ด้วยการดำเนินงานของทุกองค์กรต้องมีการบริหารความเสี่ยงภายในองค์กร ที่เป็นประโยชน์ในการช่วยสร้างโอกาสและเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงาน
ที่องค์กรต้องตระหนักถึงภัยคุกคามที่ยังมาไม่ถึง เพื่อลดการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้
ช่วยปกป้องการปฏิบัติงาน ปรับปรุงระบบงาน การวางแผน การสร้างฐานข้อมูลความรู้ที่มีประโยชน์ต่อการบริหาร
และการปฏิบัติงานในองค์กร ในการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2566 ตามคำสั่ง
มรย. ที่ 8065 /2565 มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง ผ่านการพิจารณาต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย และที่ประชุมผู้บริหารมหาวิทยาลัยคร้้งที่ 2//2566 การกำกับติดตามการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลามีการกำกับติดตามผลการดำเนินงานจำนวน 2 ครั้ง สามารถสรุปผลการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 14 ประเด็นดังนี้
ประเด็นความเสี่ยงที่ประเมินมีความเสี่ยงเท่าเดิมและเพิ่มขึ้น
1. นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีสุดท้ายมีผลการทดสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน
CEFR
ไม่ผ่านระดับ B1
2. จำนวนผลงานวิจัยที่มีการจดผลงานทรัพย์สินทางปัญญามีการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
ประเด็นความเสี่ยงที่ประเมินมีความเสี่ยงลดลง
1. จำนวนนักศึกษาใหม่ลดลงและไม่เป็นไปตามแผนรับ
2. สัดส่วนภาวการณ์มีการงานทำของบัณฑิตลดลง
3. ระบบสารสนเทศด้านการวิจัยไม่สามารถเชื่อมโยงนำไปใช้ประโยชน์ได้
4. การเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนและเกิดการทุจริตในองค์กร
5. ร้อยละของบุคลากรสายวิชาการที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานในการประเมิน
6. การเบิกจ่ายงบประมาณไม่เป็นไปตามแผน
7. การปฏิบัติงานผ่านระบบออนไลน์ไม่ได้
8. ความปลอดภัยจากการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
9. อุปกรณ์เครื่องแม่ข่ายหรือคอมพิวเตอร์ชำรุดเสียหาย
10. ความไม่ปลอดภัยด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบไฟฟ้า และอาคารสถานที่
11. ทรัพย์สินของทางราชการสูญหาย
12. การกระทำความผิดด้านพรบ.คอมพิวเตอร์
ความเสี่ยงที่ต้องนำไปบริหารความเสี่ยงในปีงบประมาณ
พ.ศ. 2567
2. จำนวนนักศึกษาใหม่ลดลงและไม่เป็นไปตามแผนรับ
3. จำนวนผลงานวิจัยที่มีการจดผลงานทรัพย์สินทางปัญญามีการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
4. ระบบสารสนเทศด้านการวิจัยไม่สามารถเชื่อมโยงนำไปใช้ประโยชน์ได้
5. ร้อยละของบุคลากรสายวิชาการที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานในการประเมิน
6. ความไม่ปลอดภัยด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบไฟฟ้า และอาคารสถานที่