วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2565

รายงานสรุปผลการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

วันนี้ ( 20 กันยายน 2565และวันที่ 27 กันยายน) สำนักงานประกันคุณภาพจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ครั้งที่  3/ 2565 และครั้งที่ 4/2565 ประชุมผ่านระบบออนไลน์ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย  นามบุรี ประธานกรรมการ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นประธานการประชุม และคณะกรรมการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เข้าร่วมประชุม การพิจารณารายงานสรุปผลการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการฯ เพื่อดำเนินงานและจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยในปีถัดไป สำหรับสรุปผลการบริหารความเสี่ยงฯ ทั้ง 10 ประเด็นดังนี้



                ประเด็นความเสี่ยงที่ประเมินมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
                        1. จำนวนนักศึกษาใหม่ลดลงและไม่เป็นไปตามแผนรับ
                        2. ข้อผิดพลาดจากการควบคุมภายในที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ
                ประเด็นความเสี่ยงที่ประเมินมีความเสี่ยงลดลง
                        1. บัณฑิตไม่เป็นที่ยอมรับของตลาด แรงงานในอนาคต
                        2. งบประมาณของมหาวิทยาลัยอาจมีไม่เพียงพอต่อการบริหารในอนาคต
                        3. การเสียโอกาสจากการปรับเปลี่ยนให้เป็นองค์กรดิจิทัล (Digital Trans-formation) ในการพัฒนามหาวิทยาลัย
                        4. มหาวิทยาลัยได้รับจัดสรรทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอกไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
                        5. ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
                        6. การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากร ภายในมหาวิทยาลัย
                        7. ความไม่ปลอดภัยด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบไฟฟ้า อาคารสถานที่และทรัพย์สินของทางราชการ
                        8. การเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนและเกิดการทุจริตในองค์กร



                 ประเด็นความเสี่ยงที่ต้องนำไปบริหารความเสี่ยงในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

1. จำนวนนักศึกษาใหม่ลดลงและไม่เป็นไปตามแผนรับ
                        2. บัณฑิตไม่เป็นที่ยอมรับของตลาด แรงงานในอนาคต (ปรับปัจจัยเสี่ยงและการประเมินโอกาสเป็นร้อยละภาวะการมีงานทำของบัณฑิตที่ตรงสาย และนำปัจจัยเสี่ยงด้านบัณฑิตต้องเพิ่มทักษะด้านภาษาอังกฤษที่มีค่าร้อยละต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานมากต้องมีการกำหนดเป็นประเด็นความเสี่ยง ในปีงบประมาณ พ.ศ 2566 ต่อไป)
                        3. งบประมาณของมหาวิทยาลัยอาจมีไม่เพียงพอต่อการบริหารในอนาคต เนื่องจากความไม่แน่นอนในการจัดสรรทุนวิจัยภายนอก
4. การเสียโอกาสจากการปรับเปลี่ยนให้เป็นองค์กรดิจิทัล (Digital Trans-formation) ในการพัฒนามหาวิทยาลัยเนื่องจากเป็นประเด็นความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
                        5. มหาวิทยาลัยได้รับจัดสรรทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอกไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
                        6. ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง


รายงานสรุปผลการบริหารความเสี่ยงประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ดาวน์โหลด)

มอบโล่รางวัลและเกียรติบัตรผลงานที่ได้รับรางวัลจากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการจัดการความรู้ (KM YRU Forum 2022)

วันนี้ (13 กันยายน 2565) ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัยฯ ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญสิทธิ์ ไชยชนะ รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นเกียรติมอบรางวัลแก่ผู้ที่ชนะการประกวดกิจกรรมการจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (KM YRU Forum 2022) 

             ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาโดยคณะกรรมการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยขับเคลื่อนการจัดการความรู้ (KM) ดำเนินการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (KM YRU Forum 2022) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การสร้างคลังความรู้ ที่ตกผลึกจากบุคลากรที่มีองค์ความรู้เฉพาะด้านของมหาวิทยาลัยในส่วนของการนำเสนอผลงานเข้าร่วมประกวดของตัวแทนจากหน่วยงานทั้ง 7 ส่วนราชการ ในมหาวิทยาลัย ร่วมส่งผลงานเข้าร่วมประกวดผลงานการจัดการความรู้ในแต่ละประเด็นรวมทั้งสิ้น 35 หัวข้อ ดังนี้
  ประเภทแนวปฏิบัติที่ดี มีผลงานเข้าร่วมประกวด จำนวน 20 หัวข้อ 
        ประเภทนวัตกรรม
          ประเด็นที่ 1 การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  จำนวน 6 หัวข้อ
          ประเด็นที่ 2 การบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น จำนวน 2 หัวข้อ
          ประเด็นที่ 3 การบริการวิชาการเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 3 หัวข้อ
        ประเด็นที่ 4 การบริหารจัดการสู่องค์กรวิถีใหม่ (New Normal) หรือวิถีถัดไป (Next Normal)   จำนวน 4 หัวข้อ


           ในการนี้ คณะกรรมการพิจารณาและตัดสินผลงานที่เข้าร่วมประกวดการจัดเวทีแลกเปลี่ยนรู้จากการจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (KM YRU Forum 2022) ตามคำสั่ง มรย. ที่ 2841/2565 ได้พิจารณาผลงานเรียบร้อยแล้ว จึงขอประกาศผลงานที่ได้รับรางวัล ดังรายละเอียด ดังนี้
                ประเภทแนวปฏิบัติที่ดี
                รางวัลชนะเลิศ หัวข้อ “บริการวิชาการสร้างยอดขาย 150,000 มาโดยไม่มีงบ... การพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นของกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าบ้านลิมุด” โดย 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปวีณา เจะอารง 2. อาจารย์ ดร.กัลยรัตน์ พินิจจันทร์ 3. อาจารย์ธีรยุทธ มูเล็ง 4. อาจารย์อับดุลเราะห์มาน สาและ 5. อาจารย์อุษณีย์ พรหมศรียา
                 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 หัวข้อ “การส่งเสริมผลงานวิจัยสู่การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา” โดย 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิภาภัทร์  กุณฑล 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มูนีเร๊าะ ผดุง 3. อาจารย์ลิขิต ลาเต๊ะ 4. นางสาวศศิธร วิโนทัย
                  รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 หัวข้อ “การผลิตสื่อการสอนออนไลน์ด้วยมือถือ ในการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) โดยใช้ YRU e-Learning เป็นฐาน” โดย ๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิภาภัทร์  กุณฑล ๒. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อีลีหย๊ะ  สนิโซ ๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อิสมาแอ 
ล่าเตะเกะ ๔. อาจารย์ ดร.ปิยะรักษ์  ประดับเพชรรัตน์ ๕. อาจารย์อิมรอน  แวมง
                  ประเภทนวัตกรรม
                  ประเด็นที่ 1 การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
                 รางวัลชนะเลิศ หัวข้อ “เรียนสนุก วิจัยสำเร็จแบบปังปุรีเย่” โดย อาจารย์ ดร.ละออ มามะ
                 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 หัวข้อ “กระบวนการพัฒนานักศึกษาสู่การนำเสนองานวิจัยในเวทีประชุมวิชาการระดับชาติ” โดย 1. อาจารย์วิไลวรรณ วิไลรัตน์ 2. อาจารย์สรียา หมัดอาด้ำ
                 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 หัวข้อ “การบูรณาการรายวิชาเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและลดภาระงานของนักศึกษา” โดย 1. อาจารย์นินุสรา มินทราศักดิ์ 2. อาจารย์สุไลมาน หะโมะ 3. อาจารย์คมวิทย์ สุขเสนีย์ 4. อาจารย์นาเดีย ปายอ 5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันฮารงค์ บินอิสริส
                 ประเด็นที่ 2 การบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
                 รางวัลชนะเลิศ หัวข้อ “Together Model" : รูปแบบการดำเนินงานการวิจัยด้านชุมชนและท้องถิ่น” โดยอาจารย์ ดร.ยุทธนา กาเด็ม
                 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 หัวข้อ “นวัตกรรมกระบวนการสนทนากลุ่ม...ท่ามกลางวิถีปกติใหม่” โดย 1. รองศาสตราจารย์อัปสร อีซอ 2. อาจารย์อุษณีย์ พรหมศรียา 3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณฏฐาระวี พงค์กระพันธุ์ 4. อาจารย์ ดร.วิโรจน์ ไพบูลย์เวชสวัสดิ์
                 ประเด็นที่ 3 การบริการวิชาการเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจังหวัดชายแดนภาคใต้
                 รางวัลชนะเลิศ หัวข้อ “นวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่น” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชินีเพ็ญ มะลิสุวรรณ
                 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 หัวข้อ “กุญแจแห่งความสำเร็จของงานบริการวิชาการ โดยใช้เครื่องมือ : Design thinking” โดย 1. นางสาวพาตีเมาะ อาแยกาจิ 2. นายมูฮำหมัดตายุดิน บาฮะคีรี 3. นายซูไบดี โตะโมะ 4. นางสาวนัสรี มะแน
                 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 หัวข้อ “ระบบการฝึกอบรมผ่านระบบคลาวด์ เพื่อเสริมสร้างทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูโรงเรียนเทศบาล สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดยะลา” โดย 1. อาจารย์ ดร.พิชญ์สินี ไสยสิทธิ์
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ปวีณ์ สุวรรณโณ 3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญสิทธิ์  ไชยชนะ
                 ประเด็นที่ 4 การบริหารจัดการสู่องค์กรวิถีใหม่ (New Normal) หรือวิถีถัดไป (Next Normal)
                 รางวัลชนะเลิศ หัวข้อ “การประมวลผลข้อมูลสินทรัพย์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจด้วยโปรแกรมธุรกิจอัจฉริยะ (ต้นแบบ) Information Processing for Decision Support system (iPDS-ITAM Prototype)” โดย นายมูฮามะ มะสง
                 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 หัวข้อ “ระบบการให้คะแนนและรายงานผลคะแนน การจัดกิจกรรม KM YRU Forum” โดย นายมะรอเซะ ลาเม็ง








มหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการจัดการความรู้ (KM YRU Forum 2022)



มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดเวทีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการจัดการความรู้ (KM YRU Forum 2022) ในวันที่ 28 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00-16.00 น. ณ คณะวิทยาการจัดการ  เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้จากการจัดการความรู้ และผลงานนวัตกรรม ภายใต้กรอบประเด็นทั้ง 4 ประเด็น ดังนี้ประเด็นที่ 1  การผลิตบัณฑิตในศตวรรษที่ 21  ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่ง การจัดการเรียนรู้ในระบบออนไลน์เพื่อยกระดับการผลิตบัณฑิตท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 สหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative and Work Integrated Education: CWIE) การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning  หรือเทคนิค/กลยุทธ์/รูปแบบการจัดการเรียนรู้ สื่อและกระบวนการสร้างนวัตกรรมการศึกษา และอื่น ๆ ที่เสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ให้แก่ผู้เรียน เป็นต้น)   
                     ประเด็นที่ 2  การบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ไม่ใช่ผลจากงานวิจัยแต่เป็นกระบวนการการบริหารจัดการงานวิจัย เช่น การพัฒนาโจทย์วิจัยเพื่อให้ได้ทุนทั้งภายในและภายนอกการเผยแพร่ผลงานวิจัย (ฐาน TCI/SCOPUS) การส่งเสริมผลงานวิจัยสู่การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงสังคมและเชิงพาณิชย์ และการบูรณาการวิจัยกับการผลิตบัณฑิต เป็นต้น
                    ประเด็นที่ 3  การบริการวิชาการเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจังหวัดชายแดนภาคใต้ กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้หรือนวัตกรรมรวมถึงการนำคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมเพื่อยกระดับคุณภาพให้แก่ชุมชนท้องถิ่น และการบูรณาการบริการวิชาการกับการผลิตบัณฑิต เป็นต้น
                    ประเด็นที่ 4  การบริหารจัดการสู่องค์กรวิถีใหม่ (New Normal) หรือวิถีถัดไป (Next Normal) รูปแบบ วิธีการหรือขั้นตอน ที่นำมาประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน เพื่อการบริหาร การจัดการ การปฏิบัติงาน และการให้บริการที่มีประสิทธิผลโดยใช้เทคโนโลยี ระบบดิจิทัล แพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อรองรับสถานการณ์โควิด-19 และสถานการณ์วิกฤติอื่น ๆ
                      การจัดเวที KM YRU Forum เป็นกลไกหนึ่งในการสนับสนุนการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) และส่งเสริมให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ (Learner Person) ซึ่งเวที KM YRU Forum ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.ศิริชัย  นามบุรี  รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในพิธีเปิด และให้โอวาทมอบนโยบายการส่งเสริมให้บุคลากรของมหาวิทยาลัย สร้างสรรค์องค์ความรู้ที่เป็นแนวปฏิบัติและนวัตกรรมที่ส่งผลต่อคุณภาพตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยให้ก้าวทันโลกของการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน


                         การจัดกิจกรรมหลังพิธีเปิด มีการจัดกิจกรรม YRU TED Talks ภายใต้หัวข้อ “อนาคตมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา: มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นชายแดนใต้”

                         1. ตัวแทนผู้บริหารมหาวิทยาลัย อาจารย์ ดร.ศิริชัย  นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหารนำเสนอหัวข้อ “Disruptive Technolog: education and Learnig Platform”
                         2. คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดร.ลิลลา อดุลยศาสน์ นำเสนอหัวข้อ “English Skills กับอาจารย์และบัณฑิตยุคใหม่
                         3. คณะวิทยาการจัดการ อาจารย์อมรเทพ มณีเนียม นำเสนอหัวข้อ  “Metaverse โลกเสมือนกับการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในยุคดิจิทัล” 
                         4. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พอหทัย  ซุ่นสั้น นำเสนอหัวข้อ "การออกแบบลายผ้ามัดย้อมและพัฒนาแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก เพื่อสร้างอัตลักษณ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส" 
                         5. คณะครุศาสตร์  อาจารย์ ดร.นัชชิมา บาเกาะ นำเสนอหัวข้อ Empathy Based Teaching Method การสอนบนพื้นฐานความเข้าใจในสังคมพหุวัฒนธรรม”



                         การจัดกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการจัดการความรู้ นำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการจัดการความรู้ ห้องประกวดผลงานแนวปฏิบัติที่ดี  ห้องประชุมนังกา ห้องประกวดนวัตกรรม ประเด็นที่ 1 การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ห้องฉายภาพยนตร์เพื่อการศึกษา  ห้องประกวดนวัตกรรม ประเด็นที่ 2 การบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ห้องประชุมมังกิส  ห้องประกวดนวัตกรรม ประเด็นที่ 3 การบริการวิชาการเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจังหวัดชายแดนภาคใต้ ห้องประชุมหลิวเหลียน  ห้องประกวดนวัตกรรม ประเด็นที่ 4 การบริหารจัดการสู่องค์กรวิถีใหม่ (New Normal) หรือวิถีถัดไป (Next Normal) ห้องประชุมหยางถาว 




                          กำหนดการจัดกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการจัดการความรู้ (KM YRU Forum 2022 (ดาวน์โหลด)
                          ผลงานเข้าร่วมประกวดในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จารการจัดการความรู้ (ดาวน์โหลด)
                          ภาพกิจกรรม KM YRU Forum 2022 (ดาวน์โหลด)