วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประสบการณ์ศึกษาดูงานด้านนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

     การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นับเป็นสิ่งจำเป็นและถือว่าสำคัญที่สุดในการพัฒนาองค์กร โดยกิจกรรมศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานอื่นๆ ที่มีบริบทองค์กรคล้ายคลึงกันจึงเป็นเสมือนการเทียบวัด (Benchmarking) ความก้าวหน้าขององค์กร ในการพัฒนาสู่องค์กรคุณภาพ และทำให้เราสามารถประเมินสถานภาพขององค์กรเราได้ว่ามีสภาพขณะนี้เป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับหน่วยงานอื่น
เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา บุคลากรสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ซึ่งประกอบด้วยบุคลากรจากกองนโยบายและแผน กองกลาง (งานพัสดุ งานการคลัง) และคณะผู้บริหาร รวม 22 ท่าน มีโอกาสเดินทางไปศึกษาดูงานและจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้บริหารและบุคลากร สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ซึ่งน่าจะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ มีนักศึกษา 20,000-30,000 คน  การศึกษาดูงานครั้งนี้ นับเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง จากประสบการณ์การแลกเปลี่ยนกระบวนการบริหารและการปฏิบัติงานในส่วนของแผนและนโยบาย มีประเด็นข้อคิดสำคัญๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีจากกิจกรรมครั้งนี้หลายประการ ได้แก่
  • การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร ผู้บริหารทุกระดับ บุคลากรทุกคนในองค์กร จะต้องรับรู้รับทราบ รู้ทิศทางการพัฒนาองค์กรสู่วิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ร่วมกัน ดังนั้น แผนยุทธศาสตร์องค์กร นับเป็นเครื่องมือและกลไกไปสู่ความสำเร็จ ปัญหาสำคัญได้แก่ กระบวนการประเมินความสำเร็จของแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งคล้ายๆ กับองค์กรภาครัฐหลายแห่ง
   สำหรับประเด็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นคล้ายๆ กันในองค์กร เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านแผน นโยบาย และงบประมาณ ได้แก่
  • ขาดสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจ เนื่องจากกองนโยบายและแผน จำเป็นต้องใช้ข้อมูลและสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจ แต่มหาวิทยาลัยฯ ยังขาดสารสนเทศที่สมบูรณ์ในทุกมิติ ทั้งในด้านบุคลากร นักศึกษา งบประมาณ โครงการ/กิจกรรม ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา 
  • ขาดแผนยุทธศาสตร์เฉพาะด้าน  มหาวิทยาลัยฯ ยังขาดการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เฉพาะด้านให้สมบูรณ์ ได้แก่ แผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แผนยุทธศาสตร์การเงินและรายได้ แผนจัดการความเสี่ยง แผนพัฒนานักศึกษา และที่สำคัญคือ การนำแผนยุทธศาสตร์เหล่านี้ไปสู่การปฏิบัติ การติดตามผล และการรายงานผล
  • ผู้บริหารและบุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจ  ด้วยการเผยแพร่แผนยุทธศาสตร์ที่ยังเข้าไม่ถึงทุกภาคส่วนในองค์กร ทำให้ผู้บริหาร บุคลากร นักศึกษา ยังไม่เข้าใจ หรือขาดความสนใจในการนำแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติจริง 
  • การพัฒนาโครงการที่มีคุณภาพ  เนื่องจากปัจจุบันการเสนอของบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 เน้นการเสนอโครงการบูรณาการตามแผนยุทธศาสตร์ 28 แผนงาน ดังนั้น จำเป็นต้องพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ ที่เน้นการบูรณาการใน 3 มิติ คือ เชิงพื้นที่ (Area Based) เชิงภารกิจตามยุทธศาสตร์ที่รัฐกำหนด (Agenda) และเชิงฟังก์ชั่น (Function) ที่ต้องระบุกลุ่มเป้าหมาย ผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบให้ชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อนกับการดำเนินงานของหน่วยงานอื่น
  • ความร่วมมือจากหน่วยงานภายใน  การดำเนินงานของกองนโยบายและแผน จำเป็นต้องดำเนินงานตามนโยบายหรือการสั่งการของสำนักงบประมาณ หรือโดยรัฐบาล ซึ่งมักจำเป็นต้องใช้ข้อมูลและสารสนเทศที่หลากหลายรูแบบ ส่วนใหญ่มักเป็นการร้องขอข้อมูลและสารสนเทศแบบเร่งด่วน ทำให้หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยฯ ไม่สามารถส่งหรือรวบรวมข้อมูลและสารสนเทศให้กองนโยบายและแผนได้ทัน จึงจำเป็นต้องสร้างเครือข่าย การลดขั้นตอนการได้มาซึ่งข้อมูลและสารสนเทศ


วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ใช้งานแม่แบบสำเร็จรูปสำหรับส่งอีเมล

ต่อเนื่องจาก http://km.yru.ac.th/2016/10/blog-post.html ซึ่งเป็นการสร้างแม่แบบสำเร็จรูปสำหรับส่งอีเมล โดยในที่นี้กล่าวถึงเรื่องใช้งานแม่แบบสำเร็จรูปสำหรับส่งอีเมล ซึ่งหลักจากที่ได้ทำการสร้างแม่แบบสำเร็จรูป ก็จะเป็นขั้นตอนการใช้งานแม่แบบสำเร็จรูป โดยการใช้งานมีขึ้นตอนดังนี้

1. สร้างข้อความใหม่ขึ้นมา




วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559

สร้างแม่แบบสำเร็จรูปสำหรับส่งอีเมล

การสร้างแม่แบบสำเร็จรูปสำหรับส่งอีเมล หรือ Template สำหรับส่งอีเมลของ @yru.ac.th หรือ @gmail.com ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ใช้งานอีเมล ที่ส่งอีเมลเป็นประจำ และต้องการส่งในรูปแบบเดียวกัน เช่น อีเมลแจ้งเตื่อนเรื่องต่างๆ เป็นต้น โดยผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องเขียนเรื่องเดิมซ้ำๆ การสร้างแม่แบบสามารถทำได้ดังนี้
1. สร้างข้อความใหม่ขึ้นมา



วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การทำปุ่มสลับเลขไทยใน Microsoft Word

ให้ทำการดาวน์โหลดโปรแกรมที่  http://www.yru.ac.th/file/NumThai.rar
จากนั้นทำการแตกไฟล์ และติดตั้ง
หลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว ให้ทำการเปิดโปรแกรม MS-Word ขึ้นมา



วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

Y-CMS เครื่องมือบริหารจัดการเว็บไซต์สำหรับหน่วยงานภายในและภายนอก


Logoมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานภายใน ทั้งหน่วยงานสนับสนุนและหน่วยงานด้านวิชาการ จัดทำและพัฒนาเว็บไซต์หน่วยงาน ให้บริการ ข้อมูล ข่าวสาร และองค์ความรู้ของหน่วยงาน ที่ให้บริการภาคประชาชนผ่านทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน จึงได้มีโครงการจัดทำพัฒนาเว็บไซต์ต้นแบบ (เครื่องมือสร้างเว็บไซต์สำหรับหน่วยงาน) เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดี่ยวกัน

          งานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร ศูนย์คอมพิวเตอร์จึงได้พัฒนาเว็บไซต์ต้นแบบ เพื่อให้ผู้ใช้งานหรือหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยสามารถนำไปใช้งานเพื่อเป็นเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์หน่วยงาน

         สามารถดาวน์โหลดและศึกษาการใช้งานได้ที่ http://cms.yru.ac.th/


วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเร่งปรับระบบการประเมินผลปฏิบัติราชการและตัวชี้วัด (KPIs)



      คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีนโยบายเร่งพัฒนาและปรับปรุงระบบบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resoures Management: HRM) ขององค์กรทั้งระบบ เพื่อรองรับการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พ.ศ. 2560-2569  โดยมีเป้าหมายพัฒนาองค์กรให้มีศักยาภาพในการแข่งขันและมีอัตลักษณ์เฉพาะองค์กร เป็นที่พึ่งของชุมชนได้อย่าง "มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน" ตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้คือ "มหาวิทยาลัยคลังปัญญาแห่งชายแดนใต้" โดยจัดกิจกรรมประชุมปฏิบัติการพัฒนาและปรับปรุงระบบประเมินผลการปฏิบัติราชการและตัวชี้วัดการประเมินผลทั้งสายวิชาการและสายวิชาชีพ  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบ HRM กิจกรรมครั้งนี้นำทีมดำเนินการโดย ผศ.ดร.วรพจน์ แซ่หลี ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบประเมินผล ตัวชี้วัด และเกณฑ์ ซึ่งได้รับมอบหมายจากที่ประชุมคณะกรรมการบริหารงานบุคคล (กบม.) ของมหาวิทยาลัย โดยมีอธิการบดี ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการบริหารงานบุคคล (กบม.) และได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม พร้อมทั้งให้โอวาทและแนวนโยบายด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ทั้งนี้ กิจกรรมนี้เป็นการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ 59 โครงการ/กิจกรรมของท่านอธิการบดีในเรื่องสานศักยภาพ "การเร่งรัดปฏิรูปกฎระเบียบ เพื่อให้เอื้อต่อการปฏิบัติภารกิจ"
     การจัดกิจกรรมประชุมปฏิบัติการการพัฒนาและปรับปรุงระบบประเมินผลปฏิบัติราชการ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน-1 กรกฎาคม 2559 ณ โรงแรมเมอร์เมดสงขลา จังหวัดสงขลา มีการแบ่งกลุ่ม ระดมความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วม ซึ่งมีทั้งผู้บริหารระดับมหาวิทยาลัย คณะ/สำนัก/ศูนย์ ทั้ง คณบดี ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้างาน อาจารย์ และตัวแทนบุคลากร มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้บริหารระดับหัวหน้างาน ผู้อำนวยการกอง ผู้อำนวยการสำนัก คณบดี และบุคลากรผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมกันพิจารณาและปรับปรุงระบบการประเมินผลปฏิบัติราชการ ตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินผลงานให้ชัดเจน มีหลักฐานประกอบการพิจารณาเป็นเชิงประจักษ์มากขึ้น โดยเฉพาะตัวชี้วัดของผู้บริหาร ที่จะต้องดำเนินการทำคำรับรองหรือข้อตกลงกับผู้บังคับบัญชาในการขับเคลื่อนตัวชี้วัดแผนปฏิบัติราชการประจำปี ซึ่งได้ถูกถ่ายทอดตัวชี้วัดมาจากแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฯ อีกทั้ง มีตัวชี้วัดที่เป็นผลมาจากคะแนนผลการประเมินคุณภาพภายในของหน่วยงานที่ผู้บริหารกำกับอยู่
      สำหรับตัวชี้วัดและเกณฑ์ของสายวิชาชีพ มีการพัฒนาตัวชี้วัดร่วมเพื่อให้เป็นแนวทางในการนำไปใช้ในตำแหน่งหลักๆ ที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัย เช่น เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป นักวิชาการศึกษา นักวิชาการคอมพิวเตอร์ เจ้าหน้าที่ธุรการ นักวิชาการโสตทัศนูปกรณ์ ทั้งนี้ เพื่อให้การปฏิบัติงานของแต่ละตำแหน่งเป็นไปตามกรอบของมาตรฐานตำแหน่งและมีผลผลิตจากการปฏิบัติงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถยกระดับคุณภาพการให้บริการ มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ความรู้ ประสบการณ์ และแนวคิด: การปรับเปลี่ยนทิศทางการพัฒนา (Reprofiling) มหาวิทยาลัยราชภัฏสู่ความเป็นเลิศ (พ.ศ.2560-2569)

เอกสารประกอบการบรรยาย
   ระหว่างวันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ 2559 ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และ นางสาวทวีวรรณ ทองนวล ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยฯ ให้เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการ เรื่อง การปรับยุทธศาสตร์ (Reprofiling) มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2560-2569 ณ โรงแรมเอสดี อเวนิว กรุงเทพฯ ซึ่งจัดโดยที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.) โดยได้รับเกียรติจาก ดร.กฤษณพงศ์  กีรติกร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หรือ มจธ. (http://www.kmutt.ac.th) และ อ.ธนิตสรณ์ จิระพรชัย รองอธิการบดีฝ่ายแผนและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นวิทยากรเชิงปฏิบัติการ ซึ่งวิทยากรได้เสนอแนวทางและข้อเสนอแนะในการปรับทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาในระยะ 10 ปีข้างหน้า ซึ่งผู้เข้าประชุมปฏิบัติการ ได้แก่ อธิการบดี รองอธิการบดี ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน คณบดี และผู้เกี่ยวข้องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยละ 2-3 ท่าน

    สำหรับวัตถุประสงค์สำคัญในการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ คือ เพื่อให้ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องร่วมกันจัดทำ Workshop กำหนดกรอบหรือทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏในระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2560-2569) โดยการกำหนดทิศทางการพัฒนาอิงตามความร่วมมือกลุ่มพื้นที่ให้บริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏ รวม 7 กลุ่มพื้นที่ ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง กรุงเทพมหานคร ภาคตะวันตก และภาคใต้ ทั้งนี้ เพื่อใช้ความเข้มแข็งและอัตลักษณ์ของพื้นที่แต่ละกลุ่ม รวมทั้งความเชี่ยวชาญของ มรย.แต่ละกลุ่ม (Cluster) กำหนดยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และเป้าหมายของการพัฒนา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่บริการ โดยใช้ข้อมูลจากภายนอกที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาในพื้นที่ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของภาวะของโลก สภาพสังคมไทยในอนาคต และโครงการขนาดใหญ่ (Mega Project) ของไทย ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  ทั้งนี้ เน้นการปรับทิศทางการพัฒนาตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยฯ ได้แก่ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในพื้นที่เป็นสำคัญ เน้นเป้าหมาย คือ การได้งานทำของผู้เรียน โดยมองปัจจัยภายนอก (Outside In) ที่มีผลกระทบต่อการผลิตบัณฑิตเป็นหลัก มากกว่ามองจากภายในมหาวิทยาลัย

    สาระสำคัญที่วิทยากร ดร.กฤษณะพงศ์ กีรติกร บรรยายชี้ให้เห็นภาพในอนาคตที่มหาวิทยาลัยราชภัฏจะต้องปรับทิศทางการพัฒนา ทั้งนี้ เนื่องจากมีสภาพหรือภาวะจากภายนอกที่มีผลกระทบต่ออนาคตของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะพันธกิจหลัก ได้แก่การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลกระทบจากภายนอกจากสภาพการเปลี่ยไปของสภาพเศรษฐกิจ สังคมของโลก ในภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งของไทยเอง โดยเน้นประเด็นสำคัญดังนี้

  • ในช่วงปี พ.ศ. 2557-2559 ประเทศต้องการงบประมาณเพื่อโครงการขนาดใหญ่ทางสังคมและเศรษฐกิจ ควบคู่กับ การลดความทุกข์ประชาชนการกระตุ้นเศรษฐกิจ การศึกษาต้องสามารถตอบโจทย์ประเทศได้ สังคมจึงจะเห็นว่า ควรสนับสนุนการศึกษา
  • คำถามพื้นๆ ที่ต้องการคำตอบ (Nuts and Bolts Questions) ที่มหาวิทยาลัยฯ ต้องหาคำตอบ ได้แก่
    1.  การปฏิรูปอุดมศึกษาไทย เพื่อก้าวไปสู่มหาวิทยาลัยโลก
    2. การพัฒนามหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์สังคมอีก 20 ปีข้างหน้า
    3. มุมมองต่อคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยในอดีตและปัจจุบัน
    4. นโยบายหรือวิธีการ ที่ประเทศไทยเคยใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษาทั้งที่ได้ผลดีและไม่ได้ผล
    5. กรณีศึกษาในประเทศอื่นที่มีบริบทที่ใกล้เคียงกับประเทศไทยที่ประสบความสาเร็จในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
    6. จุดแข็งที่เรามีและจุดอ่อนที่ควรจะต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในทศวรรษหน้า
  • 7. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย ภาพในหลายๆมุมมอง
  • 8. ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด หากมหาวิทยาลัยไม่สามารถปรับตัว
  • ตามสถานการณ์เงินได้ จะเกิดอะไรขึ้น เช่น การจ้างออก 
  • การยุบรวมภาควิชาฯ การยอมลดคุณภาพของนักศึกษา
  • 9. จุดเด่น ข้อดี / จุดด้อย จุดอ่อน ของการออกนอกระบบ
  • 10. อนาคต ทิศทางของมหาวิทยาลัยในกากับ ของ ประเทศไทย
  • 11. ตัวอย่าง ความสาเร็จด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัยในกากับ
  • ในประเทศ หรือ ตัวอย่างในต่างประเทศ
  • 12. การลงทุนด้านการศึกษา สัดส่วนระหว่างการลงทุนของรัฐกับผู้เรียน
    13. ถ้าอาจารย์ขาดทักษะในการสอนให้นศ.วิชาเรียนแบบ Problem -based หรือการสร้าง critical thinking จะมีวิธี หรือทางเลือกอื่นในการแก้ไขปัญหานี้ อย่างไร?
    14.ถ้าจานวนของภาคเอกชนที่มีวัฒนธรรมการทาวิจัยและพัฒนาน้อย มหาวิทยาลัยควรมีมาตรการอย่างไร ?
    15. สานักวิชาฯ ควรมีการปรับตัวอย่างไร ต่อภาวะที่จานวน นศ. 
  • ที่เข้าสู่ระบบลดลงอย่างต่อเนื่อง บริบทใดน่าจะเป็นโอกาสและภัยคุกคาม
  • มหาวิทยาลัยคงไม่เพียงสร้างกาลังคนทางเทคนิค-ทหารเดินเท้าทางเทคนิค (Technical foot soldier) ออกไปทำงานเท่านั้น แต่มหาวิทยาลัยต้องสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัยต้องใช้ social brain (สติปัญญา/ทักษะทางสังคม) นอกจาก technical brain (สติปัญญาเชิงเทคนิค/สำหรับการประกอบอาชีพ)
  • มหาวิทยาลัย (โดยเฉพาะหลักสูตร) ต้องคิดใหม่ ทำใหม่ เปลี่ยน Mind Set ยอมรับว่าปัจจุบันมีปัญหาการผลิตบัณฑิตไม่มีงานทำ รับประกันไม่ได้ว่าบัณฑิตที่เรียนกับเราแล้ว จบไปมีงานทำ คุณภาพบัณฑิตมีปัญหา ทั้ง Social Brain และ Technical Brain
  • เมื่อมหาวิทยาลัยหรือหลักสูตร ต้องการให้เกิดผลที่เปลี่ยนแปลง เกิดผลใหม่ๆ จะต้อง "ไม่ทำอย่างเดิม ซ้ำแล้วซ้ำเล่า" ซึ่ง  "การทำอย่างเดิม ซ้ำแล้วซ้ำเล่า และคาดหวังจะได้ผลใหม่ เป็นความเสียสติ-ความไร้สติ"  โดยวิทยากรยกคำกล่าวของ Albert Einstein เป็นการกระตุ้นให้คนในมหาวิทยาลัยฯ ต้องเปลี่ยนความคิดของตัวเองหรือ Mind Set ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงทิศทางการพัฒนา (เน้นการมองจากภายนอก หรือ Out Side In เป็นหลัก)
  • ผู้จบมหาวิทยาลัย ตกงานในอัตราสูงกว่าผู้จบ ปวช. ปวส. มัธยมปลาย เรียนมหาวิทยาลัยไปเพื่ออะไร ถ้าหลักสูตรมหาวิทยาลัยไร้คุณภาพ ไม่ใช่ความต้องการของตลาด/สังคม ถ้าหลักสูตรไม่สร้างผู้จบให้มี workability/employability
  • Learning Outcomes ของการศึกษาแนวโน้มสาคัญของการศึกษา เน้น ทักษะการเรียนรู้ 21stCentury Skills, Employability 
  • การสร้าง 21st Century Skills ทำได้โดยการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมและทรัพยากรทั้งปวงในบริบทของผู้เรียนให้เป็น “ห้องเรียน” หรือ “แหล่งเรียนรู้” ให้เกิดพื้นที่กระบวนการเรียนรู้(Learning space) ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น
    :การเรียนบนฐานโครงการ(Project-Based Learning) เพื่อเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และการมองเชิงบูรณาการ
    : การเรียนบนฐานปัญหา(Problem-Based Learning) เพื่อเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา
    : การเรียนรู้บนฐานวิจัย (Research-Based Learning) เพื่อกระตุ้นความใฝ่รู้และทักษะการเรียนรู้
    : การเรียนรู้คู่การทำงาน (Work-Based Learning) เพื่อเสริมทักษะความพร้อมด้านอาชีพไป จนถึง
    : การเรียนรู้คู่การบริการ(Service Learning) เพื่อสร้างทั้งทักษะชีวิตและจิตสานึกในหน้าที่ต่อสังคม
  • การ Reprofiling อุดมศึกษาทาอะไรได้ทันที ได้แก่
    1.เลิกหลักสูตรที่ผู้จบไม่มีงานทำหรือถูกจ้างต่ากว่าวุฒิ (แม้จะมีผู้เรียนและสร้างรายได้ให้มหาวิทยาลัยฯ)
    2. ปรับหลักสูตรให้เชื่อมโลกของงาน (Work based/ integrated/ immersion) ทั้งภาคสังคม ธุรกิจ อุตสาหกรรม สร้าง soft skills/ workability/ employability
    3. อุดหนุนหลักสูตรที่จำเป็นต่อสังคม 

  สำหรับในส่วนของ อ.ธนิสรณ์ จิระพรชัย และคณะ เป็นการนำข้อมูล สารสนเทศเทศที่ได้ในช่วงเช้า ปฏิบัติงาน Workshop โดยแยกเป็นเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏแต่ละกลุ่ม วิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่ ความเข้มแข็งของมหาวิทยาลัยเครือข่าย เพื่อกำหนดเป้าหมายการพัฒนาและกลยุทธ์ในการพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยเน้นผลกระทบจากบริบทของโลก ได้แก่ การจับกลุ่มของภาคีประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น
สำหรับในส่วนของ
Chindia, BRICS, ASEAN, AIIB  นโยบายและทิศทางของประเทศ ได้แก่ WORKFORCE, Aging society, ความเหลื่อมล้ำ, Middle Income Trap, เส้นทางคมนาคมระหว่างประเทศ, เขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือเศรษฐกิจดิจิตอลบริบทของสังคมไทย รวมทั้งเมคกะโปรเจคที่กำลังจะเกิดขึ้น ได้แก่ ระบบบริหารน้ำ ระบบจัดการขยะ รถไฟความเร็วสูง/รถไฟรางคู่เชื่อมสุวรรณภูมิและจีน หรือโครงข่ายถนนระหว่างประเทศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยราชภัฏแต่ละกลุ่มอย่างไร
ไม่ว่าจะเป็นด้าน การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
   สำหรับ กลุ่มราชภัฏภาคใต้ ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กำหนด ไว้ 3 Cluster สำหรับความร่วมมือในการพัฒนาร่วมกันในประเด็นของ ได้แก่ การผลิตครูตามบริบท การท่องเที่ยวและบริการ และอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหาร ซึ่งจะมีการร่วมกันกำหนดเสนอข้อมูลและสารสนเทศ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และโครงการในภาพรวมร่วมกันต่อไป
การกำหนด Cluster ความร่วมมือในการพัฒนาของมหาวิทยาลัยราชภัฏแต่ละกลุ่ม
(ผลจากการจัดทำ Workshop และการนำเสนอในเบื้องต้น)
    โดยสรุป กล่าวได้ว่าการปรับทิศทางของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาพรวมของกลุ่ม และของแต่ละมหาวิทยาลัยราชภัฏ หรือแม้แต่ "มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา" เอง จำเป็นต้องเร่งปรับทิศทางในการพัฒนา (Reprofiling) องค์กร พัฒนาและบรรจุในแผนยุทธศาสตร์ในระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2560-2569) อย่างเร่งด่วน ได้แก่ 

  • การพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรใหม่ๆ ที่ผลิตบัณฑิตเพื่อการมีงานทำ เน้นความต้องการของตลาดมากกว่าของมหาวิทยาลัย สอดคล้องกับบริบทสังคมโลก อาเซียน หรือของประเทศ การปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้น Work-based Learning สร้างทักษะและความพร้อมการทำงานให้บัณฑิต ก่อนออกสู่ตลาดแรงงาน 
  • การทำวิจัยและบริการวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนในพื้นที่ เน้นตอบสนองความต้องการของประชากรกลุ่มใหญ่ ซึ่่งได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ ที่ยังมีความสามารถ มีกำลังซื้อ

          ดังนั้น ในระยะ 10 ปี ข้างหน้า ซึ่งเห็นว่าหลักสูตรควรจะต้องพิจารณาปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการทำงานของบัณฑิตเป็นประเด็นสำคัญ มากกว่ามองจากภายในและใช้วิธีการพัฒนาหลักสูตรในรูปแบบเดิมๆ ที่เน้นการศึกษาความต้องการของผู้เรียน ควรศึกษาปัจจัยภายนอก ความต้องการผู้ใช้บัณฑิต ทิศทางของตลาดแรงงานมากกว่า ไม่เช่นนั้น จะเป็นการทำร้ายบัณฑิตทางอ้อม สำเร็จการศึกษาแล้ว ไม่มีงานทำอย่างแน่นอน

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ICT-based Learning: ICT-BL @ ดร.ศิริชัย นามบุรี: เว็บบล็อก: เครื่องมือง่ายๆ ส่งเสริมการเรียนรู้ การ...

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ICT-based Learning:ICT-BL @ ดร.ศิริชัย นามบุรี: เว็บบล็อก: เครื่องมือง่ายๆ ส่งเสริมการเรียนรู้ การ...:    เว็บบล็อก  หรือ บล็อก (Weblog / Web Blog หรือ Blog) นับเป็นเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ที่นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ หรือผู้ใช้เครือข่ายส...

วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2559

สาระจากการประชุมสัมมนา "การนำระบบการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 ไปใช้"

วันที่ 8 มกราคม 2558 ผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณะ และบุคลากรของ มรย. ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ระบบประกันคุณภาพของ สกอ.ปีการศึกษา 2557 ที่ผ่านมา รวม 25 คน ร่วมกิจกรรมประชุมสัมมนา เรื่อง
การนำระบบการประกันคุณภาพในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557 ไปใช้ ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไข ครั้งที่ 2 ณ โรงแรมลีการ์เด้นท์ พลาซ่อ หาดใหญ่ โดยมีวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ศ.นพ. วุฒิชัย ธนาพงศธร  รศ.ดร.สมบูรณ์วัลย์
สัตยารักษ์วิทย์ และผศ.จินดา งามสุทธิ พร้อมทั้ง คุณนุชนภา รื่นอบเชย ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา  ร่วมรับฟังปัญหา ข้อเสนอแนะ และตอบประเด็นปัญหาต่างๆ จากมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนในกระบวนการประเมินคุณภาพภายใน ข้อสงสัย ข้อสังเกตจากองค์ประกอบและเกณฑ์การประเมิน ทั้งในระดับหลักสูตร คณะ และสถาบัน ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจ จากการประชุมสัมมนาสรุปได้ดังนี้
  • ในระบบ CHE Online ตรวจสอบรายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตรอัตโนมัติ ฉะนั้น รายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องอยู่ในฐานข้อมูลบุคลากรของมหาวิทยาลัยฯ และส่งข้อมูลให้กับ สกอ. นำเข้าระบบ CHE Online และหากฐานข้อมูลถูกต้อง สมบูรณ์ สกอ.อาจเปิดระบบ CHE Online ให้ใช้ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 นี้
  • กรณีเปิดร่วมกันระหว่าง ค.บ. และ วท.บ. จะมีอาจารย์ประจำหลักสูตรซ้ำไม่ได้ ยกเว้นอาจารย์ประจำหลักสูตร ป.โท และ ป.เอก ในสาขาวิชาเดียวกัน
  • สาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน จะต้องอ้างอิงสาขาหลักและสาขารอง ตามรายชื่อหลักสูตรในฐานข้อมูลใน ISECD 2013
  • ในสาขาวิชาที่มีสภาวิชาชีพประเมินเพื่อรองรับ สาขาวิชาสามารถทำเรื่องมาที่ สกอ.เพื่อประสานและเสนอสภาวิชาชีพรับรององค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐานหลักสูตร 
บัณฑิตศึกษา
  • อธิการบดีเป็นอาจารย์ประจำหรืออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่ได้ แต่สามารถสอนและเป็นที่ปรึกษา สอบวิทยานิพนธ์ได้ ทั้งนี้ ต้องดูศักยภาพ
  • ผลงานตีพิมพ์ของนักศึกษาปริญญาโทหรือปริญญาเอกร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีค่า Impact Factor ต้องไม่ต่ำกว่า 0.20 สามารถนับผลงานทั้งนักศึกษาและอาจารย์ แต่ควรพิจารณาความเหมาะสมทางจริยธรรมในการนำชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาไปใส่ไว้ในผลงาน หากไม่ได้มีส่วนร่วม
ข้อสังเกต
  • ผู้บริหาร ประธานหลักสูตรและกรรมการหลักสูตร จะต้องเข้าใจระบบประกันคุณภาพและเกณฑ์การประเมินอย่างถ่องแท้ และใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพ
  • ในรอบปีการศึกษา พ.ศ. 2557 เป็นการทดลองระบบของ สกอ. โดยเฉพาะหลักสูตรที่มี มคอ.1  การตรวจอย่างเป็นทางการของ สกอ. เพื่อขอรับการขึ้นทะเบียนขึ้นอยู่กับความพร้อมของหลักสูตร เพื่อขึ้นทะเบียนในระบบ TQR ของ สกอ.ต่อไป
  • การประเมินของคณะกรรมการ ควรเน้น "การใช้วิจารณาญาณ" การเห็นร่วมกัน เรียกว่าการประเมินแบบ "พิชญพิจารณ์ (Peer Review)" [อ่านเอกสารเพิ่มเติมสำหรับแนวคิดการประเมินแบบพิชญพิจารณ์ของ ศ.ดร.สุวิมล ว่องวาณิช]
ส่วนคำถาม/ข้อสงสัยอื่นๆ ผู้สนใจสามารถสอบถาม สำนักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา สกอ. และศึกษาจากกระดานถามตอบ ทั้งของ สกอ. และ สนง.ประกันคุณภาพ มรย. ต่อไป

คำถาม-คำตอบเพิ่มเติมของ สกอ. เกี่ยวกับระบบประกันคุณภาพภายใน

ยุทธศาสตร์ยกระดับคุณภาพและการร่างแผนยุทธศาสตร์ 15 ปี ของ มรย. สู่ความเป็นเลิศ

       มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (มรย.) เราชาว จันทน์กะพ้อ รวมพลัง นำทีมโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดี และคณะผู้บริหารและบุคลากรจากกองนโยบายและแผน ทั้งผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัย ผู้บริหารระดับคณะและส่วนราชการในสังกัด รวมทั้งสมาชิก YRU Core Team (ทีมร่วมคิด รวมทำ นำพัฒนา) จำนวน 81 คน ร่วมประชุมปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาโครงการสนับสนุนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ปี 2559 และจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ระยะ 15 ปี  ระหว่างวันที่ 19-22 ธันวาคม 2558 เป็นระยะเวลา 4 วัน ณ โรงแรมบีพี สมิหลาบีช อ.เมือง จ.สงขลา โดยได้เกียรติจากวิทยากรที่มากด้วยความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งการให้มุมมอง แง่คิด สำหรับการปรับทิศทาง (Reprofiling) การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ที่สามารถพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันได้ในอนาคต วิทยากรได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และประธานกรรมการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์เพื่อการยกมาตรฐานมหาวิทยาลัยราชภัฏสู่คุณภาพเป็นเลิศ ในระยะ 10 ปี (พ.ศ.2558-2567) และ คุณสุพจน์ อาวาส อดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ที่มีประสบการณ์ในด้านการบริหารสถาบันและธุรกิจการเงิน ธุรกิจชุมชน รวมทั้ง การดูแลกองทุนพัฒนาชุมชนต่างๆ และยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร


     กิจกรรมการประชุมปฏิบัติการในวันที่ 19-20 ธันวาคม 2558 เน้นการทบทวนความสำเร็จของผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พ.ศ. 2555-2559 ที่ผ่านมา ซึ่งกำลังจะสิ้นสุดระยะการดำเนินงานตามแผนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 นี้ พร้อมกับการทบทวนผลการดำเนินงานจากการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร คณะ และสถาบัน ประจำปีการศึกษา พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา โดยรายงานให้ที่ประชุมเห็นผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เป็นข้อมูลและสารสนเทศประกอบการพิจารณาเพื่อพัฒนาโครงการเร่งด่วนที่สำคัญ และสามารถดำเนินการและเห็นผลเชิงประจักษ์ได้ภายใน 1 ปีงบประมาณ โดยใช้งบยุทธศาสตร์ประจำปี พ.ศ. 2559 โดยที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันที่จะต้องร่วมแก้ปัญหาเร่งด่วนในเรื่องของคุณภาพการศึกษา การพัฒนาคุณภาพการให้บริการขององค์กรให้มีมาตรฐาน กิจกรรมการประชุมปฏิบัติการแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มตามความสำคัญของปัญหา ได้แก่ 1) การพัฒนาระบบสหกิจศึกษาที่มีประสิทธิภาพ 2) การพัฒนาระบบส่งเสริมการทำผลงานวิชาการและงานวิจัย 3) การพัฒนาระบบการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ  4) การพัฒนามาตรฐานคุณภาพการให้บริการ และ 5) การพัฒนาระบบการจัดการขยะครบวงจร ซึ่งแต่ละกลุ่มได้นำเสนอร่างโครงการและกิจกรรม พร้อมงบประมาณ และพร้อมจะเร่งดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 นี้ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 โดยกระบวนการดำเนินงานและการติดตามผลการดำเนินงาน มหาวิทยาลัยฯ จะให้ YRU Core Team มีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนา จัดให้มีคณะกรรมการดำเนินงานและติดตามผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบจาก YRU Core Team และรายงานผลให้มหาวิทยาลัยฯ ทราบความก้าวหน้าตามลำดับต่อไป
     สำหรับ กิจกรรมในวันที่ 21-22 ธันวาคม 2558 เน้นการทบทวนสถานะของ มรย. จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส อุปสรรค ของมหาวิทยาลัย โดยกองนโยบายและแผน ร่วมกับสำนักงานประกันคุณภาพ นำเสนอข้อมูลสถานะปัจจุบันของมหาวิทยาลัยฯ ในด้านการจัดการเรียนการสอน หลักสูตร นักศึกษา การบริหารจัดการ บุคลากร งบประมาณ ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการของอาจารย์ ทิศทางของมหาวิทยาลัยในอนาคต นอกจากนั้น รองศาสตราจารย์ ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช และคุณสุพจน์ อาวาส ยังร่วมเป็นวิทยากรให้แนวคิดการพัฒนามหาวิทยาลัยในระยะ 10-15 ปีในอนาคต ที่ต้องเน้นการพิจารณาและติดตามการปรับเปลี่ยนจากปัจจัยภายนอกเป็นหลัก เน้นความต้องการใช้บัณฑิตจากผู้ใช้บัณฑิตจริงๆ โดยเฉพาะการเปิดประเทศเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2559 ซึ่งสภาพสังคม เศรษฐกิจของไทยและประเทศในอาเซียน รวมถึงสถานการณ์ของโลกด้วย ซึ่งจะมีผลกระทบที่สำคัญมากๆ ต่อการกำหนดทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยฯ และการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรใหม่อย่างแน่นอน คือ ต้องเน้นการมองจากภายนอกเข้าสู่ภายใน (Outside-In) คือ มองปัจจัยและบริบทภายนอกที่มีผลกระทบต่อหลักสูตรและองค์กรเป็นหลัก โดยใช้ความได้เปรียบ ความเข้มแข็งและอัตลักษณ์ของ มรย.เป็นฐานคิด  
       นอกจากนั้น รองศาสตราจารย์ ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช ได้นำเสนอกระบวนการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนามหาวิทยาลัย จะต้องเน้นปรัชญา "มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น" และพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย ได้แก่ การสอนหรือการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรให้มีจุดเด่นสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาโดยพิจารณาจากจุดแข็งของมหาวิทยาลัยฯ อาจกำหนดทิศทางพัฒนาหลักสูตรสู่ความเป็นเลิศให้อยู่ในกลุ่ม (Cluster) หลักๆ นำร่องก่อน ซึ่งในกิจกรรมกลุ่มของผู้เข้าอบรมในวันสุดท้ายได้แบ่งตามคณะ เลือกหลักสูตรเด่นอยู่ใน 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) คณะครุศาสตร์เน้นกลุ่มเชี่ยวชาญผลิตครู เน้นสาขาวิทยาศาสตร์ สาขาคณิตศาสตร์  และสาขาภาษามลายูกลาง สร้างจุดเด่นคือ "เก่งวิธีสอน"  2) คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร เน้นสาขาวิทยาศาสตร์อาหารฮาลาล สาขาการบริบาลผู้สูงอายุ สาขาพลังงานทดแทน 3) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เช่น ภาษามลายูกลาง ภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษ ศิลปะและวัฒนธรรมชายแดนใต้ และ 4) คณะวิทยาการจัดการ เน้นสาขาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สาขาการจัดการโลจิสติกส์ เป็นต้น โดยมหาวิทยาลัยฯ ควรจะใช้ความเก่ง จุดแข็ง และความเป็นอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยฯ และเน้นตอบโจทย์แก้ปัญหาในพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยฯ  ส่วน คุณสุพจน์ อาวาส ได้ให้ข้อเสนอแนะที่ควรเน้นการพัฒนาหลักสูตรและการผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะสู้งาน เก่งคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ เรียนรู้ตลอดเวลา และบัณฑิตควรมีฐานคิดเชิงธุรกิจ การเป็นผู้ประกอบการในทุกหลักสูตร ส่งเสริมให้นักศึกษาทำงานเป็นตั้งแต่ยังไม่สำเร็จการศึกษา โดยสร้างผลิตภัณฑ์ของ มรย.ร่วมกับชุมชน
     ผลจากการจัดโครงการและกิจกรรมการประชุมปฏิบัติการครั้งนี้ คณะผู้บริหารและผู้เข้าประชุมต่างได้รับความรู้ ประสบการณ์ และมุมมองที่แตกต่างไปจากเดิมจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์จากภายนอก ทำให้มหาวิทยาลัยฯ ต้องเร่งทบทวนและกำหนดทิศทาง รวมทั้งเป้าหมายของมหาวิทยาลัยฯ ในระยะ 10-15 ปี ข้างหน้าให้ชัดเจน เพื่อให้ทุกคนในองค์กรมองเห็นเป้าหมายเดียวกัน นั่นคือ การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาไปสู่การเป็น "คลังปัญญาแห่งชายแดนใต้" อย่างแท้จริง ซึ่งอาจมีตัวชี้วัดที่สำคัญ ได้แก่ การที่มหาวิทยาลัยมีหลักสูตรที่สามารถตอบโจทย์ท้องถิ่นได้และสามารถพัฒนาไปสู่สากลโดยอาศัยอัตลักษณ์ของ มรย.เอง การผลิตบัณฑิตที่สามารถทำงานได้ ทำงานเป็น เก่งชุมชนเป็นที่ยอมรับของสังคม  มหาวิทยาลัยฯ มีองค์ความรู้และมีนวัตกรรมจากงานวิจัยเพื่อนำไปบริการชุมชน แก้ไขปัญหาในพื้นที่จนสามารถยกระดับการศึกษาและคุณภาพชีวิตชุมชนได้ รวมทั้ง การพัฒนาองค์กรให้เป็นต้นแบบคุณภาพการให้บริการ การสร้างสังคมพหุวัฒนธรรมและสังคมสันติสุขในพื้นที่  ซึ่งแนวคิดที่เป็นประโยชน์เหล่านี้ จะได้นำไปเป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ระยะ 15 ปี ในกิจกรรมพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ฯ ในครั้งต่อไป

.



[ดูภาพเพิ่มเติม... 22 ธ.ค. 58 | 21 ธ.ค. 58 | 20 ธ.ค. 58 | 19 ธ.ค. 58 ]