วันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2560

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่เน้นการใช้ ICT


เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่เน้นการใช้ ICT ประยุกต์ใช้ร่วมกัน ได้แก่ การใช้ระบบต่างๆ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ที่รองรับและมีบุคลากรสนับสนุน ท่านที่สนใจโปรดติดต่อที่ชั้น 5 อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ (http://ccenter.yru.ac.th/ite)

1) ระบบอีเลิร์นนิ่ง (http://elearning.yru.ac.th) บริหารจัดการชั้นเรียนด้วยระบอีเลิร์นนิ่งของมหาวิทยาลัยราชภักยะลา  เชื่อมโยงฐานข้อมูลนักศึกษากับรายชื่อนักศึกษาที่ลงทะเบียนในฐานข้อมูลกองบริการการศึกษา (http://register.yru.ac.th) ข้อดีของระบบอีเลิร์นนิ่ง คือ สามารถติดตาม (Tracking) ผู้เรียนได้อย่างเป็นระบบ ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ได้หลากหลาย บันทึกคะแนนกิจกรรมไว้ในฐานข้อมูล เพื่อ Export ออกมาเป็นไฟล์ Excel นำมาประมวลผลเพื่อเป็นคะแนนวัดและประเมินผลได้

2) การใช้ Google App for Education สำหรับการจัดการเรียนรู้ผ่านระบบคลาวน์คอมพิวติ่ง เช่น  Google Drive สำหรับจัดเก็บข้อมูลออนไลน์ Google Doc สำหรับการจัดทำเอกสารรายงาน Google Slide สำหรับการจัดทำสไลด์นำเสนองานร่วมกันเป็นทีม Google+ สำหรับสร้างชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำเสนอผลงาน Google Blog (www.blogspot.com) สำหรับบันทึกผลการเรียนรู้แต่ละครั้ง บันทึกเป็นแฟ้มผลงานของนักศึกษา ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์และการเขียนแบบกึ่งทางการ (วิชาการ) ฝึกทักษะการใช้ภาษาไทย Google Youtube ฝึกทักษะการผลิตและเผยแพร่คลิปวิดีโอ
   ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นทักษะจำเป็นในการประกอบอาชีพและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผู้สนใจติดตามรายละเอียดได้ที่เว็บบล็อก http://ict-bl.blogspot.com หรือ http://sirichai.yru.ac.th ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างนักศึกษา มรย. ให้มีอัตลักษณ์ "เก่งไอที" ร่วมกัน

  ทั้ง 2 เทคโนโลยีข้างต้น สามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ร่วมกันได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการกำหนดผลการเรียนรู้ (Learning Outcome: LO) ของรายวิชาว่าต้องการให้นักศึกษาเกิดและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมใด ตามกรอบ TQF 5 ด้าน จากนั้นจึงจะออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้เทคโนโลยีีที่ปัจจุบันมีหลากหลายให้เลือกใช้ อย่างไรก็ตาม ผู้สอนจำเป็นต้องพัฒนาตนเองให้สามารถใช้ทักษะเทคโนโลยีเหล่านี้ให้เชี่ยวชาญ ไม่เช่นนั้นต่อไป อาจจะไม่สามารถจัดการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาใน "ยุค Gen Y" หากผู้สอนยังอยู่ในยุค "Gen X" หรือ "Baby Boomer"

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ICT-based Learning:ICT-BL @ ดร.ศิริชัย นามบุรี: การเรียนรู้จากผลงานวิจัย: การออกแบบกิจกรรมนำเสนอผล...: ทักษะการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21 นับเป็นทักษะสำคัญของผู้สอนในยุคนี้ ที่จะต้องเน้นทักษะการออกแบบสถานการณ์การเรียนรู้ ให้สอ...

2 ความคิดเห็น:

  1. "ผู้สอนจำเป็นต้องพัฒนาตนเองให้สามารถใช้ทักษะเทคโนโลยีเหล่านี้ให้เชี่ยวชาญ" เห็นด้วยอย่างยิ่งครับอาจารย์

    ตอบลบ
  2. nemo slot jili slot เข้าสู่ระบบ ฟรีเครดิต เว็บไซต์พวกเรานั้นเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการเกมออนไลน์ชั้น 1 ในประเทศไทย ที่เปิดให้บริการอย่างครบวงจร pg slot สล็อต ฝากถอนไม่มีอย่างน้อย

    ตอบลบ