วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

สถาบันนวัตกรรมการจัดการเกษตรสมัยใหม่และอุตสาหกรรมอาหารเชิงสร้างสรรค์: การปรับตัวของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเพื่ออนาคต

  
ในวันพุธที่ 14 พฤศจิกายน 2562 ณ ศูนย์การเรียนรู้แม่ลาน อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี  คณะผู้บริหารและคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากสภามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมกันประชุมขับเคลื่อนการจัดตั้ง "สถาบันนวัตกรรมการจัดการเกษตรสมัยใหม่และอุตสาหกรรมอาหารเชิงสร้างสรรค์ (Institute of Innovation Management in Smart Agriculture and Creative Food Industry)" โดยจัดทำ (ร่าง) ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยเพื่อเตรียมนำเข้าสภามหาวิทยาลัยจัดตั้งหน่วยงานสนองตอบนโยบายของประเทศและพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยมีท่านนายกสภามหาวิทยาลัย รศ.ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช  ดร.ปรีดี โชติช่วง ผู้ทรงคุณวุฒิจากสภามหาวิทยาลัย และอธิการบดี ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ เป็นที่ปรึกษาและให้ข้อเสนอแนะ ซึ่งการดำเนินการครั้งนี้ เป็นการดำเนินการตามมติของสภามหาวิทยาลัย เมื่อคราวการประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ครั้งที่ 9/2562 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา 
      สำหรับ สถาบันนวัตกรรมการจัดการเกษตรสมัยใหม่และอุตสาหกรรมอาหารเชิงสร้างสรรค์ ที่จะจัดตั้งขึ้นนี้ ตั้งอยู่ที่ศูนย์การเรียนรู้แม่ลาน พื้นที่ประมาณ 200 กว่าไร่ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการโดยใช้ชุมชนท้องถิ่นเป็นฐาน สร้างบัณฑิตที่สร้างงานเองได้ นับเป็นการปรับตัวและปฏิรูปการจัดการเรียนการสอนสมัยใหม่ แก้ปัญหาด้านหลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอนอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถตอบสนองกับความต้องการของการพัฒนากําลังคนของประเทศ ไม่สนองความต้องการของตลาดแรงงานและผู้ประกอบการ รวมทั้งการแก้ปัญหาของ ชุมชน ท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส พื้นทีบริการของมหาวิทยาลัย  อีกทั้งเป็นการปรับตัวตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่รุนแรงและรวดเร็ว ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จึงมีความจําเป็นเร่งด่วนต้องพัฒนาหลักสูตรใหม่ ปรับรูปแบบและกระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยการทำงานพร้อมกับการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ สร้างทักษะใหม่ของบัณฑิตให้ตรงกับความต้องการของตลาด ท้องถิ่น พื้นที่ สังคมและประเทศชาติ โดยเฉพาะในกลุ่มวิชาด้านการเกษตรสมัยใหม่และอุตสาหกรรมอาหารเชิงสร้างสรรค์ (Smart Agriculture and Food Industry Cluster) ซึ่งกลุ่มวิชานี้เป็นหนึ่งใน 10 กลุ่มวิชา (Subject Clusters) ตามนโยบายและเป้าหมายที่สําคัญสําหรับการพัฒนาประเทศไทยสู่ยุค 4.0 และพัฒนากําลังคนในศตวรรษที่ 21 ที่ต้องการกําลังคนเพื่อเข้าสู่การขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ การเติบโตในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่าง ๆ  อีกทั้ง เป็นการสร้างบัณฑิต สร้างอาชีพและรายได้หลักของประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เน้นด้านการจัดการเกษตรสมัยใหม่ และอาหารท้องถิ่นสร้างสรรค์ โดยมีเป้าหมายรับนักศึกษาใหม่ในสาขาด้านการจัดการการเกษตรสมัยใหม่และอาหารสร้างสรรค์ ในปีการศึกษา 2563 นี้






       

วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2562

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดเวที KM YRU Forum 2018

        มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้ดำเนินงานการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2561 (KM YRU Forum 2018) คณะทำงานการจัดการความรู้ ได้ดำเนินการตามกระบวนการขั้นตอนการจัดการความรู้ ได้ประชุมหารือคณะกรรมการดำเนินงานการเตรียมความพร้อมการจัดกิจกรรม ฯ การกำหนดประเด็นหัวข้อการจัดการความรู้เพื่อนำเสนอการเข้าร่วมประกวดและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในปีงบประมาณ 2562 ทางคณะกรรมการได้สรุปมี จำนวน 3 ประเด็น ได้แก่  ประเด็นที่ 1 การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประเด็นที่ การบริหารจัดการงานวิจัยและบริการวิชาการ  ประเด็นที่ 3 การบริหารจัดการองค์กรโดยใช้ ICT 
          คณะกรรมการดำเนินงานการจัดเวที (KM YRU Forum 2018) ได้มีการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมการจัดกิจกรรม จำนวน 3  ครั้งที่ 1 วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2562 ชี้แจงนโยบายการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัย โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลามี Blogger  การจัดการความรู้ (KM) ผ่านชุมชนออนไลน์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา  (มรย.)  http://www.Km.yru.ac.th ให้ทั้ง 7 ส่วนราชการรายงานผลการดำเนินงาน (KM) ของหน่วยงาน เสนอร่างกำหนดการ การเสนอบุคลากรเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน และรูปแบบการจัดกิจกรรม เป็นต้น  ครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม 2562  รายงานความก้าวหน้าการส่งผลงาน การพิจารณากรรมการตัดสินผลงาน การชี้แจงกำหนดการการนำเสนอ เป็นต้น ครั้งที่ 3 วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2562 รายงานจำนวนผลงานที่เข้าร่วมนำเสนอ พิจารณาเกณฑ์การประกวดนำเสนอ การเตรียมความพร้อมในแต่ละห้องในการนำเสนอ ในวันที่ 18 มินายน 2562 ได้มีการแบ่งกลุ่มตามประเด็นการนำเสนอดังนี้
       ประเด็นที่ 1 การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
                   1.1 การออกแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดและการสื่อสาร  ผลงานของ ผศ.กรัณฑรักข์ วิทยอภิบาลกุล คณะครุศาสตร์ (Download)
                   1.2 การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีพลังงาน แบบ MIX MODEL ผลงานของ อาจารย์อดุลย์สมาน สุขแก้ว คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร (Download)
                   1.3 หัวข้อ "การใช้ Edmodo ในการจัดการเรียนสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21"   ผลงานของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภา วัชรสุขุม อาจารย์จิตติขวัญ ภู่พันธ์ตระกูล อาจารย์ธวัลรัตน์  พรหมวิเศษ อาจารย์สุรัสวดี  นราพงศ์เกษม อาจารย์ซอฟูวะห์ กูโน (Download)
                   1.4 We WIL survive by PROJECTs 21st Cent  ผลงานของ อาจารย์ปวีณา  เจะอารง /
รองศาสตราจารย์อัปสร อีซอ คณะวิทยาการจัดการ (Download)
                   1.5 สื่อวีดิทัศน์ภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนการสอน ผลงานของ อาจารย์สาวิตรี มะดอมะ คณะครุศาสตร์ (Download)
                   1.6 การจัดการเรียนการสอน Work-Integrated Learning (WIL) และจิตอาสา ผลงานของ อาจารย์ ดร.ลออ มามะ คณะวิทยาการจัดการ (Download)
                   1.7 ปัญหาการสอนภาษาอาหรับเพื่อการสื่อสารสำหรับผู้ไม่ใช่เจ้าของภาษา ผลงานของ อาจารย์ ดร.อับดุลรอแม  สุหลงและคณะ คณะครุศาสตร์ (Download)
                    ประเด็นที่ 2 การบริหารจัดการด้านการวิจัยและบริกาวิชาการ 
                    2.1 การบริหารจัดการพัฒนางานวิจัยสู่การเผยแพร่ตีพิมพ์และการบริการวิชาการสู่ท้องถิ่น ผลงานของ อาจารย์ ดร.ปาวีณา ดุลยเสรี  คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร (Download)
                    2.2 
OTOP Guide ผลงานของ นางสาวริซมา  สาเม๊าะ สถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ (Download)
                    2.3 การบริหารงานและการจัดการงานวิจัยทางด้านพลังงานสิ่งแวดล้อมสู่ความสำเร็จของบริการวิชาการในระดับชุมชน ผลงานของ อาจารย์อดุลย์สมาน  สุขแก้ว คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร (Download)
                    2.4  ทำเนียบผู้ทรงคุณวุฒิออนไลน์ ผลงานของ นางสาวฟิตรีนา ดาราแม สถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ (Download)
                     ประเด็นที่ 3 การบริหารจัดการองค์กรโดยใช้ ICT
                     3.1 ระบบสรุปรายงานการเดินทางไปราชการด้วยโปรแกรม Microsoft Excel ผลงานของนางสาวนัสรี   มะแน  สถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ (Download)
                     3.2 
Line official Account FixMe_FMS  (ศูนย์ซ่อมคณะวิทยาการจัดการ) ผลงานของนายอับดุลอาซีต  สะอิ 
นายฮาซัน นาวานิ นายอัสาร์ และเม็ง  นายนาซือรี  เตะกาแซ อาจารย์วุฒิชัย คงยัง คณะวิทยาการจัดการ (Download)                      3.3 การจัดการสินทรัพย์ไอทีด้วย Open Source+Power BI ผลงานของ นายมูฮามะ  มะสง (Download)
                      3.4 
การประยุกต์ใช้ Google Sheet ในการติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณ ผลงานของอาจารย์พิมลพรรณ ลีลาภัทรพันธุ์ 
นางอธิพร สมจิต นางสาวสุรียานี  อาบูวะ นางธัญรัศมี  รัตนกุล คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร (Download)
                      3.5 การเบิกจ่ายค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ ผลงานของ นางสาวพาตีเมาะ อาแยกาจิ สถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ (Download)
                      3.6 ติดตามงานด้วยโปรแกรม Trello ผลงานของ นางสาวฮานูณา   มุสะอะรง สถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ (Download)
                      ผลการประกวดการนำสเสนอ
                      ประเด็นที่ 1 การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
                      ระดับดีเด่น การออกแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดและการสื่อสาร  
                      ระดับดีมาก การจัดการเรียนการสอน Work-Integrated Learning (WIL) และจิตอาสา 
                      ระดับดี  We WIL survive by PROJECTs 21st Cent  
                      ประเด็นที่ 2 การบริหารจัดการด้านการวิจัยและบริกาวิชาการ 
                      ระดับดีเด่น OTOP Guide 
                      ระดับดีมาก ทำเนียบผู้ทรงคุณวุฒิออนไลน์ 
                      ระดับดี  การบริหารงานและการจัดการงานวิจัยทางด้านพลังงานสิ่งแวดล้อมสู่ความสำเร็จของบริการวิชาการในระดับชุมชน 
                      ประเด็นที่ 3 การบริหารจัดการองค์กรโดยใช้ ICT
                      ระดับดีเด่น การจัดการสินทรัพย์ไอทีด้วย Open Source+Power BI
                      ระดับดีมาก ระบบสรุปรายงานการเดินทางไปราชการด้วยโปรแกรม Microsoft Excel
                      ระดับดี  การประยุกต์ใช้ Google Sheet ในการติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณ
                                        




 








             รายงานผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ ปีงบประมาณ  2562 (Download)

วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2562

เตรียมการจัดเวทีการจัดการความรู้ KM YRU Forum 2018 ประจำปีการศึกษา 2561

  การจัดการความรู้ (Knowledge Managment: KM) นับเป็นปัญหาและอุปสรรคของแทบทุกองค์กร  มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จึงได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับมหาวิทยาลัย ระหว่างส่วนราชการภายในเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอผลงานจากการจัดการความรู้ของหน่วยงาน เรียกว่า  KM YRU Forum ขึ้นเป็นประจำทุกปี
   สำหรับผลการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ของส่วนราชการภายใน ประจำปีการศึกษา 2561 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยฯ โดยสำนักงานประกันคุณภาพ (http://president.yru.ac.th/qa/web) ในฐานะหน่วยรับผิดชอบพัฒนาระบบกลไกสนับสนุนการจัดการความรู้ จะจัดเวที KM YRU Forum 2018 ขึ้นในวันที่ 18 มิถุนายน 2562 นี้ 
     สำหรับการกำหนดประเด็นเพื่อการจัดการความรู้ที่นำเสนอแลกเปลี่ยนในเวทีใน 3 ประเด็น ได้แก่
(1) ประเด็นการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning   (2) ประเด็นการบริหารจัดการงานวิจัย  และ (3)
การบริหารองค์กรโดยใช้ไอซีที  ทั้ง 3 ประเด็น มีบุคลากรจากส่วนราชการต่าง ๆ ส่งผลงาน KM เข้าร่วมนำเสนอไม่น้อยกว่า 30 เรื่อง

  
  

วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2562

การพัฒนาบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์: การบริการวิชาการรับใช้สังคม

ประสบการณ์จากการเข้าร่วมอบรมปฏิบัติการที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยสถาบันวิจัและพัฒนาชายแดนใต้ (สวพ.) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ "การพัฒนาบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์"  ระหว่างวันที่ 9-10 มิถุนายน 2562  ณ โรงแรม บีพี สมิหลา บีช สงขลา จ.สงขลา  ความรู้และประสบการณ์ มีสาระสำคัญที่เป็นปัญหาในการเขียนบทความวิชาการหรือวิจัยเพื่อตีพิมพ์ ท่านวิทยากร  รศ.ดร.ชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุล  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เยาวเรศ ศิริสถิตย์กุล ได้นำเสนอว่าต้องสกัด 24 จุดตาย ที่ทำให้บทความไม่ได้ตีพิมพ์   เนื่องจากปัญหาสำคัญที่ทำให้บทความไม่ได้ตีพิมพ์ ได้แก่
  1. ขาดวินัย ไม่มีวันได้ส่ง มีผลงานแต่ขาดวินัย ผู้เขียนไม่สามารถควบคุมเวลาได้ บทความจึงไม่เสร็จ ส่งตีพิมพ์ไม่ได้
  2. งานซ้ำชาวบ้าน ขาดความแปลกใหม่ ไร้ความคิดสร้างสรรค์  งานต้องมีจุดเด่น เป็นงานใหม่ ถึงแม้ว่าทักษะการเขียนภาษาอังกฤษบทความตีพิมพ์นานาชาติไม่ดีพอ แต่บรรณาธิการวารสารนานาชาติ มักจะให้โอกาสถ้าเป็นประเด็นใหม่ ๆ
  3. หนีตัวเองไม่พ้น ย่ำอยู่กับที่ เนื่องจากขาดการผลิตผลงานที่ต่อเนื่อง จึงไม่มีผลงานตีพิมพ์
  4. วางโครงสร้างบทความไม่เหมาะสม ทำให้ขาดจุดเด่น ไม่เป็นไปตามรูปแบบของวารสาร
  5. พลาดโอกาส ขาดการเน้นจุดเด่นของงาน บรรณาธิการของวารสารพยายามจะมองหาจุดเด่น (Highlight) ผู้ผลิตผลงานจะต้องรู้ จุดเด่นของงานคืออะไร
  6. ขาดเอกภาพ มีผลงานมาก รายละเอียดมาก ไม่สามารถผสมผสานส่วนต่าง ๆ จนมีความหนักแน่นทางวิชาการได้  การพยายามใส่ทุกอย่างในบทความ จนขาดเอกภาพ 
  7. สไตล์การเขียน ทักษะการใช้ภาษาและการนำเสนอไม่เหมาะสม ก็เป็นอุปสรรคของการตีพิมพ์
  8. มาแบบรายงาน  (มีรายละเอียดมาก การเล่าเรื่องทั้งหมด) จะมีโอกาสตีพิมพ์ ถ้าสามารถปรับเป็นการเขียนให้เห็นกระบวนการวิจัยและผลวิจัย
  9. บทความนานาชาติ เขียนประโยคชนประโยค ขาดเชื่อมโยงเหตุและผล ทำให้ขาดเอกภาพ
  10. นำเสนอประเด็นยาก ซับซ้อน ไม่ชัดเจน จะต้องเขียนให้อ่านง่าย และมีน้ำหนัก คำนึงถึงผู้อ่านที่ไม่ใช่นักวิจัย สามารถเข้าใจ 
  11. รู้จักวารสารแหล่งตีพิมพ์น้อย แล้วส่งไปผิดที่ (ไม่ใช่จุดเน้นของวารสาร) ก็จะไม่ได้รับการตอบรับ โดยเฉพาะการอ้างอิงบรรณานุกรมช่วงท้าย จะต้องหาแหล่งอ้างอิง ผู้วิจัยต้องรู้จักแหล่งวารสาร เช่น วารสารในฐาน Scopus มีมากกว่า 30,000 วารสาร  หรือวารสารในฐานข้อมูล ISI  เพื่อเป็นโอกาสในการส่งบทความวิชาการ
  12. ผิดพลาด บกพร่องในการพิมพ์ เช่น ภาพ ตาราง บรรณานุกรม ทำให้ผลงานไม่ได้รับการตอบรับ ควรให้ความสำคัญอย่างมาก
  13. ไม่ให้ความสำคัญกับวารสาร แต่เพลินไปกับ Conference ควรส่งเสริมให้นักวิจัยส่งผลงานตีพิมพ์ในวารสารมากกว่าการ Conference Proceeding เพราะมีผลกระทบ (Impact) มีผลต่อการประเมินผลงานของมหาวิทยาลัยมากกว่า
  14. ละเลยผลงานที่มีมาก่อน ไม่ครอบคลุมและพิถีพิถันในการเลือก reference ต้องศึกษาประเด็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ควร Review อ้างอิงให้ครบถ้วน ไม่ควรค้นหาจาก Google อย่างเดียว ควรต้องใช้ฐานข้อมูล TCI, ISI, Scopus 
  15. อ้างอิงแต่งานตนเอง   แสดงถึงความใจแคบ ควรอ้างอิงบทความอื่น ๆ โดยเฉพาะผลงานในวารสารที่ตั้งใจตีพิมพ์
  16. ไม่อ้างอิงบทความ ไม่ใช้ฐานข้อมูลที่เป็นแหล่งที่มีชื่อเสียง เช่น ISI, TCI  คือ ควรอ้างอิงจากวารสาร ไม่อ้างอิงจากวิทยานิพนธ์ รายงาน หรือเว็บไซต์ทั่วไป
  17. อภิปรายผลไม่ทันยุคสมัย  ถึงแม้งานวิจัยเก่า แต่ควรอภิปรายผลให้ทันยุคทันสมัย โดยการอ้างอิงในผลและการอภิปรายผลด้วย บรรณาธิการวารสารจะพิจารณาการอภิปรายผลเป็นประเด็นสำคัญ  
  18. Suggeest referee ผิด กรณีวารสารให้โอกาสเสนอ Peer Review ให้เสนอให้เหมาะสม ไม่ควรมีความใกล้ชิดกัน หรือผู้เชี่ยวชาญระดับโลกเพราะมักจะมีปัญหาเรื่องเวลาของผู้เชี่ยวชาญ ควรเสนอผู้ที่มีผลงานเกี่ยวข้องกับงานของเรา โดยการสืบค้นจากวารสารที่เกี่ยวข้อง
  19. หมกเม็ด ลักไก่ ไม่แก้  กรณีได้รับโอกาสแก้ไข ขอให้ใช้โอกาสในการแก้ไขอย่างเต็มที่ พยายามแก้ไขอย่างระเอียดรอบคอบ
  20. แข็งข้อกับบรรณาธิการ ควรให้เกียรติกองบรรณาธิการ ควรแสดงความพยายามในการปรับแก้ให้เต็มที่
  21. อ่านน้อยเกินไป การอ่านน้อยเกินไป ทำให้มองไม่เห็นลู่ทางในการเขียน ความรู้และประสบการณ์ การอ่าน จะนำมาใช้ในการเขียนที่มีคุณภาพ
  22. ก่อนส่ง คนเขียนเองไม่ได้อ่าน (ถ้าอ่านจะรู้สึกว่าไม่เข้าท่า)  เพื่อทบทวน หรือส่งให้กับผู้เขียนร่วม เพื่อช่วยอ่านก่อนส่ง เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์
  23. ขาดความสุขในการเขียน  อาจต้องพยายามส่งและมีความสำเร็จในการตีพิมพ์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการผลิตงานเพื่อตีพิมพ์ต่อ
  24. ผิดจริยธรรมการเผยแพร่ในบริบทปัจจุบัน ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในการตีพิมพ์


 

 

 

  

นอกจากนั้น วิทยากรยังเสริมเทคนิคการสืบค้น การใช้ฐานข้อมูล เพื่อสืบค้นบทความสำหรับการเขียน
บทความและวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ  การเตรียมต้นฉบับเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารวิจัย จึงนำความรู้และประสบการณ์มาถ่ายทอดไว้เพื่อประโยชน์แก่นักวิจัยต่อไป
  • เทคนิคการใช้ฐานข้อมูลเสริมการเขียนบทความ เช่น การค้นหาบทความวิจัยใน TCI
    tci general search ที่ลิงก์  http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/general_search.php
  • เทคนิคการสืบค้นบทความวิจัย วิชาการจากฐานข้อมูลวารสาร Thaijo  (https://www.tci-thaijo.org) แหล่งสืบค้นบทความวิจัย บทความวิชาการจากทุกวารสาร ที่สะดวกในสืบค้นและการนำบทความมาใช้ประโยชน์ 
การประชุมปฏิบัติการครั้งนี้ เป็นการใช้เวลา 24 ชั่วโมง เพื่อเขียน/ปรับปรุงต้นฉบับบทความวิจัย บทความวิชาการเพื่อส่งตีพิมพ์ (Submission) ในวารสารวิชาการเป้าหมายที่ผู้เขียนแต่ละคน ใน 24 ชั่วโมง มีผู้สามารถส่งบทความตีพิมพ์ในระบบออนไลน์ของวารสารทั้งในและต่างประเทศได้ในเวลา จำนวน 4 บทความ ที่เหลือมีความก้าวหน้าร้อยละ 70-90% และจะสามารถส่งบทความเพื่อให้วารสารพิจารณาตีพิมพ์ได้ภายใน 1 เดือน  นับเป็นกิจกรรมอบรมปฏิบัติการที่มีประโยชน์ และเห็นผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม และทำให้ผู้เข้าอบรมต้องลงมือทำเป็น แสดงบทบาทเป็น Active Leaarner ตลอดเวลา

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การประชุมเตรียมความพร้อมการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการจัดการความรู้ ปีการศึกษา 2561

          วันที่ 1 กุมภาพันธ์ุ 2562 เวลา 15.00 - 16.30 น. ที่ห้องประชุมสุ่ย เจีย ชั้น 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา สำนักงานงานประกันคุณภาพ จัดประชุมคณะกรรมการกำกับและติดตามการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน ตัวบ่งชีั สกอ. ที่ 5.1 เกณฑ์ข้อที่ 5 การกำกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานในสถาบันมีการดำเนินการจัดการความรู้ตามระบบ โดยมีอาจารย์ ดร.ศิริชัย  นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในการประชุม มีการติดตามและรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ (KM) ทั้ง 7 ส่วนราชการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามกรอบระยะเวลา และการเตรียมความพร้อมในการดำเนินการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการจัดการความรู้ ปีการศึกษา 2561 (KM YRU Forum 2018)  มีกำหนดการจัดกิจกรรม ในวันที่ 18 มิถุนายน 2562  ณ คณะวิทยาการจัดการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นรูปธรรม มีกระบวนการจัดกิจกรรมร่วมกัน เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยอย่างแท้จริง โดยมีการกำหนดประเด็นที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมการจัดการความรู้สู่ YRU 4.0 ดังนี้
          1. การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คณะละไม่น้อยกว่า 1 เรื่อง
          2. การบริหารจัดการด้านการวิจัยและบริการวิชาการ (สถาบันวิจัยและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และคณะ) อย่างน้อยหน่วยงานละ 1 เรื่อง
          3. การบริหารจัดการองค์กรโดยใช้ไอซีที  อย่างน้อยหน่วยงานละ 1 เรื่อง
          ➤ รูปแบบการจัดกิจกรรม  
           - พิธีเปิดโดยท่านอธิการบดี
           - ร่วมชมนิทรรศการของ 7 ส่วนราชการ

           - การนำเสนอของผู้ส่งหัวข้อเข้าประกวด แยก 3 ประเด็น ๆ ละ 1 ห้องการนำเสนอ มีพิธีกร ผู้จับเวลา ผู้สรุปประเด็น คณะกรรมการตัดสินการประกวดประจำห้อง กำหนดเวลาในการนำเสนอ 10 นาที แลกเปลี่ยน 5 นาที รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 15 นาที 
           - พิธีมอบเกียรติบัตรผู้ได้รับรางวัลการนำเสนอแต่ละประเด็นและเกียรติบัตรผู้เข้าร่วมนำเสนอฯ

           ทั้งนี้การนำเสนอผลงานสามรถนำเสนอด้วยวาจา พร้อมสื่อนำเสนอหรือเอกสารประกอบ หรือนำเสนอด้วยการเล่าเรื่องด้วยสื่อวิดีทัศน์ กำหนดการส่งประเด็นภายในวันที่ 14 มิถุนายน 2562  สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันคุณภาพ ชั้น 6 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ โทร 17000

            Download แบบฟอร์มการเสนอหัวข้อเข้าประกวด
            ลิ้งข่าวกิจกรรม