วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

นโยบายการพัฒนาและปรับปรุงสภาพแวดล้อมและการให้บริการของ สนอ. สู่ Green YRU

งานอาคารสถานที่ (หน่วยภาคสนาม หน่วยจัดการขยะ หน่วยแม่บ้าน หน่วยโสตทัศนูปกรณ์ หน่วยภูมิทัศนย์ และยานพาหนะ) กองกลาง สำนักงานอธิการบดี จัดอบรมปฏิบัติการพัฒนากระบวนการทำงานมาตรฐาน เพื่อการยกระดับคุณภาพการปฏิบัติงานและการให้บริการ ระหว่างวันที่ 22-23 พฤษภาคม 2561 ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติมหาวชิราลงกรณ โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ รักษาราชการแทนอธิการบดี เป็นประธาน วัตถุประสงค์ของการอบรมปฏิบัติการนี้ เพื่อพัฒนาทักษะของบุคลากรในการปฏิบัติงานและการส่งเสริมการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดี สามารถเป็นต้นแบบของการพัฒนาหน่วยงานภาครัฐไปสู่ "YRU 4.0"  สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาตาม "ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาสู่มาตรฐานความเป็นเลิศ ระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2560-2561)" ซึ่งประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์สำคัญ (ปรับปรุงเมื่อวันที่ 25-26 เมษายน 2561) ได้แก่
   สำหรับหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ที่ 4 ปฏิรูประบบบริหารจัดการมหาวิทยาลัยให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้แก่ สำนักงานอธิการบดี หน่วยงานสนับสนุน และบุคลากรสายสนับสนุน (วิชาชีพ) เป็นกำลังสำคัญ โดยเฉพาะสำนักงานอธิการบดี (http://president.yru.ac.th) และหน่วยงานภายใน รวมทั้งผู้บริหารและบุคลากร จำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องปฏิรูปและปรับปรุงกระบวนการทำงาน พัฒนาตนเองเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ 4 ให้บรรลุเป้าประสงค์ ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมาย รวมทั้งหมด 10 ตัวชี้วัด 
   สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ที่ต้องการให้บรรลุผลและอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานอธิการบดีเป็นหลัก และควรเป็นต้นแบบให้แก่หน่วยงานภายในอื่นๆ ตัวชี้วัดที่สำคัญ ได้แก่ 






  



แนวทางการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุตัวชี้วัด ในระยะรอบการประเมินผลปฏิบัติราชการ 2/2561

1.1 จำนวนต้นแบบในการบริหารจัดการสภาพแวดล้อม การจัดการขยะ การจัดการพลังงาน    

      โดยมี งานอาคารสถานที่ เป็นหน่วยหลัก สำหรับแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุง เพื่อให้กระบวนการทำงานมีความเป็นมาตรฐาน สร้างความเข้าใจและการรับรู้ ระหว่างผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ สามารถยกระดับความพึงพอใจให้แก่ผู้ใช้บริการทั้งภายในและภายนอกได้เพิ่มขึ้น  ได้แก่
  • ปรับปรุงระบบขยะให้ครบวงจร ได้แก่ การจัดทำคู่มือระบบจัดการขยะของมหาวิทยาลัย การรณรงค์ให้ความรู้การคัดแยกขยะ การจัดหาถังขยะรองรับการคัดแยก การจัดสถานที่รวบรวมขยะรีไซเคิล การหารายได้จากขยะ การจัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐานด้านจัดการขยะของบุคลากร การประกวดแข่งขัน Green YRU Zone และการประเมินความพึงพอใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2561 ได้รับจัดสรรงบประมาณจากงบยุทธศาสตร์เพื่อดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ข้างต้น จะเริ่มดำเนินการระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน 2561 นี้
  • พัฒนากระบวนงานมาตรฐานการจัดการภูมิทัศน์และสถานที่ เช่น การตัดหญ้า การตกแต่งต้นไม้ การดูแลบำรุงรักษาต้นไม้ การบำรุงรักษาสวนหย่อม น้ำพุ การดูแลความสะอาดและความเรียบร้อยของภูมิทัศน์ การเตรียมพันธุ์ไม้หรือการจัดหาพันธุ์ไม้เพื่อรองรับพิธีซ้อมรับปริญญา และการประเมินความพึงพอใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • การปรับปรุงสารสนเทศแก่ผู้ใช้บริการอาคารและสถานที่ ได้แก่ การปรับปรุงป้ายบอกทาง ป้ายหมายเลขอาคาร ป้ายชื่ออาคาร ป้ายสถานที่ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นปัจจุบัน และให้ข้อมูลเป็นประโยชน์ต่อผู้รับบริการ รวมทั้งการประเมินความพึงพอใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • การปรับปรุงกระบวนงานมาตรฐานของหน่วยรักษาความปลอดภัย ได้แก่  การรวบรวมฐานข้อมูลยานพาหนะและการติดป้านสติ๊กเกอร์  การพัฒนามาตรฐานการปฏ่ิบัติงานอย่างมืออาชีพของพนักงานรักษาความปลอดภัย (การพัฒนาบุคลิกภาพ, การสื่อสาร, เครื่องแบบและการแต่งกาย, การปฏิบัติหน้าที่ ณ จุดบริการป้อม รปภ.) การปรับภูมิทัศน์และความสะอาดบริเวณป้อม การเพิ่มหมายเลขโทรศัพท์ การปฏิบัติหน้าที่เสริมอื่นๆ เช่น การช่วยปิดเปิดไฟฟ้าเพื่อประหยัดพลังงาน การแจ้งซ่อมหลอดไฟฟ้าส่องสว่างกลางคืนที่เสียหาย  เป็นต้น รวมทั้งการประเมินความพึงพอใจการปฏิบัติงานจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • การยกระดับการให้บริการงานด้านโสตทัศนูปกรณ์  ได้แก่ รูปแบบการให้บริการ มาตรฐานการซ่อมบำรุง
  • การยกระดับการให้บริการงานยานพาหนะ  ได้แก่ การพัฒนาคู่มือการปฏิบัติงาน การให้บริการ การประเมินผลการให้บริการ เพื่อปรับปรุงคุณภาพการให้บริการและเกิดความโปร่งใส 
สำหรับการขับเคลื่อนตัวชี้วัดอื่นๆ ที่เกิดจากการปฏิบัติงานของบุคลากรแต่ละคน แต่ละงาน และแต่ละกองในสำนักงานอธิการบดี ได้แก่

5.1 ร้อยละของหน่วยงานระดับกองขึ้นไปมีแนวปฏิบัติที่ดีในการปฏิบัติงานหรือให้บริการ 
(รับผิดชอบโดยผู้อำนวยการกองและหัวหน้างาน)
5.2 ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความพึงพอใจต่อการใช้บริการอยู่ในระดับมากขึ้นไป 
(ประเมินความพึงพอใจในภาพรวมของทั้งมหาวิทยาลัย โดยใชัแบบฟอร์มเดียวกันกับสำนักงานเลขานุการ  รับผิดชอบโดยกองกลาง)