สำหรับความรู้และประสบการณ์ที่ผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากร ซึ่งเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ได้แก่ มองเห็นกระบวนการพัฒนาแผนกลยุทธ์หรือแผนยุทธศาสตร์อย่างค่อนข้างครบวงจร โดยเริ่มจากการวิเคราะห์สถานะปัจจุบันขององค์กรด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดเด่นองค์กร (Strengths: S) จุดอ่อนขององค์กร (Weaks: W) โอกาสในการดำเนินงานตามแผน สำเร็จ (Oppotunities: O) และอุปสรรค์หรือภัยคุกคาม (Treats: T) หรือเรียกว่า SWOT โดยทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น ผลจาการวิเคราะห์ SWOT ทำให้ที่ประชุมมีมติปรับวิสัยทัศน์ของคณะจากเดิม “ภายในปี 2559 คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ผลิตผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งบริการวิชาการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในท้องถิ่น” เป็นข้อความที่กระชับ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของผู้บริหารชุดใหม่ คือ “ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ สร้างงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นชายแดนใต้” เพื่อให้ภาพในอนาคตอีก 4 ปีข้างหน้าของคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาชัดเจนมากยิ่งขึ้น และสามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานขององค์กรให้บรรลุเป้าประสงค์ ส่งเสริมให้เกิดภาพอนาคตตามวิสัยทัศน์ของคณบดีและคณะผู้บริหารคณะได้
นอกจากนั้น กิจกรรมครั้งนี้ทำให้ผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากร มีความรู้และมีประสบการณ์กระบวนทำแผนยุทธศาสตร์ตั้งแต่ขั้นตอนการวิเคราะห์ SWOT การปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ การกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ การกำหนดเป้าหมายของยุทธศาสตร์ การกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายสำหรับการวัดความสำเร็จ การกำหนดกลยุทธ์ที่เป็นวิธีการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย รวมถึงการโครงการ/กิจกรรม งบประมาณ และการกำหนดผู้รับผิดชอบ ผลการดำเนินกิจกรรมครั้งนี้ ทำให้คณะ
วิทยาศาสตร์ฯ มีร่างแผนกลยุทธ์ฯ ประจำปี พ.ศ. 2555-2559 ที่ได้รับการปรับโดยกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อนำแผนดังกล่าวเสนอต่อประชาคมชาวคณะวิทย์ฯ และคณะกรรมการบริหารคณะฯ ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อไป
วิทยาศาสตร์ฯ มีร่างแผนกลยุทธ์ฯ ประจำปี พ.ศ. 2555-2559 ที่ได้รับการปรับโดยกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อนำแผนดังกล่าวเสนอต่อประชาคมชาวคณะวิทย์ฯ และคณะกรรมการบริหารคณะฯ ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อไป