วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2565

รายงานสรุปผลการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

วันนี้ ( 20 กันยายน 2565และวันที่ 27 กันยายน) สำนักงานประกันคุณภาพจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ครั้งที่  3/ 2565 และครั้งที่ 4/2565 ประชุมผ่านระบบออนไลน์ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย  นามบุรี ประธานกรรมการ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นประธานการประชุม และคณะกรรมการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เข้าร่วมประชุม การพิจารณารายงานสรุปผลการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการฯ เพื่อดำเนินงานและจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยในปีถัดไป สำหรับสรุปผลการบริหารความเสี่ยงฯ ทั้ง 10 ประเด็นดังนี้



                ประเด็นความเสี่ยงที่ประเมินมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
                        1. จำนวนนักศึกษาใหม่ลดลงและไม่เป็นไปตามแผนรับ
                        2. ข้อผิดพลาดจากการควบคุมภายในที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ
                ประเด็นความเสี่ยงที่ประเมินมีความเสี่ยงลดลง
                        1. บัณฑิตไม่เป็นที่ยอมรับของตลาด แรงงานในอนาคต
                        2. งบประมาณของมหาวิทยาลัยอาจมีไม่เพียงพอต่อการบริหารในอนาคต
                        3. การเสียโอกาสจากการปรับเปลี่ยนให้เป็นองค์กรดิจิทัล (Digital Trans-formation) ในการพัฒนามหาวิทยาลัย
                        4. มหาวิทยาลัยได้รับจัดสรรทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอกไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
                        5. ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
                        6. การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากร ภายในมหาวิทยาลัย
                        7. ความไม่ปลอดภัยด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบไฟฟ้า อาคารสถานที่และทรัพย์สินของทางราชการ
                        8. การเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนและเกิดการทุจริตในองค์กร



                 ประเด็นความเสี่ยงที่ต้องนำไปบริหารความเสี่ยงในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

1. จำนวนนักศึกษาใหม่ลดลงและไม่เป็นไปตามแผนรับ
                        2. บัณฑิตไม่เป็นที่ยอมรับของตลาด แรงงานในอนาคต (ปรับปัจจัยเสี่ยงและการประเมินโอกาสเป็นร้อยละภาวะการมีงานทำของบัณฑิตที่ตรงสาย และนำปัจจัยเสี่ยงด้านบัณฑิตต้องเพิ่มทักษะด้านภาษาอังกฤษที่มีค่าร้อยละต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานมากต้องมีการกำหนดเป็นประเด็นความเสี่ยง ในปีงบประมาณ พ.ศ 2566 ต่อไป)
                        3. งบประมาณของมหาวิทยาลัยอาจมีไม่เพียงพอต่อการบริหารในอนาคต เนื่องจากความไม่แน่นอนในการจัดสรรทุนวิจัยภายนอก
4. การเสียโอกาสจากการปรับเปลี่ยนให้เป็นองค์กรดิจิทัล (Digital Trans-formation) ในการพัฒนามหาวิทยาลัยเนื่องจากเป็นประเด็นความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
                        5. มหาวิทยาลัยได้รับจัดสรรทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอกไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
                        6. ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง


รายงานสรุปผลการบริหารความเสี่ยงประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ดาวน์โหลด)