วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563

ITA63: ความสำคัญของ ITA2020 ต่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

     ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ได้พัฒนาเครื่องมือการประเมินเชิงบวกเพื่อเป็นมาตรการป้องกันการทุจริต และเป็นกลไกในการสร้างความตระหนักให้หน่วยงานภาครัฐ มีการดำเนินงานอย่างโปร่งใสและมีคุณธรรม โดยใช้ชื่อโครงการว่า "การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานภาครัฐ  (Integrity and Transparency Assessment: ITA)"  ซึ่งดำเนินการโดยสำนักประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส สำนักงาน ป.ป.ช. มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เข้าร่วมโครงการประเมิน ITA มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ซึ่ง สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนดให้หน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมประเมิน ITA เป็นมาตรฐานเดียวกันตั้งแต่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา และมีการจัดอันดับคะแนน ITA เป็นรายกลุ่มประเภทองค์กร
    มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เข้าร่วมโครงการประเมิน ITA มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีผลการประเมินคะแนนที่มีพัฒนาการที่ดีขึ้นมาตามลำดับ ด้วยความร่วมมือในมาตรการการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย มีผลการประเมินตามปีงบประมาณ ดังต่อไปนี้
  • พ.ศ. 2559  ได้คะแนน 47.31 จัดอยู่ในอันดับที่ 76 จากมหาวิทยาลัยทั้งหมด 77 แห่ง
  • พ.ศ. 2560  ได้คะแนน 76.18 จัดอยู่ในอันดับที่ 53 จากมหาวิทยาลัยทั้งหมด 81 แห่ง
  • พ.ศ. 2561  ได้คะแนน 79.58 จัดอยู่ในอันดับที่ 53 จากมหาวิทยาลัยทั้งหมด 81 แห่ง
  • พ.ศ. 2562  ได้คะแนน 86.25 จัดอยู่ในอันดับที่ 48 จากมหาวิทยาลัยทั้งหมด 80 แห่ง
    สำหรับเกณฑ์คะแนนและระดับผลการประเมิน แบ่งเป็น 7 ระดับดังนี้

    สำหรับผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 หรือ ITAุ62 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีผลการประเมินอยู่ในกลุ่ม A  มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 86.25  อยู่ในอันดับที่  48 จากมหาวิทยาลัยทั้งหมด 80 แห่ง 

    ทั้งนี้ ผลการจัดอันดับ ITA62 ของมหาวิทยาลัยไทย  สามารถดูรายละเอียดเพิ่มได้จากลิงก์ https://itas.nacc.go.th/report/rpt0401?year=2019&departmentcatId=8
 
      สำหรับเป้าหมายของการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ตาม แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาสู่มาตรฐานความเป็นเลิศ ระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2560-2569) กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์สำคัญไว้ใน ยุทธศาสตร์ที่ 4 ปฏิรูประบบบริหารจัดการมหาวิทยาลัยให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในเป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ไว้อย่างชัดเจนใน เป้าประสงค์ที่  "5. มหาวิทยาลัยเป็นองค์กรคุณภาพ คุณธรรม โปร่งใสและได้รับการยอมรับ" และแนวทางไว้เป็นกำหนดกลยุทธ์ไว้คือ "พัฒนาและเสริมสร้างองค์กรสู่องค์กรแห่งคุณธรรมและความโปร่งใส" โดยกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จคือ ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความพึงพอใจต่อการให้บริการในระดับดีมากขึ้นไป  
   ทั้งนี้ การดำเนินงานของมหาวิทยาลัย มุ่งเน้นการพัฒนาให้เป็นต้นแบบด้านคุณธรรมและความโปร่งใส "เป็นองค์กรแห่งคุณธรรมและความโปร่งใส" ซึ่งจะสำเร็จได้นั้น ขึ้นอยู่กับการพัฒนาระบบบริหารจัดการ การเปิดเผยข้อมูลองค์กร กระบวนการปฏิบัติงานและการให้บริการ สำคัญที่สุดก็คือ การรับรู้ ตระหนักรู้ ความรู้ความเข้าใจของทุกคนในองค์กร (ผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร ผู้นำนักศึกษา นักศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง) เกี่ยวกับความสำคัญของคุณธรรมและความโปร่งใส องค์ประกอบการประเมิน แนวทางการประเมิน ความผิดและบทลงโทษตามกฎหมาย  รวมทั้งการปลูกฝังและเสริมสร้างพฤติกรรมของคนในองค์กรให้แสดงออกซึ่งคุณธรรมและความโปร่งใส 


เอกสารรายละเอียดการประเมิน ITA 2563 (.pdf)

Download เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน ITA ได้ที่  https://itas.nacc.go.th/home/listalldocument



มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา องค์กรแห่งคุณธรรมและความโปร่งใส 
ต่อต้านการทุจริตทุกคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ

วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดประชุมคณะกรรมการพิจารณาผลงาน การจัดกิจกรรทการจัดการความรู้ (KM YRU Forum 2019)

         เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2563 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดประชุมคณะกรรมการพิจารณาผลงาน การจัดกิจกรรทการจัดการความรู้ (KM YRU Forum 2019) ครั้งที่ 1/2563 ณ ห้องประชุมสุ่ยเจีย ชั้น 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรน  ตามคำสั่ง มรย.1981/2563 แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลงาน (KM YRU Forum 2019) การประชุมครั้งนี้ประธานในที่ประชุม อาจารย์สุวิมล อิสระธนาชัยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานประกันคุณภาพและรองประธานคณะกรรมการการจัดการความรู้ ได้รับมอบหมายจากประธานกรรมการ อาจารย์ ดร.ศิริชัย  นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและประธานกรรมการการจัดการความรู้  ในการดำเนินการประชุมตามวาระ จากผลการประชุมมีการทบทวนปฏิทินการดำเนินงานกิจกรรม รูปแบบการนำเสนอผลงาน และเกณฑ์การพิจารณาผลงาน เพื่อให้การจัดกิจกรรมมีความเหมาะสมกับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 สามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้

         การจัดประชุมมีการมีมติเห็นชอบการทบทวนปฏิทินการดำเนินงานการจัดการความรู้ (KM YRU Forum 2019) ดังนี้


วัน/เดือน/ปี
กิจกรรม
1-15 ม.ค. 2563
แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้
7 ม.ค. 2563
กำหนดประเด็นและปฏิทินการดำเนินงานกิจกรรม KM YRU FORUM 2019
15 ม.ค. 2563 – 31 มี.ค. 2563
ประชาสัมพันธ์และส่งผลงานเข้าร่วมประกวดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
13 กุมภาพันธ์ 2563
ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานการจัดการความรู้ ครั้งที่ 1/2563
19 มี.ค. 2563
ประชุมคณะกรรมการพิจารณาผลงาน ครั้งที่ 1/2563
30 เม.ย. 2563
หมดเขตการส่งผลงานพร้อมคลิปวีดีโอ
7 พ.ค. 2563
นำเสนอผลงานและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แยกห้องแต่ละประเด็นหรือการนำเสนอเป็นวีดีโอ
มิถุนายน 2563
พิธีมอบรางวัลให้กับผู้ได้รับรางวัล
มิถุนายน 2563
สรุปผลการดำเนินงาน
         
           จัดรูปแบบกิจกรรม ดังนี้
การส่งผลงานเข้าร่วมประกวดให้มีการเขียนในแบบฟอร์มที่กำหนด ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2563 ให้มีการจัดทำเป็นวีดีโอการนำเสนอผลงาน ส่งภายในวันที่ 30 เมษายน 2563 ทั้งนี้ให้ส่วนราชการรวบรวมของหน่วยงานทุกประเด็นดังนี้
          กรณีประเด็นที่ 1 ให้จัดทำเอกสารเรื่องละ 5 ชุด เท่ากับจำนวนคณะกรรมการพิจารณาประเด็นที่ 1 และส่งไฟล์เอกสารแปลงเป็น PDF ใส่ในแผ่นซีดี (รวมในแผ่นเดี่ยวกัน) และคลิปวิดีโอแยกเป็นเรื่อง ๆ
          กรณีประเด็นที่ 2 ให้จัดทำเอกสารเรื่องละ 4 ชุด เท่ากับจำนวนคณะกรรมการพิจารณาประเด็นที่ 2 และส่งไฟล์เอกสารแปลงเป็น PDF ใส่ในแผ่นซีดี (รวมในแผ่นเดี่ยวกัน) และคลิปวิดีโอแยกเป็นเรื่อง ๆ
          กรณีประเด็นที่ 3 ให้จัดทำเอกสารเรื่องละ 5 ชุด เท่ากับจำนวนคณะกรรมการพิจารณาประเด็นที่ 3 และส่งไฟล์เอกสารแปลงเป็น PDF ใส่ในแผ่นซีดี (รวมในแผ่นเดี่ยวกัน) และคลิปวิดีโอแยกเป็นเรื่อง ๆ
          กรณีประเด็นที่ 4 ให้จัดทำเอกสารเรื่องละ 7 ชุด เท่ากับจำนวนคณะกรรมการพิจารณาประเด็นที่ 4 และส่งไฟล์เอกสารแปลงเป็น PDF ใส่ในแผ่นซีดี (รวมในแผ่นเดี่ยวกัน) และคลิปวิดีโอแยกเป็นเรื่อง ๆ
วิดีโอการนำเสนอผลงานไม่เกินเรื่องละ 10 นาที
ส่งมายังสำนักงานประกันคุณภาพ สำนักงานอธิการบดี อาคาร 20 ชั้น 6 เบอร์โทรภายใน 17001
รูปแบบการจัดกิจกรรมในวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 กรณีเหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดไม่มีการแจ้งเตือนสามารถจัดกิจกรรมรวมคนได้ทางผู้จัดจะดำเนินการจัดกิจกรรมให้มีการนำเสนอตามรูปแบบในปีที่ผ่านมา กรณีมีคำสั่งงดการจัดกิจกรรมที่มีการรวมตัวของบุคคลมากกว่าที่กำหนด ทางผู้จัดจะดำเนินการให้คณะกรรมการพิจารณาผลงานตัดสินจากคลิปวิดีโอและเอกสารที่ส่งเข้าประกวด ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการพิจารณาผลงานการประกวด และคณะกรรมการตัดสินการประกวดถือเป็นที่สิ้นสุด

เกณฑ์การพิจารณาผลงาน (KM YRU FORUM 2019) ดังนี้

ลำดับที่
เกณฑ์การให้คะแนน
คะแนน
1
กระบวนการนำเสนอและความสมบูรณ์ของรายละเอียดการนำเสนอ
5
2
กระบวนการหรือวิธีการในการพัฒนานวัตกรรม
15
3
ผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมของนวัตกรรม
15
4
แนวปฏิบัติที่ดีหรือโอกาสพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติที่ดี
15

         คณะกรรมการพิจารณาผลงานตาม คำสั่งมรย. ที่ 1981/2563
          
         สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มและคำสั่งคณะกรรมการดำเนินงาน คณะกรรมการพิจารณาผลงาน  ได้ที่เว็บไซต์สำนักงานประกันคุณภาพ

         ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานประกันคุณภาพ เบอร์โทรศัพท์ภายใน 17001



มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยง มรย. ปีงบประมาณ 2563

     วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 สำนักงานประกันคุณภาพ  จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ครั้งที่ 1/2563ณ ห้องสุ่ย เจีย ชั้น 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ ตามคำสั่ง มรย.ที่ 7252/2562 แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา การประชุมในครั้งนี้มีการรายงานผลการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยประจำปีงบประมาณ 2562 และส่วนราชการทัี้ง 7 ส่วนราชการ ดังนี้

    ระดับมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา การบริหารความเสี่ยงในปีงบประมาณ 2562 ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาได้มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงตามกระบวนการบริหารความเสี่ยง ทั้งนี้ได้แบ่งประเภทความเสี่ยงในระดับมหาวิทยาลัยเป็นด้าน ๆ คือ 1. ด้านการผลิตบัณฑิต ได้แก่ 1.1 จำนวนนักศึกษาเข้าใหม่ลดลง ไม่เป็นไปตามแผนรับ 1.2 คุณภาพบัณฑิตอาจไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมในอนาคต 1.3 หลักสูตรที่มีจำนวนนักศึกษาน้อย 1.4 การบริหารจัดการหลักสูตร 1.5 คุณสมบัติอาจารย์ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ 2. ด้านการวิจัย ได้แก่ 2.1 โครงการวิจัยที่ได้รับงบประมาณอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดินและแหล่งทุนภายนอกจำนวนลดลง 3. ด้านบริการวิชาการ ได้แก่ ไม่มีงบประมาณในการให้บริการทางวิชาการ 4. ด้านศิลปวัฒนธรรม ฐานข้อมูลศิลปวัฒนธรรม องค์ความรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 5. ด้านการบริหารองค์กร 5.1 บุคลากรสายสนับสนุน ยังขาดความเป็นมืออาชีพ ส่งผลต่อการสนับสนุนการพัฒนามหาวิทยาลัยไปสู่องค์กรคุณภาพ 5.2 รายได้อาจไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในการบริหารในอนาคต 6. ด้านคุณธรรมและความโปร่งใส 6.1 การประเมินโอกาสการเกิดทุจริตคอรัปชั่นการรับสินบน ทั้งนี้มหาวิทยาลัยได้รายงานผลการดำเนินงานผลการบริหารความเสี่ยงแต่ละประเภทความเสี่ยง ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 โดยมีข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประเมินดังนี้ มหาวิทยาลัยควรระบุประเด็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกที่องค์กรไม่สามารถควบคุมได้เช่น อิทธิพลของ Disruptive Technology ที่ส่งผลให้มหาวิทยาลัยจะต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนรู้ การบริหารจัดการองค์กร เพื่อลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ รวมทั้งการผลิตบัณฑิตพันธ์ใหม่ที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 หรือ Thailand 4.0 หรือประเด็นการเกิดกระทรวงใหม่ “การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม : อว” ส่งผลให้เกณฑ์การจัดสรรงบประมาณเปลี่ยนแปลงลดลง หรือ จำนวนรับนักศึกษาใหม่ได้ต่ำกว่าเป้าตามแผนที่กำหนด เป็นต้น

      คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร ผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาคณะวิทยาศาสตร์ฯ มีการกำหนดกิจกรรมควบคุมความเสี่ยง 4 ประเด็น ดังนี้ 1. นักศึกษาน้อยไม่ตรงกับแผนรับนักศึกษา 2. ภาระงานสอนอาจารย์ไม่ครบในบางหลักสูตร 3. อาจารย์มีงานบริการมากเกินไปจนไม่มีเวลาเตรียมสอนให้เต็มประสิทธิภาพ และ 4 นักศึกษาทำงานไม่ตรงกับศาสตร์ที่จบ โดยมีวิธีจัดการความเสี่ยงทั้ง 4 ประเด็นคือการควบคุม โดยมีข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการ การบริหารความเสี่ยง ควรใช้แผนกลยุทธ์เป็นตัวตั้ง แล้ววิเคราะห์ว่าการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นไปตามเป้าประสงค์ในแผนกลยุทธ์ มีโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงอะไรบ้าง ที่อาจทำให้ไม่บรรลุเป้าประสงค์และวิสัยทัศน์ของคณะ
คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตรที่มีปัญหาเด็กลดลง มาตรการในการแก้ปัญหาของบางสาขา มีมาตรการแก้ไขนำนักเรียนที่มาสมัครเขามาชมห้องปฏิบัติการโดยตรงซึ่งให้เห็นชัดเจนเลยว่าจะต้องเรียนอะไรบ้าง ในการประกอบอาชีพในอนาคต โดยเฉพาะหลักสูตรวิทยาการธุรกิจสุขภาพ ในปีแรกมีนักศึกษา 8 คน ปีที่ 2 ได้นำนักศึกษาไปดูห้องปฏิบัติการมีอะไรบ้างที่จะต้องเรียน และปฏิบัติจริง พอหลังจากเรียนจบแล้ว สามารถประกอบอาชีพอะไรบ้าง ให้เห็นชัดเจนในระหว่างเรียน สามารถแก้ปัญหานักศึกษามาสมัครเรียนเพิ่มขึ้นจนปีที่ 3 นักศึกษาล้น ซึ่งมาตรการดังกล่าวสามารถแก้ปัญหาได้มาก
ประธานที่ประชุมกล่าวชื่นชมเป็นตัวอย่างที่ดีของการปรับตัวการประชาสัมพันธ์หลักสูตรให้เด็กสนใจมีความเชื่อมั่นอยากจะเรียน ทั้งนี้นอกจากการปรับปรุงหลักสูตรการพัฒนาหลักสูตรใหม่ที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน สามารถเขียนในมาตรการการควบคุมที่ทำให้ความเสี่ยงลดลงเพื่อเป็นโมเดลให้กับหลักสูตรอื่น ๆ
     คณะวิทยาการจัดการ การบริหารความเสี่ยงของคณะในปีที่ผ่านมา มีความเสี่ยงแยกตามประเด็นยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ได้แก่ 1. จำนวนนักศึกษาที่รับเข้าไม่เป็นไปตามเป้าหมาย 2. สัดส่วนอาจารย์/นักศึกษาเกินเกณฑ์มาตรฐาน 3. ศักยภาพด้านภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียนของนักศึกษามีน้อย ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 3 ได้แก่ 1. ขาดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานด้านวิจัย
2. จำนวนอาจารย์ยังมีน้อยที่ได้รับงบประมาณทุนวิจัยระดับชาติ ซึ่งเป็นทุนวิจัยใหญ่ หรือทุนวิจัยนอกจากแหล่งภายนอก 3. ระบบและกลไกการบริหารงานบริการวิชาการ ยุทธศาสตร์ที่ 4 ได้แก่ 1. การใช้งบประมาณไม่เป็นไปตามแผนงบประมาณกำหนด 2. บุคลากรไม่มีความปลอดภัยต่อชีวติและทรัพย์สิน 3. ลิฟต์ค้างในขณะที่มีผู้โดยสารติดอยู่ข้างใน 4. ผู้คนและทรัพย์สินได้รับผลกระทบกรณีเกิดเพลิงไหม้อาคารในขณะที่มีคนอยู่ 5. ผู้คนและทรัพย์สินได้รับผลกระทบกรณีตึกได้รับความเสียหายจากลม พายุ และ 6. ผู้ปฏิบัติงานบุคลากรสายสนับสนุนทำงานผิดพลาดเนื่องจากไม่ทราบระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของจนเอง โดยมีแนวทางการป้องกัน/แก้ไขความเสี่ยงและกำหนดผู้รับผิดชอบ ทั้งนี้มีการดำเนินการแล้ว 10 เรื่อง และรอการดำเนินการในปีงบประมาณ 2563 จำนวน 2 เรื่อง
    คณะครุศาสตร์ ที่ผ่านมา มีประเด็นเรื่องการบริหารหลักสูตรไม่เป็นไปตมเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนดโดย สกอ. การศึกษาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา และมหาวิทยาลัยไม่มีงบประมาณด้านการบริการวิชาการแก่สังคมให้กับคณะ ทั้งนี้ในปี 2563 กำลังดำเนินการแต่ประเด็นหลัก คือ เรื่องหอพักนักศึกษา โดยมีข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการ ดังนี้ ควรวิเคราะห์ความเสี่ยงตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์
    คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในปีงบประมาณ 2562 มีความเสี่ยงตามประเด็นยุทธศาสตร์ ดังนี้ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ 1) การรับนักศึกษาไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนดโดย สกอ.การศึกษาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา 2. ตำแหน่งวิชาการของอาจารย์มีน้อย ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ 1) การนำผลการวิจัยบูรณาการกับบริการวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น 2) การขอทุนวิจัยและบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอกน้อย 3) การตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยยังมีน้อย ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 ความเสี่ยงด้านกุลยุทธ์ 1) หลักสูตรได้รับคะแนนต่ำกว่า 3.01ผลการดำเนินงานได้มีแนวทางการควบคุมจัดการความเสี่ยง และมีกิจกรรมควบคุม และกำหนดระยะเวลาดำเนินการและผู้รับผิดชอบในแต่ละประเด็นความเสี่ยง โดยมีข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประเมิน คือ ควรทบทวนแผนบริหารความเสี่ยงในแต่ละยุทธศาสตร์ว่าเป็นความเสี่ยงหรือปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งคณะจะต้องดำเนินการทบทวนเพื่อให้การบริหารความเสี่ยงในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

     สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ในปีงบประมาณ 2562 สำนักวิทยบริการฯ มีความเสี่ยง ดังนี้ 1. สัญญาณอินเทอร์เน็ต Uninet/WIFI อาจขัดข้อง 2. นักศึกษาสอบอัตลักษณ์ไอทีผ่านไม่ถึงร้อยละ 30 3. โครงการบริการวิชาการเพื่อจัดหารายได้อาจจะขาดทุน 4. การพัฒนาระบบ ERP อาจไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด และระบบฐานข้อมูลเสียหาย 5. คอมพิวเตอร์เสียหายและอุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหาย เป็นต้น ทั้งนี้ได้มีแนวทางการควบคุมจัดการความเสี่ยง และมีกิจกรรมควบคุม กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการ และผู้รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาความเสี่ยงทั้งนี้จากผลการประเมินของคณะกรรมการสำนักวิทยบริการฯ มีจุดแข็ง สำนักวิทยบริการฯ มีระบบบริหารความเสี่ยงครอบคลุมประเด็นกับแผนความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย แนวทางเสริมจุดแข็ง ควรมีการติดตามและประเมินผลการจัดการความเสี่ยงและการใช้นวัตกรรม ปีละ 2 ครั้ง เพื่อทำผลการประเมินมาปรับปรุง การจัดการความเสี่ยงและการใช้นวัตกรรมและควรนำปัจจัยเสี่ยงสูงหรือสามารถเกิดขึ้นได้บ่อยมาวิเคราะห์และกำหนดแนวทางแก้ไขและปฏิบัติได้จริง

    สถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ ในปีงบประมาณ 2562 ดังนี้ 1. ความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์สำนักงานและห้องประชุม 2. การลาออกของบุคลากรทำให้การพัฒนางานขาดความต่อเนื่อง 3. ศูนย์วิทยาศาสตร์ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณด้านการบริหารจัดการ 4. เครื่องมือได้รับความเสียหายจากความเสื่อมโทรมของอาคาร 5. ได้รับการจัดสรรงบประมาณวิจัยน้อยลง 6. การจัดกิจกรรมภายนอกโครงการและงานมอบหมายโดยมหาวิทยาลัย จากผลการดำเนินงานบรรลุ 3 เรื่องและไม่บรรลุ 3 เรื่อง โดยมีข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการ ที่เป็นจุดแข็ง คือ มีการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน แนวทางเสริมจุดแข็ง ควรเพิ่มกิจกรรมการบริหารความเสี่ยงให้ครอบคลุมทุกภารกิจของหน่วยงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการลดความเสี่ยง

สำนักงานอธิการบดี ในปีงบประมาณ 2562 ดังนี้ 1. มีโอกาสเกิดเหตุความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของบุคลากรและของทางราชการ - ลิฟต์ค้าง/ลิฟต์เสีย 2. เกิดข้อผิดพลาดในการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ 3. การจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง ไม่เป็นไปตามแผน 4. การดำเนินงานระเบียบ ข้อบังคับ ไม่เอื้อต่อ การปฏิบัติงาน และผู้ปฏิบัติงานเกิดความสับสนเกี่ยวกับกฎระเบียบ ที่ปรับปรุงใหม่ 6. งบประมาณไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน 7. การเบิกจ่ายงบประมาณ ไม่เป็นไปตามแผน 8. การจัดทำวาระและเอกสารประกอบ การประชุมล่าช้า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอข้อมูลในการประชุมไม่ทราบวันประชุมที่แน่นอน โดยมีข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการ ดังนี้ ควรจัดทำแผนความเสี่ยงที่ครอบคลุมพันธกิจของหน่วยงาน ควรนำผลการติดตามความเสี่ยงมาวิเคราะห์ เพื่อกำหนดกิจกรรมและแนวทางแก้ไขที่สามารถลดปัจจัยเสี่ยงได้เพิ่มขึ้น

   การติดตามและรายงานความก้าวหน้าการบริหารความเสี่ยงของหน่วยงานปีงบประมาณ 2563
    คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร อยู่ในช่วงของการดำเนินจะจัดประชุมเพื่อทบทวนการบริหารความเสี่ยงในปีที่ผ่านมาเพื่อพิจารณาประเด็นความเสี่ยงที่สามารถควบคุมและแก้ไขความเสี่ยงได้และความเสี่ยงที่มีเพิ่มเติมของหน่วยงานทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับมหาวิทยาลัยจะมีการเริ่มต้นทำไปพร้อม ๆ กับมหาวิทยาลัยทั้งนี้ประธานที่ประชุมได้มอบหมายให้คณะไปจัดประชุมย่อยดูประเด็นความเสี่ยงของคณะมีความเสี่ยงเพิ่มเติมหรือไม่ มีความสอดคล้องกับมหาวิทยาลัยประเด็นไหนบ้าง ที่จะมหาวิทยาลัยดำเนินการหรือถ่ายโอนให้แจ้งผู้รับผิดชอบในระดับมหาวิทยาลัย

     คณะวิทยาการจัดการ รองคณะบดีได้รายงานความก้าวหน้าของการบริหารความเสี่ยง
ที่ผ่านมามีความคล้ายกับความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยที่แตกต่างคือคณะได้จัดทำกรณีการเกิดวาตภัยและอัคคีภัย ได้บรรจุอยู่ในแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เมื่อปีที่ผ่านมาได้มีการจัดการอบรมการระงับเหตุโดยใช้ถังดับเพลิงหรือสายฉีดน้ำในอาคารให้เป็นไปตามกฎหมาย ปีนี้ขยับทำแผนอพยพ ได้ติดต่อศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมาเป็นพี่เลี้ยงและเป็นวิทยากร เพื่อจัดทำแผนอพยพและซักซ้อมแผนการอพยพ ทั้งนี้ได้กำหนดการจัดทำแผนช่วงเดือนมีนาคม และการซักซ้อมแผนช่วงเดือนเมษายน 2563 นี้