจัดการ
2.4
การสร้างนักศึกษาสู่/นักวิจัย
1. อาจารย์วรเวทย์พิสิษ ยศศิริ
2. ผศ.วันทนี แสงคล’ายเจริญ
3. ผศ.นิชาภัทรชย์ รวิชาติ
4. อาจารย์สมิทธ์ วงศ์วิวัฒน์
5. อาจารย์จิตสุดา ละอองผล
6. อาจารย์มูฮำหมัดสุกรี หะยีสะนิ
คณะมนุษย์ฯ
2.5
ระบบ National/Internatinal Publication Service for STA@YRU
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิสมะแอ  เจ๊ะหลง
2. อาจารย์ ดร.ปาวีณา   ดุลยเสรี
3. นางสาวศศิธร  วิโนทัย
คณะวิทย์
ประเด็นที่ ๓  นวัตกรรมการให้บริการวิชาการยกระดับคุณภาพชีวิตและการศึกษา 

3.1
กระบวนการออกแบบงานบริการวิชาการ : ชุมชนได้เดินต่อ อาจารย์ขอตำแหน่งทางวิชาการ  สร้างประสบการณ์เรียนรู้แก่นักศึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปวีณา เจะอารง
คณะวิทยาการจัดการ
3.2
นวัตกรรมเกมส์การเรียนรู้เพื่อปรับปรุงกระบวนกา
1. อาจารย์ธีรยุทธ มูเล็ง
2. ผศ.ปวีณา เจะอารง
3. อาจารย์ ดร.อรวรรณ วรานันตกุล
คณะวิทยาการจัดการ           
3.3
ชุดสำรวจพืชและศึกษาส่วนประกอบของพืชในภาคสนาม
นายมูฮำหมัดตายุดิน บาฮะคีรี
สถาบันวิจัยฯ
ประเด็นที่ 4 นวัตกรรมในการบริหารจัดการสู่องค์กร 4.0

4.1
ระบบลงทะเบียนอบรมออนไลน์
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ซอและ  เกปัน
2. นางสาวซานียะห์  กาหม๊ะ
3. นายลุกมาน  เจะโด
4. นายแวอัสรี  แวมายิ
สถาบันพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาชายแดนใต้
4.2
ระบบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้า อาคารหอพักนักศึกษา โดยการประยุกต์ใช้ Google Sheets
1. นายอนันท์ ดอเลาะ
2. นางสาวรัตนาภรณ์ ศรีหาพล
กองพัฒนานักศึกษา
สำนักงานอธิการบดี
4.3
บริหารจัดการโครงการและทีมเวิร์คด้วยโปรแกรม Asana
นางสาวริซมา  สาเม๊าะ
สถาบันวิจัยฯ
4.4
ฮาว ทู กรีน(How to Green) อบรมอยางไรไมใหเหลือขยะ
นายซูไบดี โตะโมะ
สถาบันวิจัยฯ
4.5
การประชาสัมพันธ์ด้วยรูปแบบอินโพกราฟิก
1. อาจารย์ธีรยุทธ มูเล็ง
2. ดร.สุกฤษตา พุ่มแก้ว
3. นายอับดลอาซีด สะอิ
4. นายฮาซัน นาวานิ
5. นายอัสฮาร์ และเม็ง
6. นางสาวเนตรนภา บุญมาเลิศ
คณะวิทยาการจัดการ           
4.6
ระบบจองพื้นที่ให้บริการ (ห้องค้นคว้า ห้องรับรอง ห้องประชุม และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์)
1. นายมูฮามะ       มะสง
2. นางสาวนูสีลา ยูมะโซ
3. นายซุลกิฟลี      ยิงทา
สำนักวิทยบริการฯ
4.7
ระบบจัดเก็บข้อมูลงานซ่อมบำรุงสินทรัพย์
(Asset Maintenace System)
นายมูฮามะ มะสง
สำนักวิทยบริการฯ
4.8
ระบบ Checklist การดำเนินงานกิจกรรม
นายะมะรอเซะ ลาเม็ง
สำนักงานประกัน
สำนักงานอธิการบดี
4.9
ระบบรายงานผลการเรียน ฝ่ายวิชาการ คมส. มรย. ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562
1. อาจารย์ไซนีย์ ตำภู 
2. นายชลธิวัตน์ นุ้ยไกร
3. นายอักมาล เบ็ญหาวัน4.9
คณะมนุษย์ฯ
4.10
การพิมพ์หนังสือราชการด้วยโปรแกรมการพิมพ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์
1. นางธัญรัศม์   รัตนกุล
2. นายฟากูรอซี  สุหลง
3. นางสาวซุรียาณี  อาบูวะ
4. นายมะซูรี   เจ๊ะเด็ง
คณะวิทยาศาสตร์ฯ
4.11
คู่มือใช้งานโสตทัศนูปกรณ์ห้องประชุมสภา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
1. นายธนกร ทองตราชู
2. นายอาหมัดซับรี ขาเร็ง
3. นายอุสมาน มะแซ
4. นายชรินทร์ มาประสม
5. นายซูลกิฟลี  อาแซ
สำนักงานอธิการบดี
4.12
การเขียนรายงานการเดินทางด้วย Microsoft Excel
1. นางสาวมารศรี ดาหะยี
สำนักงานอธิการบดี