วันที่ 26 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา ทีมงาน สนง.ประกันคุณภาพ (http://web.yru.ac.th/qa) โดยรักษาการผู้อำนวยการ อ.สุวิมล อิสระธนาชัยกุล และ ผศ.สุวรรณา ศรีไตรรัตน์ และทีมงานจากคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร นำทีมโดยคณบดี ผศ.ดร.อับดุลนาเซร์ หะสาเมาะ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ นำทีมโดย อ.ปรีชา พังสุบรรณ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ และตัวแทนนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ เข้าร่วมกิจกรรมประกวดแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ซึ่งเป็นกิจกรรมเครือข่ายมหาวิทยาลัยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ร่วมกันจัดขึ้น ณ ห้องประชุม อาคารคณะวิทยาการจัดการ โดยแบ่งประเภทการประกวด ได้แก่ (1) ด้านการจัดการเรียนการสอน (2) ด้านการวิจัย (3) ด้านการจัดกิจกรรมนักศึกษา (4) ด้านบริการวิชาการแก่สังคม (5) ด้านการพัฒนางานสนับสนุนและบริการ และประเภทภาค Poster ในด้าน (1) ด้านกิจกรรมนักศึกษา (2) ด้านการปฏิบัติงานของบุคลากร ผลการประกวด มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาได้รับรางวัลชมเชยแนวปฏิบัติที่ดี จำนวน 3 รางวัล ได้แก่ (1) แนวปฏิบัติด้านการวิจัย เรื่อง รูปแบบการพัฒนานักวิจัยใหม่คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตรมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ของคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร (2) แนวปฏิบัติที่ดีด้านการพัฒนางานสนับสนุนและบริการ เรื่อง การบันทึกเอกสารหลักฐานการประเมินระดับมหาวิทยาลัยในระบบ CHE QA Online ของสำนักงานประกันคุณภาพ (3) การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันในรูปแบบออนไลน์ด้วย Google ของสำนักวิทยบริการ และภาค Poster ผลงานของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ เรื่อง กิจกรรม วจก.อาสา สร้างสัมพันธ์สังคมสมานฉันท์ในสังคมพหุวัฒนธรรม แนวปฏิบัติที่ดีกิจกรรมนักศึกษา ได้รับรางวัลชนะเลิศ
เพื่อร่วมกันสร้างคลังปัญญา (WISDOM Bank) แห่งชายแดนใต้ ให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนและแหล่งเรียนรู้ร่วมกันชาว ชมพู-เทา ใต้ร่มเงา "จันทน์กะพ้อ" อย่างยั่งยืนในด้าน 1) การจัดการเรียนรู้/การเรียนการสอน 2) การวิจัย 3) การบริการวิชาการ 4) การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 5) การบริหาร และ 6) การปฏิบัติงาน ที่มุ่งยกระดับคุณภาพองค์กรและการให้บริการอย่างมืออาชีพ
วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
ประสบการณ์กิจกรรมทบทวนและจัดทำแผนกลยุทธ์ (ยุทธศาสตร์) คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร
คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้จัดกิจกรรมประชุมปฏิบัติการทบทวนและจัดทำแผนกลยุทธ์ หรือแผนยุทธศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2555-2559 และแผนประจำปี เมื่อวันที่ 28-30 เมษายน 2557 ณ อ่าวไทยรีสอร์ท อ.สทิงพระ จ.สงขลา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากรมีส่วนร่วมในการทบทวนและปรับแผนกลยุทธ์ รวมทั้งการนำวิสัยทัศน์ นโยบาย ของคณบดี ผศ.ดร.อับดุลนาเซร์ หะยีสาเมาะ และทีมบริหารมาปรับเข้ากับแผนกลยุทธ์ของคณะ กิจกรรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.ไพบูลย์ นวลนิล รองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เป็นวิทยากร
สำหรับความรู้และประสบการณ์ที่ผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากร ซึ่งเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ได้แก่ มองเห็นกระบวนการพัฒนาแผนกลยุทธ์หรือแผนยุทธศาสตร์อย่างค่อนข้างครบวงจร โดยเริ่มจากการวิเคราะห์สถานะปัจจุบันขององค์กรด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดเด่นองค์กร (Strengths: S) จุดอ่อนขององค์กร (Weaks: W) โอกาสในการดำเนินงานตามแผน สำเร็จ (Oppotunities: O) และอุปสรรค์หรือภัยคุกคาม (Treats: T) หรือเรียกว่า SWOT โดยทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น ผลจาการวิเคราะห์ SWOT ทำให้ที่ประชุมมีมติปรับวิสัยทัศน์ของคณะจากเดิม “ภายในปี 2559 คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ผลิตผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งบริการวิชาการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในท้องถิ่น” เป็นข้อความที่กระชับ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของผู้บริหารชุดใหม่ คือ “ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ สร้างงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นชายแดนใต้” เพื่อให้ภาพในอนาคตอีก 4 ปีข้างหน้าของคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาชัดเจนมากยิ่งขึ้น และสามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานขององค์กรให้บรรลุเป้าประสงค์ ส่งเสริมให้เกิดภาพอนาคตตามวิสัยทัศน์ของคณบดีและคณะผู้บริหารคณะได้
แหล่งข้อมูลเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำแผนยุทธศาสตร์องค์กร
สำหรับความรู้และประสบการณ์ที่ผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากร ซึ่งเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ได้แก่ มองเห็นกระบวนการพัฒนาแผนกลยุทธ์หรือแผนยุทธศาสตร์อย่างค่อนข้างครบวงจร โดยเริ่มจากการวิเคราะห์สถานะปัจจุบันขององค์กรด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดเด่นองค์กร (Strengths: S) จุดอ่อนขององค์กร (Weaks: W) โอกาสในการดำเนินงานตามแผน สำเร็จ (Oppotunities: O) และอุปสรรค์หรือภัยคุกคาม (Treats: T) หรือเรียกว่า SWOT โดยทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น ผลจาการวิเคราะห์ SWOT ทำให้ที่ประชุมมีมติปรับวิสัยทัศน์ของคณะจากเดิม “ภายในปี 2559 คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ผลิตผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งบริการวิชาการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในท้องถิ่น” เป็นข้อความที่กระชับ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของผู้บริหารชุดใหม่ คือ “ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ สร้างงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นชายแดนใต้” เพื่อให้ภาพในอนาคตอีก 4 ปีข้างหน้าของคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาชัดเจนมากยิ่งขึ้น และสามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานขององค์กรให้บรรลุเป้าประสงค์ ส่งเสริมให้เกิดภาพอนาคตตามวิสัยทัศน์ของคณบดีและคณะผู้บริหารคณะได้
นอกจากนั้น กิจกรรมครั้งนี้ทำให้ผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากร มีความรู้และมีประสบการณ์กระบวนทำแผนยุทธศาสตร์ตั้งแต่ขั้นตอนการวิเคราะห์ SWOT การปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ การกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ การกำหนดเป้าหมายของยุทธศาสตร์ การกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายสำหรับการวัดความสำเร็จ การกำหนดกลยุทธ์ที่เป็นวิธีการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย รวมถึงการโครงการ/กิจกรรม งบประมาณ และการกำหนดผู้รับผิดชอบ ผลการดำเนินกิจกรรมครั้งนี้ ทำให้คณะ
วิทยาศาสตร์ฯ มีร่างแผนกลยุทธ์ฯ ประจำปี พ.ศ. 2555-2559 ที่ได้รับการปรับโดยกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อนำแผนดังกล่าวเสนอต่อประชาคมชาวคณะวิทย์ฯ และคณะกรรมการบริหารคณะฯ ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อไป
วิทยาศาสตร์ฯ มีร่างแผนกลยุทธ์ฯ ประจำปี พ.ศ. 2555-2559 ที่ได้รับการปรับโดยกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อนำแผนดังกล่าวเสนอต่อประชาคมชาวคณะวิทย์ฯ และคณะกรรมการบริหารคณะฯ ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)