สรุปการสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้ องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 33 เรื่อง พลิกโฉมห้องสมุด: สรรค์สร้างอนาคตด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ ในวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ
หัวข้อ นวัตกรรมการเรียนรู้...สู่การศึกษาตลอดชีวิต รศ.ดร.แนบบุญ หุนเจริญ ได้นำเสนอนวัตกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบ LiLLe: learning innovative for lifelong education ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่นำไปใช้กับการจัดการเรียนการสอนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สังคมในรูปแบบของ LiLLe community จะประกอบไปด้วย
- Online courses (Chula mooc คอร์สรายวิชา)
- Online library (iTunes u YouTube)
- Online lectures (e-learning Echo 360 บทเรียนออนไลน์ที่มีการอัดวิดี
โอในห้องเรียน) - Active learning (Flipped learning Blended learning Classroom Action Research)
- Learning space (Smart Classroom Interactive Classroom Design Workspace)
อ่านเพิ่มเติมได้จาก นวัตกรรมการเรียนรู้...สู่การศึกษาตลอดชีวิต
หัวข้อ Mobile device for media production : content production to social platform นำเสนอโดยคุณศุภชัย จรรยาสวัสดิ์ ได้แนะเรื่อง Mobile production : ทำเองก็ได้ โดยใช้
-อุปกรณ์สำหรับการถ่ายทำมี ขนาดเล็กลง
-ความสามารถมากขึ้น (SD->Full HD ->4K)
เครือข่ายคนใช้บรอดแบรนด์เพิ่ มขึ้นเรื่อยๆ เข้าถึงสื่อออนไลน์ได้ มีอุปกรณ์ออนไลน์เข้าถึงได้ทุ กที่ทุกเวลา ดังนั้นจึงต้องพึงพาเทคโนโลยี Streaming ซึ่งจะมีอุปกรณ์ LiveU ที่เป็นกล่องที่มีซิมโทรศัพท์ใส่อยู่ หลายๆแผ่น มีความสามารถในการส่งวิดีโอผ่านอินเทอร์เน็ตได้
อ่านเพิ่มเติมได้จาก Mobile Device for Media Production: Content Production to Social Platform
อ่านเพิ่มเติมได้จาก Mobile Device for Media Production: Content Production to Social Platform
หัวข้อ หลักการการเลือกคนที่ จะมาทำงานกับองค์กร google Thailand
-คนที่มีความรู้ทั่วไปและมี ความพร้อมที่จะเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ
-คนที่มีความเป็นผู้นำและมี ความรับผิดชอบสูง มีความเป็นเจ้าของของ project ที่ตนเองรับผิดชอบ แม้ว่าจะลาพักผ่อนก็ต้องยอมรั บผิดชอบงาน
-คนที่เข้าใจบทบาทหน้าที่ ของตนเองเป็นอย่างดี
-googleyness รู้วัฒนธรรมการทำงานของ google
หัวข้อ การออกแบบ learning space บรรยายโดยผศ.ดร.สุรพล บุญลือ
การออกแบบ learning space จะต้องประกอบไปด้วยการพิจารณาในเรื่องสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สภาพแวดล้อมทางจิตภาพ และสภาพแวดล้อมทางสังคม (ภาระตำแหน่งหน้าที่ของสังคม การจัดกิจกรรม) และรูปแบบของ Learning Space พื้นที่ทางกายภาพ พื้นที่เสมือน virtual และพื้นที่สังคม
อ่านเพิ่มเติมได้จาก Learning Space: Design Tips for Classroom
หัวข้อ Reinventing the library นำเสนอโดย ดร.รุจเลขา วิทยาวุฒฑิกุล
-ห้องสมุดควรเน้นการบริการงานวิจัยและส่ งเสริมการเรียนรู้ตามบริ บทของมหาวิทยาลัย
-library as the place of learning
-library as the third place/second home
-library as an extension of the classroom
-คลินิควิทยานิพนธ์ สอนการวิเคราะห์สถิติ (ประสานนศ.ปริญญาเอกมาช่วยสอน) การอ้างอิง (บรรณารักษ์จัดอบรม)
-มีการจัดนิทรรศการและกิ จกรรมเพื่อสร้างบรรยากาศและให้ ความรู้ตลอดเวลา
-มีการสำรวจความพึงพอใจอย่างสม่ำ เสมอ
-มีแผนพัฒนาบุคลากร มีการสัมมนาประจำปีและการศึ กษาดูงาน
-experience economy ความคาดหวังในประสบการณ์เพื่อต่ อยอดการเรียนรู้
-transforming libraries from collection centered to user centered การยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง
-ห้องสมุดเสริมสร้างประสบการณ์ เพื่อให้ผู้ใช้เกิดความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงการสร้างความรู้ได้เอง (ผลิตคอนเทนต์ได้เอง)
อ่านเพิ่มเติมได้จาก Reinventing the Library: Best Practice
หัวข้อ Digital learning literacy : collaborative communication
The transformation to Hybrid radio
ปรากฏการณ์ของ Digital disruption การเข้ามาของดิจิทัล ทักษะการเรียนรู้ต้องเปลี่ยนไป เพราะสื่อต่างๆ จะเปลี่ยนไป เช่น การสร้างภาพเพื่อสื่อสารให้เกิ ดการเรียนรู้จะมีมากขึ้น
อย่าเป็นทาสเทคโนโลยี แต่จงใช้เทคโนโลยีให้เป็ นทาสของเรา การผลิตคอนเทนต์นั้น ถ้ามีประโยชน์ ผู้ใช้ก็จะใช้สื่อของเราเอง
Content is king การผลิตคอนเทนต์ขึ้นมานั้น ต้องเป็นคอนเทนต์ที่คนอยากรู้ และมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกั บผู้ใช้ ซึ่งต้องดึงดูดให้ผู้ใช้ สนใจคอนเทนต์ให้ได้ โดยใช้นวัตกรรมเปลี่ยนความรู้ ให้เป็นเงินทอง เพิ่มความมั่งคั่งและยั่งยืน
ศูนย์วิจัย CCDKM สร้างเครือข่ายการเรียนหนังสื อและใช้เทคโนโลยีในการส่งเสริ มคนให้มีพลังและมีความสุ ขในการสร้างคอนเทนต์ที่มี ประโยชน์ด้วยตนเองได้
- คนระดับรากหญ้าจะใช้เทคโนโลยีถ้ าสร้างรายได้ มีเงินเพิ่มขึ้น เข้าถึงข้อมูลสำคัญและจำเป็น จะไม่ถูกเอาเปรียบ และทำให้เกิดความมั่นใจในตนเอง สร้างความภาคภูมิใจในตนเอง
- การใช้เทคโนโลยีแบบให้ชาวบ้ านสามารถหาเงินได้ จะทำให้เค้าสนใจในการเรียนรู้ มากขึ้น และควรส่งเสริมการใช้มือถือ ด้วยการสร้าง story ให้มีอัตลักษณ์ในเรื่ องราวของตนเอง จะทำให้ชาวบ้านมีความภาคภูมิใจ
หัวข้อ Learning management system: myCourseVille
- Digital education ทำให้สิ่งที่เราเคยทำได้ ทำได้ดีขึ้น เช่น การเรียนรู้ที่สามารถเรียนรู้ด้ วยตนเองได้
- การใช้ social network เป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวั นของนศ. ดังนั้นจึงควรพัฒนา LMS โดยพิจารณาความสามารถของ social network มาประยุกต์ให้สามารถใช้งานได้ใน LMS ที่พัฒนาขึ้น
หัวข้อ Learning and teaching warehouse: collaborative learning คลังความรู้ สู่การร่วมมือแบบปัญญาสะสม
- ความสามารถในการเรียนรู้ สำคัญกว่าความรู้ที่มีอยู่ โดยเทคโนโลยีจะช่วยให้เกิ ดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีก็ไม่สามารถแทนที่สื่ อบุคคลได้ เทคโนโลยีแค่ทำให้การเรี ยนการสอนง่ายขึ้นเท่านั้น
*App: Forest stay focused แอปที่ไม่ให้ใช้มือถือ ด้วยการปลูกต้นไม้ ถ้าเราไม่เล่นมือถือ แอปจะปลูกต้นไม้ในแอปให้เรื่ อยๆ ถ้าเราปลูกต้นไม้ได้ตามที่แอปกำหนด แอปจะปลูกต้นไม้จริงๆ ให้เรา โดยจะแจ้งมาว่า ต้นไม้ของเราถูกปลูกอยู่ที่ไหนบนโลกใบนี้
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก Learning and Teaching Warehouse: Collaborative Learning