วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2560

ทิศทางและโจทย์วิจัยการศึกษาของไทย: กรอบคิดสู่การพัฒนาสำหรับนักการศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง

[Download]
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (http://www.onec.go.th) ซึ่งเป็นองค์กรภาครัฐ เป็นแท่งหนึ่งในกระทรวงศึกษาธิการในทั้งหมด 5 องค์กรหลัก ซึ่งได้แก่  1) สำนักงานปลัดกระทรวง 2) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 3) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 4) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ 5) สำนักงานคณะกรรมการเลขาธิการสภาการศึกษา

โดยที่สำนักงานคณะกรรมการเลขาธิการสภาการศึกษา มีพันธกิจที่สำคัญ
(http://www.onec.go.th/index.php/page/category/CAT0001068)  ดังนี้

[Download]
     1. จัดทำและขับเคลื่อนนโยบาย แผน และมาตรฐานด้านการศึกษา และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา รวมทั้งส่งเสริมความเสมอภาคของโอกาสทางการศึกษา และการมีงานทำ       
 2. ดำเนินงานวิจัย และส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยเพื่อจัดทำและพัฒนานโยบาย แผน และมาตรฐานด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ    
3. ดำเนินงานติดตาม ประเมินผล และพัฒนาระบบประเมินผลด้านการจัดการศึกษา และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์        
4. ดำเนินงานเกี่ยวกับกฎหมายด้านการศึกษา และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์        
5. สร้างการมีส่วนร่วมในการจัดทำและขับเคลื่อนด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 
6. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กร โดยใช้หลักธรรมาภิบาล


ที่มา: สำนักงานสภาการศึกษา. (2559). ทิศทางและโจทย์วิจัยของการศึกษาไทย เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก.  จาก http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1476-file.pdf 

เอกสารทางวิชาการ การรายงานเรื่อง “การวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรมและภูมิปัญญาทางการศึกษา" และเรื่อง "กรอบและทิศทางการวิจัยทางการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา"  ซึ่งเป็นผลงานที่เผยแพร่โดยสำนักงานคณะกรรมการเลขาธิการสภาการศึกษา นับเป็นประโยชน์ต่อนักการศึกษาของชาติ นักเรียน/นักศึกษาที่สนใจหรือกำลังศึกษาด้านครุศาสตร์ ด้านศึกษาศาสตร์ ด้านการศึกษา  รวมทั้งครู-อาจารย์ นักการศึกษาในโรงเรียน สถานศึกษา สถาบันการศึกษา ในการที่จะศึกษาเป็นแนวคิด เป็นกรอบและแนวทางในการพัฒนาการศึกษาของชาติ ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง การพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับสาระสำคัญในรายงาน หรือการทำวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้อง หรือตามความถนัดและความสนใจของนักวิจัยด้านการศึกษาเอง โดยหวังว่าผลการวิจัยที่เกิดขึ้น จะเป็นประโยชน์ในการยกระดับคุณภาพการศึกษาของชาติให้มีคุณภาพยิ่งๆ ขึ้นต่อไป