เพื่อร่วมกันสร้างคลังปัญญา (WISDOM Bank) แห่งชายแดนใต้ ให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนและแหล่งเรียนรู้ร่วมกันชาว ชมพู-เทา ใต้ร่มเงา "จันทน์กะพ้อ" อย่างยั่งยืนในด้าน 1) การจัดการเรียนรู้/การเรียนการสอน 2) การวิจัย 3) การบริการวิชาการ 4) การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 5) การบริหาร และ 6) การปฏิบัติงาน ที่มุ่งยกระดับคุณภาพองค์กรและการให้บริการอย่างมืออาชีพ
วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ICT-based Learning: ICT-BL @ ดร.ศิริชัย นามบุรี: เว็บบล็อก: เครื่องมือง่ายๆ ส่งเสริมการเรียนรู้ การ...
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ICT-based Learning:ICT-BL @ ดร.ศิริชัย นามบุรี: เว็บบล็อก: เครื่องมือง่ายๆ ส่งเสริมการเรียนรู้ การ...: เว็บบล็อก หรือ บล็อก (Weblog / Web Blog หรือ Blog) นับเป็นเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ที่นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ หรือผู้ใช้เครือข่ายส...
วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2559
สาระจากการประชุมสัมมนา "การนำระบบการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 ไปใช้"
วันที่ 8 มกราคม 2558 ผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณะ และบุคลากรของ มรย. ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ระบบประกันคุณภาพของ สกอ.ปีการศึกษา 2557 ที่ผ่านมา รวม 25 คน ร่วมกิจกรรมประชุมสัมมนา เรื่อง
การนำระบบการประกันคุณภาพในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557 ไปใช้ ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไข ครั้งที่ 2 ณ โรงแรมลีการ์เด้นท์ พลาซ่อ หาดใหญ่ โดยมีวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ศ.นพ. วุฒิชัย ธนาพงศธร รศ.ดร.สมบูรณ์วัลย์
สัตยารักษ์วิทย์ และผศ.จินดา งามสุทธิ พร้อมทั้ง คุณนุชนภา รื่นอบเชย ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา ร่วมรับฟังปัญหา ข้อเสนอแนะ และตอบประเด็นปัญหาต่างๆ จากมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนในกระบวนการประเมินคุณภาพภายใน ข้อสงสัย ข้อสังเกตจากองค์ประกอบและเกณฑ์การประเมิน ทั้งในระดับหลักสูตร คณะ และสถาบัน ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจ จากการประชุมสัมมนาสรุปได้ดังนี้
การนำระบบการประกันคุณภาพในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557 ไปใช้ ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไข ครั้งที่ 2 ณ โรงแรมลีการ์เด้นท์ พลาซ่อ หาดใหญ่ โดยมีวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ศ.นพ. วุฒิชัย ธนาพงศธร รศ.ดร.สมบูรณ์วัลย์
สัตยารักษ์วิทย์ และผศ.จินดา งามสุทธิ พร้อมทั้ง คุณนุชนภา รื่นอบเชย ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา ร่วมรับฟังปัญหา ข้อเสนอแนะ และตอบประเด็นปัญหาต่างๆ จากมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนในกระบวนการประเมินคุณภาพภายใน ข้อสงสัย ข้อสังเกตจากองค์ประกอบและเกณฑ์การประเมิน ทั้งในระดับหลักสูตร คณะ และสถาบัน ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจ จากการประชุมสัมมนาสรุปได้ดังนี้
- ในระบบ CHE Online ตรวจสอบรายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตรอัตโนมัติ ฉะนั้น รายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องอยู่ในฐานข้อมูลบุคลากรของมหาวิทยาลัยฯ และส่งข้อมูลให้กับ สกอ. นำเข้าระบบ CHE Online และหากฐานข้อมูลถูกต้อง สมบูรณ์ สกอ.อาจเปิดระบบ CHE Online ให้ใช้ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 นี้
- กรณีเปิดร่วมกันระหว่าง ค.บ. และ วท.บ. จะมีอาจารย์ประจำหลักสูตรซ้ำไม่ได้ ยกเว้นอาจารย์ประจำหลักสูตร ป.โท และ ป.เอก ในสาขาวิชาเดียวกัน
- สาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน จะต้องอ้างอิงสาขาหลักและสาขารอง ตามรายชื่อหลักสูตรในฐานข้อมูลใน ISECD 2013
- ในสาขาวิชาที่มีสภาวิชาชีพประเมินเพื่อรองรับ สาขาวิชาสามารถทำเรื่องมาที่ สกอ.เพื่อประสานและเสนอสภาวิชาชีพรับรององค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐานหลักสูตร
- อธิการบดีเป็นอาจารย์ประจำหรืออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่ได้ แต่สามารถสอนและเป็นที่ปรึกษา สอบวิทยานิพนธ์ได้ ทั้งนี้ ต้องดูศักยภาพ
- ผลงานตีพิมพ์ของนักศึกษาปริญญาโทหรือปริญญาเอกร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีค่า Impact Factor ต้องไม่ต่ำกว่า 0.20 สามารถนับผลงานทั้งนักศึกษาและอาจารย์ แต่ควรพิจารณาความเหมาะสมทางจริยธรรมในการนำชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาไปใส่ไว้ในผลงาน หากไม่ได้มีส่วนร่วม
ข้อสังเกต
- ผู้บริหาร ประธานหลักสูตรและกรรมการหลักสูตร จะต้องเข้าใจระบบประกันคุณภาพและเกณฑ์การประเมินอย่างถ่องแท้ และใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพ
- ในรอบปีการศึกษา พ.ศ. 2557 เป็นการทดลองระบบของ สกอ. โดยเฉพาะหลักสูตรที่มี มคอ.1 การตรวจอย่างเป็นทางการของ สกอ. เพื่อขอรับการขึ้นทะเบียนขึ้นอยู่กับความพร้อมของหลักสูตร เพื่อขึ้นทะเบียนในระบบ TQR ของ สกอ.ต่อไป
- การประเมินของคณะกรรมการ ควรเน้น "การใช้วิจารณาญาณ" การเห็นร่วมกัน เรียกว่าการประเมินแบบ "พิชญพิจารณ์ (Peer Review)" [อ่านเอกสารเพิ่มเติมสำหรับแนวคิดการประเมินแบบพิชญพิจารณ์ของ ศ.ดร.สุวิมล ว่องวาณิช]
ส่วนคำถาม/ข้อสงสัยอื่นๆ ผู้สนใจสามารถสอบถาม สำนักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา สกอ. และศึกษาจากกระดานถามตอบ ทั้งของ สกอ. และ สนง.ประกันคุณภาพ มรย. ต่อไป
คำถาม-คำตอบเพิ่มเติมของ สกอ. เกี่ยวกับระบบประกันคุณภาพภายใน
- คำถามคำตอบพบบ่อย
- กระดานถาม-ตอบ
- สำนักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา
- สำนักงานประกันคุณภาพ มรย. http://president.yru.ac.th/qa
ยุทธศาสตร์ยกระดับคุณภาพและการร่างแผนยุทธศาสตร์ 15 ปี ของ มรย. สู่ความเป็นเลิศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (มรย.) เราชาว จันทน์กะพ้อ รวมพลัง นำทีมโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดี และคณะผู้บริหารและบุคลากรจากกองนโยบายและแผน ทั้งผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัย ผู้บริหารระดับคณะและส่วนราชการในสังกัด รวมทั้งสมาชิก YRU Core Team (ทีมร่วมคิด รวมทำ นำพัฒนา) จำนวน 81 คน ร่วมประชุมปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาโครงการสนับสนุนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ปี 2559 และจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ระยะ 15 ปี ระหว่างวันที่ 19-22 ธันวาคม 2558 เป็นระยะเวลา 4 วัน ณ โรงแรมบีพี สมิหลาบีช อ.เมือง จ.สงขลา โดยได้เกียรติจากวิทยากรที่มากด้วยความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งการให้มุมมอง แง่คิด สำหรับการปรับทิศทาง (Reprofiling) การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ที่สามารถพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันได้ในอนาคต วิทยากรได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และประธานกรรมการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์เพื่อการยกมาตรฐานมหาวิทยาลัยราชภัฏสู่คุณภาพเป็นเลิศ ในระยะ 10 ปี (พ.ศ.2558-2567) และ คุณสุพจน์ อาวาส อดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ที่มีประสบการณ์ในด้านการบริหารสถาบันและธุรกิจการเงิน ธุรกิจชุมชน รวมทั้ง การดูแลกองทุนพัฒนาชุมชนต่างๆ และยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร
กิจกรรมการประชุมปฏิบัติการในวันที่ 19-20 ธันวาคม 2558 เน้นการทบทวนความสำเร็จของผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พ.ศ. 2555-2559 ที่ผ่านมา ซึ่งกำลังจะสิ้นสุดระยะการดำเนินงานตามแผนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 นี้ พร้อมกับการทบทวนผลการดำเนินงานจากการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร คณะ และสถาบัน ประจำปีการศึกษา พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา โดยรายงานให้ที่ประชุมเห็นผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เป็นข้อมูลและสารสนเทศประกอบการพิจารณาเพื่อพัฒนาโครงการเร่งด่วนที่สำคัญ และสามารถดำเนินการและเห็นผลเชิงประจักษ์ได้ภายใน 1 ปีงบประมาณ โดยใช้งบยุทธศาสตร์ประจำปี พ.ศ. 2559 โดยที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันที่จะต้องร่วมแก้ปัญหาเร่งด่วนในเรื่องของคุณภาพการศึกษา การพัฒนาคุณภาพการให้บริการขององค์กรให้มีมาตรฐาน กิจกรรมการประชุมปฏิบัติการแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มตามความสำคัญของปัญหา ได้แก่ 1) การพัฒนาระบบสหกิจศึกษาที่มีประสิทธิภาพ 2) การพัฒนาระบบส่งเสริมการทำผลงานวิชาการและงานวิจัย 3) การพัฒนาระบบการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ 4) การพัฒนามาตรฐานคุณภาพการให้บริการ และ 5) การพัฒนาระบบการจัดการขยะครบวงจร ซึ่งแต่ละกลุ่มได้นำเสนอร่างโครงการและกิจกรรม พร้อมงบประมาณ และพร้อมจะเร่งดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 นี้ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 โดยกระบวนการดำเนินงานและการติดตามผลการดำเนินงาน มหาวิทยาลัยฯ จะให้ YRU Core Team มีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนา จัดให้มีคณะกรรมการดำเนินงานและติดตามผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบจาก YRU Core Team และรายงานผลให้มหาวิทยาลัยฯ ทราบความก้าวหน้าตามลำดับต่อไป
สำหรับ กิจกรรมในวันที่ 21-22 ธันวาคม 2558 เน้นการทบทวนสถานะของ มรย. จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส อุปสรรค ของมหาวิทยาลัย โดยกองนโยบายและแผน ร่วมกับสำนักงานประกันคุณภาพ นำเสนอข้อมูลสถานะปัจจุบันของมหาวิทยาลัยฯ ในด้านการจัดการเรียนการสอน หลักสูตร นักศึกษา การบริหารจัดการ บุคลากร งบประมาณ ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการของอาจารย์ ทิศทางของมหาวิทยาลัยในอนาคต นอกจากนั้น รองศาสตราจารย์ ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช และคุณสุพจน์ อาวาส ยังร่วมเป็นวิทยากรให้แนวคิดการพัฒนามหาวิทยาลัยในระยะ 10-15 ปีในอนาคต ที่ต้องเน้นการพิจารณาและติดตามการปรับเปลี่ยนจากปัจจัยภายนอกเป็นหลัก เน้นความต้องการใช้บัณฑิตจากผู้ใช้บัณฑิตจริงๆ โดยเฉพาะการเปิดประเทศเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2559 ซึ่งสภาพสังคม เศรษฐกิจของไทยและประเทศในอาเซียน รวมถึงสถานการณ์ของโลกด้วย ซึ่งจะมีผลกระทบที่สำคัญมากๆ ต่อการกำหนดทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยฯ และการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรใหม่อย่างแน่นอน คือ ต้องเน้นการมองจากภายนอกเข้าสู่ภายใน (Outside-In) คือ มองปัจจัยและบริบทภายนอกที่มีผลกระทบต่อหลักสูตรและองค์กรเป็นหลัก โดยใช้ความได้เปรียบ ความเข้มแข็งและอัตลักษณ์ของ มรย.เป็นฐานคิด
นอกจากนั้น รองศาสตราจารย์ ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช ได้นำเสนอกระบวนการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนามหาวิทยาลัย จะต้องเน้นปรัชญา "มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น" และพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย ได้แก่ การสอนหรือการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรให้มีจุดเด่นสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาโดยพิจารณาจากจุดแข็งของมหาวิทยาลัยฯ อาจกำหนดทิศทางพัฒนาหลักสูตรสู่ความเป็นเลิศให้อยู่ในกลุ่ม (Cluster) หลักๆ นำร่องก่อน ซึ่งในกิจกรรมกลุ่มของผู้เข้าอบรมในวันสุดท้ายได้แบ่งตามคณะ เลือกหลักสูตรเด่นอยู่ใน 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) คณะครุศาสตร์เน้นกลุ่มเชี่ยวชาญผลิตครู เน้นสาขาวิทยาศาสตร์ สาขาคณิตศาสตร์ และสาขาภาษามลายูกลาง สร้างจุดเด่นคือ "เก่งวิธีสอน" 2) คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร เน้นสาขาวิทยาศาสตร์อาหารฮาลาล สาขาการบริบาลผู้สูงอายุ สาขาพลังงานทดแทน 3) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เช่น ภาษามลายูกลาง ภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษ ศิลปะและวัฒนธรรมชายแดนใต้ และ 4) คณะวิทยาการจัดการ เน้นสาขาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สาขาการจัดการโลจิสติกส์ เป็นต้น โดยมหาวิทยาลัยฯ ควรจะใช้ความเก่ง จุดแข็ง และความเป็นอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยฯ และเน้นตอบโจทย์แก้ปัญหาในพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยฯ ส่วน คุณสุพจน์ อาวาส ได้ให้ข้อเสนอแนะที่ควรเน้นการพัฒนาหลักสูตรและการผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะสู้งาน เก่งคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ เรียนรู้ตลอดเวลา และบัณฑิตควรมีฐานคิดเชิงธุรกิจ การเป็นผู้ประกอบการในทุกหลักสูตร ส่งเสริมให้นักศึกษาทำงานเป็นตั้งแต่ยังไม่สำเร็จการศึกษา โดยสร้างผลิตภัณฑ์ของ มรย.ร่วมกับชุมชน
ผลจากการจัดโครงการและกิจกรรมการประชุมปฏิบัติการครั้งนี้ คณะผู้บริหารและผู้เข้าประชุมต่างได้รับความรู้ ประสบการณ์ และมุมมองที่แตกต่างไปจากเดิมจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์จากภายนอก ทำให้มหาวิทยาลัยฯ ต้องเร่งทบทวนและกำหนดทิศทาง รวมทั้งเป้าหมายของมหาวิทยาลัยฯ ในระยะ 10-15 ปี ข้างหน้าให้ชัดเจน เพื่อให้ทุกคนในองค์กรมองเห็นเป้าหมายเดียวกัน นั่นคือ การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาไปสู่การเป็น "คลังปัญญาแห่งชายแดนใต้" อย่างแท้จริง ซึ่งอาจมีตัวชี้วัดที่สำคัญ ได้แก่ การที่มหาวิทยาลัยมีหลักสูตรที่สามารถตอบโจทย์ท้องถิ่นได้และสามารถพัฒนาไปสู่สากลโดยอาศัยอัตลักษณ์ของ มรย.เอง การผลิตบัณฑิตที่สามารถทำงานได้ ทำงานเป็น เก่งชุมชนเป็นที่ยอมรับของสังคม มหาวิทยาลัยฯ มีองค์ความรู้และมีนวัตกรรมจากงานวิจัยเพื่อนำไปบริการชุมชน แก้ไขปัญหาในพื้นที่จนสามารถยกระดับการศึกษาและคุณภาพชีวิตชุมชนได้ รวมทั้ง การพัฒนาองค์กรให้เป็นต้นแบบคุณภาพการให้บริการ การสร้างสังคมพหุวัฒนธรรมและสังคมสันติสุขในพื้นที่ ซึ่งแนวคิดที่เป็นประโยชน์เหล่านี้ จะได้นำไปเป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ระยะ 15 ปี ในกิจกรรมพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ฯ ในครั้งต่อไป
กิจกรรมการประชุมปฏิบัติการในวันที่ 19-20 ธันวาคม 2558 เน้นการทบทวนความสำเร็จของผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พ.ศ. 2555-2559 ที่ผ่านมา ซึ่งกำลังจะสิ้นสุดระยะการดำเนินงานตามแผนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 นี้ พร้อมกับการทบทวนผลการดำเนินงานจากการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร คณะ และสถาบัน ประจำปีการศึกษา พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา โดยรายงานให้ที่ประชุมเห็นผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เป็นข้อมูลและสารสนเทศประกอบการพิจารณาเพื่อพัฒนาโครงการเร่งด่วนที่สำคัญ และสามารถดำเนินการและเห็นผลเชิงประจักษ์ได้ภายใน 1 ปีงบประมาณ โดยใช้งบยุทธศาสตร์ประจำปี พ.ศ. 2559 โดยที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันที่จะต้องร่วมแก้ปัญหาเร่งด่วนในเรื่องของคุณภาพการศึกษา การพัฒนาคุณภาพการให้บริการขององค์กรให้มีมาตรฐาน กิจกรรมการประชุมปฏิบัติการแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มตามความสำคัญของปัญหา ได้แก่ 1) การพัฒนาระบบสหกิจศึกษาที่มีประสิทธิภาพ 2) การพัฒนาระบบส่งเสริมการทำผลงานวิชาการและงานวิจัย 3) การพัฒนาระบบการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ 4) การพัฒนามาตรฐานคุณภาพการให้บริการ และ 5) การพัฒนาระบบการจัดการขยะครบวงจร ซึ่งแต่ละกลุ่มได้นำเสนอร่างโครงการและกิจกรรม พร้อมงบประมาณ และพร้อมจะเร่งดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 นี้ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 โดยกระบวนการดำเนินงานและการติดตามผลการดำเนินงาน มหาวิทยาลัยฯ จะให้ YRU Core Team มีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนา จัดให้มีคณะกรรมการดำเนินงานและติดตามผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบจาก YRU Core Team และรายงานผลให้มหาวิทยาลัยฯ ทราบความก้าวหน้าตามลำดับต่อไป
สำหรับ กิจกรรมในวันที่ 21-22 ธันวาคม 2558 เน้นการทบทวนสถานะของ มรย. จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส อุปสรรค ของมหาวิทยาลัย โดยกองนโยบายและแผน ร่วมกับสำนักงานประกันคุณภาพ นำเสนอข้อมูลสถานะปัจจุบันของมหาวิทยาลัยฯ ในด้านการจัดการเรียนการสอน หลักสูตร นักศึกษา การบริหารจัดการ บุคลากร งบประมาณ ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการของอาจารย์ ทิศทางของมหาวิทยาลัยในอนาคต นอกจากนั้น รองศาสตราจารย์ ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช และคุณสุพจน์ อาวาส ยังร่วมเป็นวิทยากรให้แนวคิดการพัฒนามหาวิทยาลัยในระยะ 10-15 ปีในอนาคต ที่ต้องเน้นการพิจารณาและติดตามการปรับเปลี่ยนจากปัจจัยภายนอกเป็นหลัก เน้นความต้องการใช้บัณฑิตจากผู้ใช้บัณฑิตจริงๆ โดยเฉพาะการเปิดประเทศเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2559 ซึ่งสภาพสังคม เศรษฐกิจของไทยและประเทศในอาเซียน รวมถึงสถานการณ์ของโลกด้วย ซึ่งจะมีผลกระทบที่สำคัญมากๆ ต่อการกำหนดทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยฯ และการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรใหม่อย่างแน่นอน คือ ต้องเน้นการมองจากภายนอกเข้าสู่ภายใน (Outside-In) คือ มองปัจจัยและบริบทภายนอกที่มีผลกระทบต่อหลักสูตรและองค์กรเป็นหลัก โดยใช้ความได้เปรียบ ความเข้มแข็งและอัตลักษณ์ของ มรย.เป็นฐานคิด
นอกจากนั้น รองศาสตราจารย์ ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช ได้นำเสนอกระบวนการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนามหาวิทยาลัย จะต้องเน้นปรัชญา "มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น" และพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย ได้แก่ การสอนหรือการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรให้มีจุดเด่นสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาโดยพิจารณาจากจุดแข็งของมหาวิทยาลัยฯ อาจกำหนดทิศทางพัฒนาหลักสูตรสู่ความเป็นเลิศให้อยู่ในกลุ่ม (Cluster) หลักๆ นำร่องก่อน ซึ่งในกิจกรรมกลุ่มของผู้เข้าอบรมในวันสุดท้ายได้แบ่งตามคณะ เลือกหลักสูตรเด่นอยู่ใน 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) คณะครุศาสตร์เน้นกลุ่มเชี่ยวชาญผลิตครู เน้นสาขาวิทยาศาสตร์ สาขาคณิตศาสตร์ และสาขาภาษามลายูกลาง สร้างจุดเด่นคือ "เก่งวิธีสอน" 2) คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร เน้นสาขาวิทยาศาสตร์อาหารฮาลาล สาขาการบริบาลผู้สูงอายุ สาขาพลังงานทดแทน 3) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เช่น ภาษามลายูกลาง ภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษ ศิลปะและวัฒนธรรมชายแดนใต้ และ 4) คณะวิทยาการจัดการ เน้นสาขาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สาขาการจัดการโลจิสติกส์ เป็นต้น โดยมหาวิทยาลัยฯ ควรจะใช้ความเก่ง จุดแข็ง และความเป็นอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยฯ และเน้นตอบโจทย์แก้ปัญหาในพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยฯ ส่วน คุณสุพจน์ อาวาส ได้ให้ข้อเสนอแนะที่ควรเน้นการพัฒนาหลักสูตรและการผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะสู้งาน เก่งคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ เรียนรู้ตลอดเวลา และบัณฑิตควรมีฐานคิดเชิงธุรกิจ การเป็นผู้ประกอบการในทุกหลักสูตร ส่งเสริมให้นักศึกษาทำงานเป็นตั้งแต่ยังไม่สำเร็จการศึกษา โดยสร้างผลิตภัณฑ์ของ มรย.ร่วมกับชุมชน
ผลจากการจัดโครงการและกิจกรรมการประชุมปฏิบัติการครั้งนี้ คณะผู้บริหารและผู้เข้าประชุมต่างได้รับความรู้ ประสบการณ์ และมุมมองที่แตกต่างไปจากเดิมจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์จากภายนอก ทำให้มหาวิทยาลัยฯ ต้องเร่งทบทวนและกำหนดทิศทาง รวมทั้งเป้าหมายของมหาวิทยาลัยฯ ในระยะ 10-15 ปี ข้างหน้าให้ชัดเจน เพื่อให้ทุกคนในองค์กรมองเห็นเป้าหมายเดียวกัน นั่นคือ การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาไปสู่การเป็น "คลังปัญญาแห่งชายแดนใต้" อย่างแท้จริง ซึ่งอาจมีตัวชี้วัดที่สำคัญ ได้แก่ การที่มหาวิทยาลัยมีหลักสูตรที่สามารถตอบโจทย์ท้องถิ่นได้และสามารถพัฒนาไปสู่สากลโดยอาศัยอัตลักษณ์ของ มรย.เอง การผลิตบัณฑิตที่สามารถทำงานได้ ทำงานเป็น เก่งชุมชนเป็นที่ยอมรับของสังคม มหาวิทยาลัยฯ มีองค์ความรู้และมีนวัตกรรมจากงานวิจัยเพื่อนำไปบริการชุมชน แก้ไขปัญหาในพื้นที่จนสามารถยกระดับการศึกษาและคุณภาพชีวิตชุมชนได้ รวมทั้ง การพัฒนาองค์กรให้เป็นต้นแบบคุณภาพการให้บริการ การสร้างสังคมพหุวัฒนธรรมและสังคมสันติสุขในพื้นที่ ซึ่งแนวคิดที่เป็นประโยชน์เหล่านี้ จะได้นำไปเป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ระยะ 15 ปี ในกิจกรรมพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ฯ ในครั้งต่อไป
. |
|
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)