- ขาดวินัย ไม่มีวันได้ส่ง มีผลงานแต่ขาดวินัย ผู้เขียนไม่สามารถควบคุมเวลาได้ บทความจึงไม่เสร็จ ส่งตีพิมพ์ไม่ได้
- งานซ้ำชาวบ้าน ขาดความแปลกใหม่ ไร้ความคิดสร้างสรรค์ งานต้องมีจุดเด่น เป็นงานใหม่ ถึงแม้ว่าทักษะการเขียนภาษาอังกฤษบทความตีพิมพ์นานาชาติไม่ดีพอ แต่บรรณาธิการวารสารนานาชาติ มักจะให้โอกาสถ้าเป็นประเด็นใหม่ ๆ
- หนีตัวเองไม่พ้น ย่ำอยู่กับที่ เนื่องจากขาดการผลิตผลงานที่ต่อเนื่อง จึงไม่มีผลงานตีพิมพ์
- วางโครงสร้างบทความไม่เหมาะสม ทำให้ขาดจุดเด่น ไม่เป็นไปตามรูปแบบของวารสาร
- พลาดโอกาส ขาดการเน้นจุดเด่นของงาน บรรณาธิการของวารสารพยายามจะมองหาจุดเด่น (Highlight) ผู้ผลิตผลงานจะต้องรู้ จุดเด่นของงานคืออะไร
- ขาดเอกภาพ มีผลงานมาก รายละเอียดมาก ไม่สามารถผสมผสานส่วนต่าง ๆ จนมีความหนักแน่นทางวิชาการได้ การพยายามใส่ทุกอย่างในบทความ จนขาดเอกภาพ
- สไตล์การเขียน ทักษะการใช้ภาษาและการนำเสนอไม่เหมาะสม ก็เป็นอุปสรรคของการตีพิมพ์
- มาแบบรายงาน (มีรายละเอียดมาก การเล่าเรื่องทั้งหมด) จะมีโอกาสตีพิมพ์ ถ้าสามารถปรับเป็นการเขียนให้เห็นกระบวนการวิจัยและผลวิจัย
- บทความนานาชาติ เขียนประโยคชนประโยค ขาดเชื่อมโยงเหตุและผล ทำให้ขาดเอกภาพ
- นำเสนอประเด็นยาก ซับซ้อน ไม่ชัดเจน จะต้องเขียนให้อ่านง่าย และมีน้ำหนัก คำนึงถึงผู้อ่านที่ไม่ใช่นักวิจัย สามารถเข้าใจ
- รู้จักวารสารแหล่งตีพิมพ์น้อย แล้วส่งไปผิดที่ (ไม่ใช่จุดเน้นของวารสาร) ก็จะไม่ได้รับการตอบรับ โดยเฉพาะการอ้างอิงบรรณานุกรมช่วงท้าย จะต้องหาแหล่งอ้างอิง ผู้วิจัยต้องรู้จักแหล่งวารสาร เช่น วารสารในฐาน Scopus มีมากกว่า 30,000 วารสาร หรือวารสารในฐานข้อมูล ISI เพื่อเป็นโอกาสในการส่งบทความวิชาการ
- ผิดพลาด บกพร่องในการพิมพ์ เช่น ภาพ ตาราง บรรณานุกรม ทำให้ผลงานไม่ได้รับการตอบรับ ควรให้ความสำคัญอย่างมาก
- ไม่ให้ความสำคัญกับวารสาร แต่เพลินไปกับ Conference ควรส่งเสริมให้นักวิจัยส่งผลงานตีพิมพ์ในวารสารมากกว่าการ Conference Proceeding เพราะมีผลกระทบ (Impact) มีผลต่อการประเมินผลงานของมหาวิทยาลัยมากกว่า
- ละเลยผลงานที่มีมาก่อน ไม่ครอบคลุมและพิถีพิถันในการเลือก reference ต้องศึกษาประเด็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ควร Review อ้างอิงให้ครบถ้วน ไม่ควรค้นหาจาก Google อย่างเดียว ควรต้องใช้ฐานข้อมูล TCI, ISI, Scopus
- อ้างอิงแต่งานตนเอง แสดงถึงความใจแคบ ควรอ้างอิงบทความอื่น ๆ โดยเฉพาะผลงานในวารสารที่ตั้งใจตีพิมพ์
- ไม่อ้างอิงบทความ ไม่ใช้ฐานข้อมูลที่เป็นแหล่งที่มีชื่อเสียง เช่น ISI, TCI คือ ควรอ้างอิงจากวารสาร ไม่อ้างอิงจากวิทยานิพนธ์ รายงาน หรือเว็บไซต์ทั่วไป
- อภิปรายผลไม่ทันยุคสมัย ถึงแม้งานวิจัยเก่า แต่ควรอภิปรายผลให้ทันยุคทันสมัย โดยการอ้างอิงในผลและการอภิปรายผลด้วย บรรณาธิการวารสารจะพิจารณาการอภิปรายผลเป็นประเด็นสำคัญ
- Suggeest referee ผิด กรณีวารสารให้โอกาสเสนอ Peer Review ให้เสนอให้เหมาะสม ไม่ควรมีความใกล้ชิดกัน หรือผู้เชี่ยวชาญระดับโลกเพราะมักจะมีปัญหาเรื่องเวลาของผู้เชี่ยวชาญ ควรเสนอผู้ที่มีผลงานเกี่ยวข้องกับงานของเรา โดยการสืบค้นจากวารสารที่เกี่ยวข้อง
- หมกเม็ด ลักไก่ ไม่แก้ กรณีได้รับโอกาสแก้ไข ขอให้ใช้โอกาสในการแก้ไขอย่างเต็มที่ พยายามแก้ไขอย่างระเอียดรอบคอบ
- แข็งข้อกับบรรณาธิการ ควรให้เกียรติกองบรรณาธิการ ควรแสดงความพยายามในการปรับแก้ให้เต็มที่
- อ่านน้อยเกินไป การอ่านน้อยเกินไป ทำให้มองไม่เห็นลู่ทางในการเขียน ความรู้และประสบการณ์ การอ่าน จะนำมาใช้ในการเขียนที่มีคุณภาพ
- ก่อนส่ง คนเขียนเองไม่ได้อ่าน (ถ้าอ่านจะรู้สึกว่าไม่เข้าท่า) เพื่อทบทวน หรือส่งให้กับผู้เขียนร่วม เพื่อช่วยอ่านก่อนส่ง เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์
- ขาดความสุขในการเขียน อาจต้องพยายามส่งและมีความสำเร็จในการตีพิมพ์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการผลิตงานเพื่อตีพิมพ์ต่อ
- ผิดจริยธรรมการเผยแพร่ในบริบทปัจจุบัน ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในการตีพิมพ์
นอกจากนั้น วิทยากรยังเสริมเทคนิคการสืบค้น การใช้ฐานข้อมูล เพื่อสืบค้นบทความสำหรับการเขียน
บทความและวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ การเตรียมต้นฉบับเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารวิจัย จึงนำความรู้และประสบการณ์มาถ่ายทอดไว้เพื่อประโยชน์แก่นักวิจัยต่อไป
บทความและวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ การเตรียมต้นฉบับเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารวิจัย จึงนำความรู้และประสบการณ์มาถ่ายทอดไว้เพื่อประโยชน์แก่นักวิจัยต่อไป
- เทคนิคการใช้ฐานข้อมูลเสริมการเขียนบทความ เช่น การค้นหาบทความวิจัยใน TCI
tci general search ที่ลิงก์ http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/general_search.php - เทคนิคการสืบค้นบทความวิจัย วิชาการจากฐานข้อมูลวารสาร Thaijo (https://www.tci-thaijo.org) แหล่งสืบค้นบทความวิจัย บทความวิชาการจากทุกวารสาร ที่สะดวกในสืบค้นและการนำบทความมาใช้ประโยชน์
การประชุมปฏิบัติการครั้งนี้ เป็นการใช้เวลา 24 ชั่วโมง เพื่อเขียน/ปรับปรุงต้นฉบับบทความวิจัย บทความวิชาการเพื่อส่งตีพิมพ์ (Submission) ในวารสารวิชาการเป้าหมายที่ผู้เขียนแต่ละคน ใน 24 ชั่วโมง มีผู้สามารถส่งบทความตีพิมพ์ในระบบออนไลน์ของวารสารทั้งในและต่างประเทศได้ในเวลา จำนวน 4 บทความ ที่เหลือมีความก้าวหน้าร้อยละ 70-90% และจะสามารถส่งบทความเพื่อให้วารสารพิจารณาตีพิมพ์ได้ภายใน 1 เดือน นับเป็นกิจกรรมอบรมปฏิบัติการที่มีประโยชน์ และเห็นผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม และทำให้ผู้เข้าอบรมต้องลงมือทำเป็น แสดงบทบาทเป็น Active Leaarner ตลอดเวลา