วันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

สรุปการสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 33 เรื่อง พลิกโฉมห้องสมุด: สรรค์สร้างอนาคตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้

สรุปการสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 33 เรื่อง พลิกโฉมห้องสมุด: สรรค์สร้างอนาคตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ ในวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ
หัวข้อ นวัตกรรมการเรียนรู้...สู่การศึกษาตลอดชีวิต รศ.ดร.แนบบุญ หุนเจริญ ได้นำเสนอนวัตกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบ LiLLe: learning innovative for lifelong education ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่นำไปใช้กับการจัดการเรียนการสอนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


สังคมในรูปแบบของ LiLLe community จะประกอบไปด้วย
  • Online courses (Chula mooc คอร์สรายวิชา)
  • Online library (iTunes u YouTube)
  • Online lectures (e-learning Echo 360 บทเรียนออนไลน์ที่มีการอัดวิดีโอในห้องเรียน)
  • Active learning (Flipped learning Blended learning Classroom Action Research)
  • Learning space (Smart Classroom Interactive Classroom Design Workspace) 



หัวข้อ Mobile device for media production : content production to social platform นำเสนอโดยคุณศุภชัย จรรยาสวัสดิ์ ได้แนะเรื่อง Mobile production : ทำเองก็ได้ โดยใช้
-อุปกรณ์สำหรับการถ่ายทำมีขนาดเล็กลง
-ความสามารถมากขึ้น (SD->Full HD ->4K)
    เครือข่ายคนใช้บรอดแบรนด์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เข้าถึงสื่อออนไลน์ได้ มีอุปกรณ์ออนไลน์เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา ดังนั้นจึงต้องพึงพาเทคโนโลยี Streaming ซึ่งจะมีอุปกรณ์ LiveU ที่เป็นกล่องที่มีซิมโทรศัพท์ใส่อยู่หลายๆแผ่น มีความสามารถในการส่งวิดีโอผ่านอินเทอร์เน็ตได้
อ่านเพิ่มเติมได้จาก Mobile Device for Media Production: Content Production to Social Platform

หัวข้อ หลักการการเลือกคนที่จะมาทำงานกับองค์กร google Thailand 
-คนที่มีความรู้ทั่วไปและมีความพร้อมที่จะเรียนรู้อะไรใหม่
-คนที่มีความเป็นผู้นำและมีความรับผิดชอบสูง มีความเป็นเจ้าของของ project ที่ตนเองรับผิดชอบ แม้ว่าจะลาพักผ่อนก็ต้องยอมรับผิดชอบงาน
-คนที่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองเป็นอย่างดี
-googleyness รู้วัฒนธรรมการทำงานของ google 

หัวข้อ การออกแบบ learning space บรรยายโดยผศ.ดร.สุรพล บุญลือ
การออกแบบ learning space จะต้องประกอบไปด้วยการพิจารณาในเรื่องสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สภาพแวดล้อมทางจิตภาพ และสภาพแวดล้อมทางสังคม (ภาระตำแหน่งหน้าที่ของสังคม การจัดกิจกรรม) และรูปแบบของ Learning Space พื้นที่ทางกายภาพ พื้นที่เสมือน virtual และพื้นที่สังคม


อ่านเพิ่มเติมได้จาก Learning Space: Design Tips for Classroom

หัวข้อ Reinventing the library นำเสนอโดย ดร.รุจเลขา วิทยาวุฒฑิกุล
-ห้องสมุดควรเน้นการบริการงานวิจัยและส่งเสริมการเรียนรู้ตามบริบทของมหาวิทยาลัย
-library as the place of learning 
-library as the third place/second home
-library as an extension of the classroom 
-คลินิควิทยานิพนธ์ สอนการวิเคราะห์สถิติ (ประสานนศ.ปริญญาเอกมาช่วยสอน) การอ้างอิง (บรรณารักษ์จัดอบรม)
-มีการจัดนิทรรศการและกิจกรรมเพื่อสร้างบรรยากาศและให้ความรู้ตลอดเวลา
-มีการสำรวจความพึงพอใจอย่างสม่ำเสมอ
-มีแผนพัฒนาบุคลากร มีการสัมมนาประจำปีและการศึกษาดูงาน
-experience economy ความคาดหวังในประสบการณ์เพื่อต่อยอดการเรียนรู้
-transforming libraries from collection centered to user centered การยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง
-ห้องสมุดเสริมสร้างประสบการณ์เพื่อให้ผู้ใช้เกิดความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงการสร้างความรู้ได้เอง (ผลิตคอนเทนต์ได้เอง)


อ่านเพิ่มเติมได้จาก Reinventing the Library: Best Practice

หัวข้อ Digital learning literacy : collaborative communication 
The transformation to Hybrid radio 
ปรากฏการณ์ของ Digital disruption การเข้ามาของดิจิทัล  ทักษะการเรียนรู้ต้องเปลี่ยนไป เพราะสื่อต่างๆ จะเปลี่ยนไป เช่น การสร้างภาพเพื่อสื่อสารให้เกิดการเรียนรู้จะมีมากขึ้น


อย่าเป็นทาสเทคโนโลยี แต่จงใช้เทคโนโลยีให้เป็นทาสของเรา การผลิตคอนเทนต์นั้น ถ้ามีประโยชน์ ผู้ใช้ก็จะใช้สื่อของเราเอง


Content is king การผลิตคอนเทนต์ขึ้นมานั้น ต้องเป็นคอนเทนต์ที่คนอยากรู้ และมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ ซึ่งต้องดึงดูดให้ผู้ใช้สนใจคอนเทนต์ให้ได้ โดยใช้นวัตกรรมเปลี่ยนความรู้ให้เป็นเงินทอง เพิ่มความมั่งคั่งและยั่งยืน
ศูนย์วิจัย CCDKM สร้างเครือข่ายการเรียนหนังสือและใช้เทคโนโลยีในการส่งเสริมคนให้มีพลังและมีความสุขในการสร้างคอนเทนต์ที่มีประโยชน์ด้วยตนเองได้


- คนระดับรากหญ้าจะใช้เทคโนโลยีถ้าสร้างรายได้ มีเงินเพิ่มขึ้น เข้าถึงข้อมูลสำคัญและจำเป็น จะไม่ถูกเอาเปรียบ และทำให้เกิดความมั่นใจในตนเอง สร้างความภาคภูมิใจในตนเอง
- การใช้เทคโนโลยีแบบให้ชาวบ้านสามารถหาเงินได้ จะทำให้เค้าสนใจในการเรียนรู้มากขึ้น และควรส่งเสริมการใช้มือถือ ด้วยการสร้าง story ให้มีอัตลักษณ์ในเรื่องราวของตนเอง จะทำให้ชาวบ้านมีความภาคภูมิใจ


หัวข้อ Learning management system: myCourseVille 
- Digital education ทำให้สิ่งที่เราเคยทำได้ ทำได้ดีขึ้น เช่น การเรียนรู้ที่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ 
- การใช้ social network เป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของนศ. ดังนั้นจึงควรพัฒนา LMS โดยพิจารณาความสามารถของ social network มาประยุกต์ให้สามารถใช้งานได้ใน LMS ที่พัฒนาขึ้น

หัวข้อ Learning and teaching warehouse: collaborative learning คลังความรู้ สู่การร่วมมือแบบปัญญาสะสม
- ความสามารถในการเรียนรู้ สำคัญกว่าความรู้ที่มีอยู่ โดยเทคโนโลยีจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีก็ไม่สามารถแทนที่สื่อบุคคลได้ เทคโนโลยีแค่ทำให้การเรียนการสอนง่ายขึ้นเท่านั้น
*App: Forest stay focused แอปที่ไม่ให้ใช้มือถือ ด้วยการปลูกต้นไม้ ถ้าเราไม่เล่นมือถือ แอปจะปลูกต้นไม้ในแอปให้เรื่อยๆ ถ้าเราปลูกต้นไม้ได้ตามที่แอปกำหนด แอปจะปลูกต้นไม้จริงๆ ให้เรา โดยจะแจ้งมาว่า ต้นไม้ของเราถูกปลูกอยู่ที่ไหนบนโลกใบนี้

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก Learning and Teaching Warehouse: Collaborative Learning

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณมากครับอาจารย์ เป็นประโยชน์มาก เผยแพร่ต่อไปยังชุมชนเรียนรู้อื่นๆ ของ มรย. เราได้เป็นอย่างดีครับ

    ตอบลบ