เพื่อร่วมกันสร้างคลังปัญญา (WISDOM Bank) แห่งชายแดนใต้ ให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนและแหล่งเรียนรู้ร่วมกันชาว ชมพู-เทา ใต้ร่มเงา "จันทน์กะพ้อ" อย่างยั่งยืนในด้าน 1) การจัดการเรียนรู้/การเรียนการสอน 2) การวิจัย 3) การบริการวิชาการ 4) การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 5) การบริหาร และ 6) การปฏิบัติงาน ที่มุ่งยกระดับคุณภาพองค์กรและการให้บริการอย่างมืออาชีพ
วันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2560
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่เน้นการใช้ ICT
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่เน้นการใช้ ICT ประยุกต์ใช้ร่วมกัน ได้แก่ การใช้ระบบต่างๆ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ที่รองรับและมีบุคลากรสนับสนุน ท่านที่สนใจโปรดติดต่อที่ชั้น 5 อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ (http://ccenter.yru.ac.th/ite)
1) ระบบอีเลิร์นนิ่ง (http://elearning.yru.ac.th) บริหารจัดการชั้นเรียนด้วยระบอีเลิร์นนิ่งของมหาวิทยาลัยราชภักยะลา เชื่อมโยงฐานข้อมูลนักศึกษากับรายชื่อนักศึกษาที่ลงทะเบียนในฐานข้อมูลกองบริการการศึกษา (http://register.yru.ac.th) ข้อดีของระบบอีเลิร์นนิ่ง คือ สามารถติดตาม (Tracking) ผู้เรียนได้อย่างเป็นระบบ ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ได้หลากหลาย บันทึกคะแนนกิจกรรมไว้ในฐานข้อมูล เพื่อ Export ออกมาเป็นไฟล์ Excel นำมาประมวลผลเพื่อเป็นคะแนนวัดและประเมินผลได้
2) การใช้ Google App for Education สำหรับการจัดการเรียนรู้ผ่านระบบคลาวน์คอมพิวติ่ง เช่น Google Drive สำหรับจัดเก็บข้อมูลออนไลน์ Google Doc สำหรับการจัดทำเอกสารรายงาน Google Slide สำหรับการจัดทำสไลด์นำเสนองานร่วมกันเป็นทีม Google+ สำหรับสร้างชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำเสนอผลงาน Google Blog (www.blogspot.com) สำหรับบันทึกผลการเรียนรู้แต่ละครั้ง บันทึกเป็นแฟ้มผลงานของนักศึกษา ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์และการเขียนแบบกึ่งทางการ (วิชาการ) ฝึกทักษะการใช้ภาษาไทย Google Youtube ฝึกทักษะการผลิตและเผยแพร่คลิปวิดีโอ
ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นทักษะจำเป็นในการประกอบอาชีพและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผู้สนใจติดตามรายละเอียดได้ที่เว็บบล็อก http://ict-bl.blogspot.com หรือ http://sirichai.yru.ac.th ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างนักศึกษา มรย. ให้มีอัตลักษณ์ "เก่งไอที" ร่วมกัน
ทั้ง 2 เทคโนโลยีข้างต้น สามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ร่วมกันได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการกำหนดผลการเรียนรู้ (Learning Outcome: LO) ของรายวิชาว่าต้องการให้นักศึกษาเกิดและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมใด ตามกรอบ TQF 5 ด้าน จากนั้นจึงจะออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้เทคโนโลยีีที่ปัจจุบันมีหลากหลายให้เลือกใช้ อย่างไรก็ตาม ผู้สอนจำเป็นต้องพัฒนาตนเองให้สามารถใช้ทักษะเทคโนโลยีเหล่านี้ให้เชี่ยวชาญ ไม่เช่นนั้นต่อไป อาจจะไม่สามารถจัดการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาใน "ยุค Gen Y" หากผู้สอนยังอยู่ในยุค "Gen X" หรือ "Baby Boomer"
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ICT-based Learning:ICT-BL @ ดร.ศิริชัย นามบุรี: การเรียนรู้จากผลงานวิจัย: การออกแบบกิจกรรมนำเสนอผล...: ทักษะการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21 นับเป็นทักษะสำคัญของผู้สอนในยุคนี้ ที่จะต้องเน้นทักษะการออกแบบสถานการณ์การเรียนรู้ ให้สอ...
วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2560
นโยบายการขับเคลื่อน สวท. 4.0 (ARITC 4.0) สนับสนุนการมุ่งไปสู่ YRU 4.0 ในระยะ 10 ปี
ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2557-2560) สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ สวท. (http://aritc.yru.ac.th) นับเป็นหน่วยงานที่บริหารจัดการเชิงรุก บริหารแบบมุ่งเน้นผลงาน โดยใช้แผนยุทธศาสตร์เป็นกลไกและแนวทางในการบริหารงาน สำคัญที่สุดคือการสร้างความรู้ความเข้าใจ ทักษะและประสบการณ์ด้านการพัฒนาและการนำแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงานไปลงมือปฏิบัติจริง โดยกำหนดเป้าหมายขององค์กรร่วมกันและดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งที่ผ่านมีผลงานเป็นเชิงประจักษ์อย่างเป็นรูปธรรม
จากการที่ผู้บริหารและบุคลากรร่วมกันกำหนดตัวชี้วัดรายบุคคล (KPIs) ของบุคลากรเองและของผู้บริหาร ที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดของ สวท.รับผิดชอบจากการถ่ายทอดจากตัวชี้วัดแผนยุทธศาสตร์ ของมหาวิทยาลัย จนมีผลทำให้มีผลการประเมินคุณภาพภายในหน่วยงานสนับสนุน (ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด) อยู่ในระดับดีมากต่อเนื่องมาตลอดมา
สำหรับอนาคตและทิศทางในระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2561-2564) ของ สวท. โดยการขับเคลื่อนภายใต้การนำของ อาจารย์ปรีชา พังสุบรรณ ผู้อำนวยการ และคณะผู้บริหาร รวมทั้งบุคลากรใน สวท. ก็ยังคงใช้แนวทางการการบริหารงานโดย "การบริหารเชิงยุทธศาสตร์" มุ่งเน้นพัฒนาด้วยการประยุกต์ใช้หรือสร้างนวัตกรรมขององค์กร เสริมสร้างศักยภาพบุคลากรให้เป็นมืออาชีพ มีศักยภาพในการแข่งขัน มุ่งพัฒนา สวท. ให้เป็น "สวท.4.0" หรือ "ARITC 4.0" เพื่อให้เป็นองค์กรต้นแบบ มีแนวปฏิบัติที่ดี มีนวัตกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้หน่วยงาน และมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาต่อไป
(1) นำแนวทางการพัฒนา "ระบบราชการ 4.0" สู่การพัฒนาให้เป็น "สวท.4.0"
(2) แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเพื่อการยกระดับสู่ความมาตรฐานความเป็นเลิศ ระยะ 10 ปี พ.ศ. 2560-2564
จากการที่ผู้บริหารและบุคลากรร่วมกันกำหนดตัวชี้วัดรายบุคคล (KPIs) ของบุคลากรเองและของผู้บริหาร ที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดของ สวท.รับผิดชอบจากการถ่ายทอดจากตัวชี้วัดแผนยุทธศาสตร์ ของมหาวิทยาลัย จนมีผลทำให้มีผลการประเมินคุณภาพภายในหน่วยงานสนับสนุน (ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด) อยู่ในระดับดีมากต่อเนื่องมาตลอดมา
สำหรับอนาคตและทิศทางในระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2561-2564) ของ สวท. โดยการขับเคลื่อนภายใต้การนำของ อาจารย์ปรีชา พังสุบรรณ ผู้อำนวยการ และคณะผู้บริหาร รวมทั้งบุคลากรใน สวท. ก็ยังคงใช้แนวทางการการบริหารงานโดย "การบริหารเชิงยุทธศาสตร์" มุ่งเน้นพัฒนาด้วยการประยุกต์ใช้หรือสร้างนวัตกรรมขององค์กร เสริมสร้างศักยภาพบุคลากรให้เป็นมืออาชีพ มีศักยภาพในการแข่งขัน มุ่งพัฒนา สวท. ให้เป็น "สวท.4.0" หรือ "ARITC 4.0" เพื่อให้เป็นองค์กรต้นแบบ มีแนวปฏิบัติที่ดี มีนวัตกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้หน่วยงาน และมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาต่อไป
(1) นำแนวทางการพัฒนา "ระบบราชการ 4.0" สู่การพัฒนาให้เป็น "สวท.4.0"
[Download]
(3) มุ่งพัฒนาสมรรถนะหลักของบุคลากรตามกรอบสมรรถนะหลัก (Core Competency) ของมหาวิทยาลัย
ที่มา: ธณิตสรณ์ จิระพรชัย (2558)
(4) ร่วมสร้างค่านิยมองค์กร (Core Valued) เพื่อให้เป็นพฤติกรรมถาวรจนเป็น "วัฒนธรรมองค์กรคุณภาพ"
(4) ร่วมสร้างค่านิยมองค์กร (Core Valued) เพื่อให้เป็นพฤติกรรมถาวรจนเป็น "วัฒนธรรมองค์กรคุณภาพ"
ตัวอย่างการกำหนด (ร่าง) ค่านิยมร่วมองค์กร มรย.-สวท.
ม : มุ่งมั่นผลสัมฤทธิ์ เป็นมืออาชีพ
ร : รู้ รัก สามัคคี
ย : ยกย่องคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสามารถ และยึดประโยชน์ส่วนรวม
ส : ซื่อสัตย์สุจริต จริงใจต่อกัน
ว : มีวินัย ใส่ใจรับผิดชอบ
ท : ทำให้ง่าย (คิดค้น พัฒนา แก้ไขให้ทำงานง่าย ไม่ซับซ้อน บริการจุดเดียว สร้างนวัตกรรม และมูลค่าเพิ่ม)
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)