วันพุธที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2560

รักษาราชการแทนอธิการบดี มอบนโยบายการบริหารและดำเนินงาน ITA ปี 2561


    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์  รักษาราชการชการอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นประธานการประชุมคณาจารย์และบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2560 โดยมีนโยบายสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนมุ่งพัฒนาให้มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ให้เป๋็นองค์กรวัฒนธรรมแห่งคุณธรรมและความโปร่งใส โดยยึดหลักในการบริหารงานและการดำเนินงานตามกรอบการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส (Integrity and Transparencty Assessment: ITA) ซึ่งเป็นกรอบการประเมินหน่วยงานภาครัฐ ตาม โครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ที่ดำเนินการประเมินโดย สำนักงาน ป.ป.ช. ที่กำหนดให้หน่วยงานราชการเข้ารับประเมินด้านคุณธรรมและความโปร่งใสมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้รับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสอยู่ในระดับสูง ได้คะแนนเฉลี่ยการประเมิน ITA เท่ากับ 76.18  ซึ่งเป็นผลจากทุกหน่วยงานภายใน ผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากร ได้ดำเนินการบริหารและปฏิบัติงานตามกรอบแนวทางที่กำหนดไว้ในกรอบการประเมิน ITA
    สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 นี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ยังคงกำหนดนโยบายด้านคุณธรรมและความโปร่งใสและยึดเป็นแนวปฏิบัติในการบริหาร การปฏิบัติงานในองค์กรอย่างต่อเนื่องต่อไป
โดยได้ประกาศนโยบายและแนวปฏิบัติไว้อย่างเป็นทางการที่เว็บไซต์หลักของทุกหน่วยงาน ให้ลิงก์มายังข้อมูลการดำเนินงานด้าน ITA ซึ่งรับผิดชอบดำเนินการโดยสำนักงานประกันคุณภาพ ร่วมกับสำนักงานอธิการบดี



   





วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2560

สำนักงานประกันคุณภาพ: การจัดการความรู้และร่วมสร้างวัฒนธรรมความโปร่งใส

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มุ่งมั่นถึงการเสริมสรางวัฒนธรรมและคานิยมสุจริตและการตอตานการทุจริตในหนวยงาน โดยการกำหนดให้หน่วยงาน คือ สำนักงานประกันคุณภาพ เป็นหน่วยงานขับเคลื่อนระบบและกลไก และการกำกับติดตามการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการประเมิน ITA ร่วมกับสำนักงานอธิการบดี และส่วนราชการภายใน โดยรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับการประเมิน ITA ไว้ที่เว็บไซต์ของสำนักงานประกันคุณภาพ เพื่อให้ประชาคมชาว มรย. ได้เรียนรู้และศึกษา เพื่อร่วมสร้างองค์กรและวัฒนธรรม ค่านิยมสุจริต ต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบในหน่วยงาน ให้มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นองค์กรแห่งความโปร่งใส ตามมาตรการและแนวทางของสำนักงาน ป.ป.ช. ต่อไป
[อ่านรายละเอียด...]


การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสขององค์กร (Integrity and Transparency Assessment: ITA)

ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ รักษาราชการแทนอธิการบดี
ประกาศนโยบายและเจตจำนงองค์กรสุจริต คุณธรรม และความโปร่งใส
ในการประชุมผู้บริหารมหาวิทยาลัย (ทบม.) เมื่อ 19 ธันวาคม 2560
การประเมินคุณธรรมและความโปรงใสในการดําเนินงานของหนวยงานภาครัฐ หรือที่เรียกว่า Integrity andTransparency Assessment: ITA  เป็นกลไกหนึ่งในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐด้วยการประเมินและติดตามผลเชิงบวก ดำเนินการโดย สํานักงานคณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติ (สํานักงาน ป.ป.ช.) ซึ่งไดพัฒนาเครื่องมือการประเมินเชิงบวก เพื่อเปนมาตรการปองกันการทุจริตและเปนกลไกในการสรางความตระหนัก ใหหนวยงานภาครัฐมีการดําเนินงานอยางโปรงใสและมีคุณธรรมโดยใชชื่อวา “การประเมินคุณธรรมและ ความโปรงใสในการดําเนินงานของหนวยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA)” ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการ คือ
   (1) เพื่อประเมินผลระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ และ 
  (2) เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐได้รับทราบแนวทางในการปรับปรุงหรือพัฒนาในเรื่องคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
    โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เริ่มดำเนินการประเมิน ITA มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)  ซึ่งใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลามีผลการประเมินระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยโดยภาพรวมได้คะแนนร้อยละ 76.18 ซึ่งถือว่ามีคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานระดับสูง
      สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ยังคงมีเจตจำนง นโยบาย สนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรของมหาวิทยาลัย มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบและเกณฑ์ ITA เพื่อที่จะได้เป็นแนวทางในการประพฤติตน ปฏิบัติงาน หรือการบริหารงาน โดยยึดหลักคุณธรรมและความโปร่งใสที่สอดคล้องกับเกณฑ์และตัวชี้วัด ITA อย่างเคร่งครัด นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยเองยังได้กำหนดประเด็นไว้ใน ยุทธศาสตร์ที่ ๕ ปฏิรูประบบบริหารจัดการมหาวิทยาลัยให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาสู่มาตรฐานความเป็นเลิศ ระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2560-2569) โดยมีเป้าหมายสำคัญเป้าหมายที่ ๕ ซึ่งเป้าหมายสูงสุดของยุทธศาสตร์นี้ คือ  มหาวิทยาลัยองค์กรแห่งคุณภาพ มีคุณธรรม โปร่งใส และได้รับการยอมรับตามมาตรฐานสากล
รักษาราชการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร และคณะกรรมการติดตาม
ดำเนินงานจากสำนักงานประกันคุณภาพประชุมกำหนดแผนติดตาม ITA
   และนับตั้งเริ่มต้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้มีการดำเนินการด้านการส่งเสริมการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาให้เกิดคุณธรรมและความโปร่งใสอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ การแต่งตั้งคำสั่งคณะกรรมการดำเนินงานขับเคลื่อน ITA  เพื่อทบทวนผลการดำเนินงานด้าน ITA ในปีงบประมาณที่ผ่านมา  การประกาศเจตจำนงสุจริตและยึดเป็นแนวปฏิบัติมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560  และยังคงประกาศเป็นเจตจำนงในการดำเนินงานขององค์กรอย่างต่อเนื่องต่อไป รวมทั้งการขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัยดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงานด้าน ITA อย่างเป็นรูปธรรม สามารถติดตามและประเมินผลได้ โดยให้ส่วนราชการภายใน บุคลากร นักศึกษา รวมทั้งประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบการดำเนินงานขององค์กรได้ในทุกช่องทาง
    สุดท้ายนีี้  การประเมิน ITA จะเป็นกลไกสำคัญในการสร้างและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาของเราชาว "จันทน์กะพ้อ" ที่จะร่วมสร้าง มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาให้เป็นองค์กรแห่งคุณธรรมและความโปร่งใส โดยเริ่มจากตัวของสมาชิกทุกคนชาว มรย.  จึงขอได้โปรดอ่านและติดตามระบบและกลไกการส่งเสริมองค์กรแห่งคุณธรรมและความโปร่งใสในเว็บไซต์ สำนักงานประกันคุณภาพ เพื่อทำความเข้าใจและเรียนรู้ในการประพฤติ ปฏิบัติตน หรือบริหารงานให้มีคุณธรรมและโปร่งใสร่วมกันต่อไป

 


 

 

ประชุมคณะกรรมการ ITA วันที่ 16 ตุลาคม 2560
เพื่อกำหนดแผนการดำเนินงานและติดตามประเมินผล
โดย ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

วันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

สรุปการสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 33 เรื่อง พลิกโฉมห้องสมุด: สรรค์สร้างอนาคตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้

สรุปการสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 33 เรื่อง พลิกโฉมห้องสมุด: สรรค์สร้างอนาคตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ ในวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ
หัวข้อ นวัตกรรมการเรียนรู้...สู่การศึกษาตลอดชีวิต รศ.ดร.แนบบุญ หุนเจริญ ได้นำเสนอนวัตกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบ LiLLe: learning innovative for lifelong education ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่นำไปใช้กับการจัดการเรียนการสอนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


สังคมในรูปแบบของ LiLLe community จะประกอบไปด้วย
  • Online courses (Chula mooc คอร์สรายวิชา)
  • Online library (iTunes u YouTube)
  • Online lectures (e-learning Echo 360 บทเรียนออนไลน์ที่มีการอัดวิดีโอในห้องเรียน)
  • Active learning (Flipped learning Blended learning Classroom Action Research)
  • Learning space (Smart Classroom Interactive Classroom Design Workspace) 



หัวข้อ Mobile device for media production : content production to social platform นำเสนอโดยคุณศุภชัย จรรยาสวัสดิ์ ได้แนะเรื่อง Mobile production : ทำเองก็ได้ โดยใช้
-อุปกรณ์สำหรับการถ่ายทำมีขนาดเล็กลง
-ความสามารถมากขึ้น (SD->Full HD ->4K)
    เครือข่ายคนใช้บรอดแบรนด์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เข้าถึงสื่อออนไลน์ได้ มีอุปกรณ์ออนไลน์เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา ดังนั้นจึงต้องพึงพาเทคโนโลยี Streaming ซึ่งจะมีอุปกรณ์ LiveU ที่เป็นกล่องที่มีซิมโทรศัพท์ใส่อยู่หลายๆแผ่น มีความสามารถในการส่งวิดีโอผ่านอินเทอร์เน็ตได้
อ่านเพิ่มเติมได้จาก Mobile Device for Media Production: Content Production to Social Platform

หัวข้อ หลักการการเลือกคนที่จะมาทำงานกับองค์กร google Thailand 
-คนที่มีความรู้ทั่วไปและมีความพร้อมที่จะเรียนรู้อะไรใหม่
-คนที่มีความเป็นผู้นำและมีความรับผิดชอบสูง มีความเป็นเจ้าของของ project ที่ตนเองรับผิดชอบ แม้ว่าจะลาพักผ่อนก็ต้องยอมรับผิดชอบงาน
-คนที่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองเป็นอย่างดี
-googleyness รู้วัฒนธรรมการทำงานของ google 

หัวข้อ การออกแบบ learning space บรรยายโดยผศ.ดร.สุรพล บุญลือ
การออกแบบ learning space จะต้องประกอบไปด้วยการพิจารณาในเรื่องสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สภาพแวดล้อมทางจิตภาพ และสภาพแวดล้อมทางสังคม (ภาระตำแหน่งหน้าที่ของสังคม การจัดกิจกรรม) และรูปแบบของ Learning Space พื้นที่ทางกายภาพ พื้นที่เสมือน virtual และพื้นที่สังคม


อ่านเพิ่มเติมได้จาก Learning Space: Design Tips for Classroom

หัวข้อ Reinventing the library นำเสนอโดย ดร.รุจเลขา วิทยาวุฒฑิกุล
-ห้องสมุดควรเน้นการบริการงานวิจัยและส่งเสริมการเรียนรู้ตามบริบทของมหาวิทยาลัย
-library as the place of learning 
-library as the third place/second home
-library as an extension of the classroom 
-คลินิควิทยานิพนธ์ สอนการวิเคราะห์สถิติ (ประสานนศ.ปริญญาเอกมาช่วยสอน) การอ้างอิง (บรรณารักษ์จัดอบรม)
-มีการจัดนิทรรศการและกิจกรรมเพื่อสร้างบรรยากาศและให้ความรู้ตลอดเวลา
-มีการสำรวจความพึงพอใจอย่างสม่ำเสมอ
-มีแผนพัฒนาบุคลากร มีการสัมมนาประจำปีและการศึกษาดูงาน
-experience economy ความคาดหวังในประสบการณ์เพื่อต่อยอดการเรียนรู้
-transforming libraries from collection centered to user centered การยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง
-ห้องสมุดเสริมสร้างประสบการณ์เพื่อให้ผู้ใช้เกิดความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงการสร้างความรู้ได้เอง (ผลิตคอนเทนต์ได้เอง)


อ่านเพิ่มเติมได้จาก Reinventing the Library: Best Practice

หัวข้อ Digital learning literacy : collaborative communication 
The transformation to Hybrid radio 
ปรากฏการณ์ของ Digital disruption การเข้ามาของดิจิทัล  ทักษะการเรียนรู้ต้องเปลี่ยนไป เพราะสื่อต่างๆ จะเปลี่ยนไป เช่น การสร้างภาพเพื่อสื่อสารให้เกิดการเรียนรู้จะมีมากขึ้น


อย่าเป็นทาสเทคโนโลยี แต่จงใช้เทคโนโลยีให้เป็นทาสของเรา การผลิตคอนเทนต์นั้น ถ้ามีประโยชน์ ผู้ใช้ก็จะใช้สื่อของเราเอง


Content is king การผลิตคอนเทนต์ขึ้นมานั้น ต้องเป็นคอนเทนต์ที่คนอยากรู้ และมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ ซึ่งต้องดึงดูดให้ผู้ใช้สนใจคอนเทนต์ให้ได้ โดยใช้นวัตกรรมเปลี่ยนความรู้ให้เป็นเงินทอง เพิ่มความมั่งคั่งและยั่งยืน
ศูนย์วิจัย CCDKM สร้างเครือข่ายการเรียนหนังสือและใช้เทคโนโลยีในการส่งเสริมคนให้มีพลังและมีความสุขในการสร้างคอนเทนต์ที่มีประโยชน์ด้วยตนเองได้


- คนระดับรากหญ้าจะใช้เทคโนโลยีถ้าสร้างรายได้ มีเงินเพิ่มขึ้น เข้าถึงข้อมูลสำคัญและจำเป็น จะไม่ถูกเอาเปรียบ และทำให้เกิดความมั่นใจในตนเอง สร้างความภาคภูมิใจในตนเอง
- การใช้เทคโนโลยีแบบให้ชาวบ้านสามารถหาเงินได้ จะทำให้เค้าสนใจในการเรียนรู้มากขึ้น และควรส่งเสริมการใช้มือถือ ด้วยการสร้าง story ให้มีอัตลักษณ์ในเรื่องราวของตนเอง จะทำให้ชาวบ้านมีความภาคภูมิใจ


หัวข้อ Learning management system: myCourseVille 
- Digital education ทำให้สิ่งที่เราเคยทำได้ ทำได้ดีขึ้น เช่น การเรียนรู้ที่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ 
- การใช้ social network เป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของนศ. ดังนั้นจึงควรพัฒนา LMS โดยพิจารณาความสามารถของ social network มาประยุกต์ให้สามารถใช้งานได้ใน LMS ที่พัฒนาขึ้น

หัวข้อ Learning and teaching warehouse: collaborative learning คลังความรู้ สู่การร่วมมือแบบปัญญาสะสม
- ความสามารถในการเรียนรู้ สำคัญกว่าความรู้ที่มีอยู่ โดยเทคโนโลยีจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีก็ไม่สามารถแทนที่สื่อบุคคลได้ เทคโนโลยีแค่ทำให้การเรียนการสอนง่ายขึ้นเท่านั้น
*App: Forest stay focused แอปที่ไม่ให้ใช้มือถือ ด้วยการปลูกต้นไม้ ถ้าเราไม่เล่นมือถือ แอปจะปลูกต้นไม้ในแอปให้เรื่อยๆ ถ้าเราปลูกต้นไม้ได้ตามที่แอปกำหนด แอปจะปลูกต้นไม้จริงๆ ให้เรา โดยจะแจ้งมาว่า ต้นไม้ของเราถูกปลูกอยู่ที่ไหนบนโลกใบนี้

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก Learning and Teaching Warehouse: Collaborative Learning

วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (20 ปี)

ระหว่างวันที่ 19-20 ตุลาคม 2560
ณ ห้องประชุมหอสมุดฯ และหอประชุมวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่งทั่วประเทศ ประกอบด้วยอธิการบดี รองอธิการบดี ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน และผู้เกี่ยวข้อง ได้รวมพลังกันจัดประชุมปฏิบัติการเพื่อพัฒนาและสังเคราะห์โครงการสำคัญที่มีเป้าหมายการพัฒนาท้องถิ่น ยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิต ยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาท้องถิ่นเป็นแนวทาง ใช้ปรัชญาของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาพรวม "รวมพลังปัญญาของแผ่นดิน" การประชุมครั้งนี้ยังสอดคล้องกับการขับเคลื่อนตาม "ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"  ตาม "ยุทธศาสตร์ใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระราโชบาย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579)"  โดยแต่ละมหาวิทยาลัยราชภัฏได้เสนอโครงการสำคัญ (Flagship Project) ที่มีเป้าประสงค์และตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับนโยบายสำคัญของรัฐบาล เป็นงานตามบทบาทและพันธกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏ และเป็นโครงการที่มีพื้นที่ให้บริการในจังหวัดที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน โดยมุ่งเน้นเสนอกรอบโครงการตามพันธกิจ ได้แก่ (1) การพัฒนาท้องถิ่น  (2) การผลิตและพัฒนาครู (3) การยกระดับคุณภาพการศึกษา และ  (4) การพัฒนาระบบบริหารจัดการ
สำหรับการประชุมปฏิบัติการในวันที่ 20 ตุลาคม 2560 เวลา 13.00 น. ณ หอประชุมวชิราลงกรณ ที่ประชุมชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏ ได้รับเกียรติจาก ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติบรรยายและมอบนโยบายในหัวข้อ "Thailand 4.0 กับบทบาทของมหาวิทยาลัยราชภัฏ" ซึ่งมีสาระสำคัญชี้ให้เห็นถึงทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะ 20 ปี ตามยุทธศาสตร์ชาติที่เกิดจากการสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกในด้านต่างๆ ซึ่งเป็นแรงกดันจากภายนอก ประเทศไทยและคนไทยจึงจำเป็นต้องทำปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์  สำคัญคือ "โลกเปลี่ยน คนปรับ" ทั้งวัฒนธรรมการดำรงชีวิต การเรียนรู้ และการทำงาน โดยระดับประเทศได้กำหนดกรอบยุทธศาสตร์ของชาติไว้ในระยะ 20 ปี ที่เรียกว่า "ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี" มีวิสัยทัศน์พัฒนาประเทศไปสู่ ประเทศไทย 4.0 ที่มีความ "มั่นคง มั่งคัง ยั่งยืน"
       หลังจากจบการบรรยายและการให้นโยบายของท่าน ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ที่มีต่อชาวราชภัฏแล้ว ที่ประชุมได้นำเสนอกรอบแนวคิดและโครงการ "ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"  ซึ่งให้เกียรตินำเสนอโดย ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน ที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี  โดยสาระสำคัญของการนำเสนอเป็นกรอบแนวคิด เป้าหมาย ผลผลิตผลลัพธ์ และผลกระทบที่จะเกิดจากการรวมพลังของชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่งสาระสำคัญเกิดจากการสังเคราะห์โครงการสำคัญๆ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ 38 แห่ง แห่งละ 3 โครงการ  รวมทั้งหมด 114 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการที่อาจเรียกว่า Flagship Project ที่มีผลผลิตและผลกระทบต่อท้องถิ่นอย่างชัดเจน ตอบโจทย์ทิศทางการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการยกระดับคุณภาพชีวิตและคุณภาพการศึกษในระดับชุมชน ท้องถิ่น ซึ่งเป็นระดับฐานรากสำคัญของประเทศที่มหาวิทยาลัยราชภัฏกระจายกันอยู่ในพื้นที่ทั่วประเทศ หลังการนำเสนอ ท่าน ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ได้ให้ความเห็นว่ากรอบการดำเนินงานตามที่ได้นำเสนอ ตรงกับกรอบนโยบายและทิศทางการพัฒนาประเทศ และนับเป็นบทบาทสำคัญของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ทั้งนี้ ขอให้มหาวิทยาลัยราชภัฏได้เตรียมการ ดำเนินการปรับโครงการให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อดำเนินการเสนอในขั้นต่อไป อาจเชิญนายกรัฐมนตรีได้รับฟังการนำเสนอ โดยจะพิจารณาสนับสนุนงบประมาณให้มหาวิทยาลัยราชภัฏดำเนินการต่อไปอย่างเป็นรูปธรรม
   สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้เสนอโครงการในการขับเคลื่อน "ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"  จำนวน 3 โครงการ ได้แก่
  1. โครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานการให้บริการในระบบผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาชายแดนใต้ (พ.ศ. 2562 - 2579)  รับผิดชอบหลักโดยสถาบันพัฒนาครูและคณะครุศาสตร์ และคณะที่มีหลักสูตรสาขาด้านครุศาสตร์
  2. โครงการศูนย์การศึกษาและวิจัยด้านอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารฮาลาล (อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี)  รับผิดชอบหลักโดยคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. โครงการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการท่องเที่ยวและการบริการจังหวัดชายแดนภาคใต้ รับผิดชอบหลักโดยคณะวิทยาการจัดการ และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

        ทั้งนี้ การดำเนินงานทั้ง 3 โครงการดังกล่าว สอดคล้องกับโครงการสำคัญ (Flagship Project) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาสู่มาตรฐานความเป็นเลิศระยะ 10 ปี พ.ศ. 2560-2569  อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องปรับเป้าหมาย ผลลัพธ์ และผลกระทบ และตัวชี้วัดสำคัญของโครงการให้สอดคล้องกับ "ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น" ในภาพรวมอีกครั้ง ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความสอดคล้อง เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้การติดตามประเมินผลในภาพรวมของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป 




 แหล่งอ้างอิง

วันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2560

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่เน้นการใช้ ICT


เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่เน้นการใช้ ICT ประยุกต์ใช้ร่วมกัน ได้แก่ การใช้ระบบต่างๆ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ที่รองรับและมีบุคลากรสนับสนุน ท่านที่สนใจโปรดติดต่อที่ชั้น 5 อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ (http://ccenter.yru.ac.th/ite)

1) ระบบอีเลิร์นนิ่ง (http://elearning.yru.ac.th) บริหารจัดการชั้นเรียนด้วยระบอีเลิร์นนิ่งของมหาวิทยาลัยราชภักยะลา  เชื่อมโยงฐานข้อมูลนักศึกษากับรายชื่อนักศึกษาที่ลงทะเบียนในฐานข้อมูลกองบริการการศึกษา (http://register.yru.ac.th) ข้อดีของระบบอีเลิร์นนิ่ง คือ สามารถติดตาม (Tracking) ผู้เรียนได้อย่างเป็นระบบ ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ได้หลากหลาย บันทึกคะแนนกิจกรรมไว้ในฐานข้อมูล เพื่อ Export ออกมาเป็นไฟล์ Excel นำมาประมวลผลเพื่อเป็นคะแนนวัดและประเมินผลได้

2) การใช้ Google App for Education สำหรับการจัดการเรียนรู้ผ่านระบบคลาวน์คอมพิวติ่ง เช่น  Google Drive สำหรับจัดเก็บข้อมูลออนไลน์ Google Doc สำหรับการจัดทำเอกสารรายงาน Google Slide สำหรับการจัดทำสไลด์นำเสนองานร่วมกันเป็นทีม Google+ สำหรับสร้างชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำเสนอผลงาน Google Blog (www.blogspot.com) สำหรับบันทึกผลการเรียนรู้แต่ละครั้ง บันทึกเป็นแฟ้มผลงานของนักศึกษา ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์และการเขียนแบบกึ่งทางการ (วิชาการ) ฝึกทักษะการใช้ภาษาไทย Google Youtube ฝึกทักษะการผลิตและเผยแพร่คลิปวิดีโอ
   ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นทักษะจำเป็นในการประกอบอาชีพและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผู้สนใจติดตามรายละเอียดได้ที่เว็บบล็อก http://ict-bl.blogspot.com หรือ http://sirichai.yru.ac.th ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างนักศึกษา มรย. ให้มีอัตลักษณ์ "เก่งไอที" ร่วมกัน

  ทั้ง 2 เทคโนโลยีข้างต้น สามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ร่วมกันได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการกำหนดผลการเรียนรู้ (Learning Outcome: LO) ของรายวิชาว่าต้องการให้นักศึกษาเกิดและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมใด ตามกรอบ TQF 5 ด้าน จากนั้นจึงจะออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้เทคโนโลยีีที่ปัจจุบันมีหลากหลายให้เลือกใช้ อย่างไรก็ตาม ผู้สอนจำเป็นต้องพัฒนาตนเองให้สามารถใช้ทักษะเทคโนโลยีเหล่านี้ให้เชี่ยวชาญ ไม่เช่นนั้นต่อไป อาจจะไม่สามารถจัดการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาใน "ยุค Gen Y" หากผู้สอนยังอยู่ในยุค "Gen X" หรือ "Baby Boomer"

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ICT-based Learning:ICT-BL @ ดร.ศิริชัย นามบุรี: การเรียนรู้จากผลงานวิจัย: การออกแบบกิจกรรมนำเสนอผล...: ทักษะการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21 นับเป็นทักษะสำคัญของผู้สอนในยุคนี้ ที่จะต้องเน้นทักษะการออกแบบสถานการณ์การเรียนรู้ ให้สอ...

วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2560

นโยบายการขับเคลื่อน สวท. 4.0 (ARITC 4.0) สนับสนุนการมุ่งไปสู่ YRU 4.0 ในระยะ 10 ปี

      ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2557-2560) สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ สวท. (http://aritc.yru.ac.th) นับเป็นหน่วยงานที่บริหารจัดการเชิงรุก บริหารแบบมุ่งเน้นผลงาน โดยใช้แผนยุทธศาสตร์เป็นกลไกและแนวทางในการบริหารงาน สำคัญที่สุดคือการสร้างความรู้ความเข้าใจ ทักษะและประสบการณ์ด้านการพัฒนาและการนำแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงานไปลงมือปฏิบัติจริง โดยกำหนดเป้าหมายขององค์กรร่วมกันและดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งที่ผ่านมีผลงานเป็นเชิงประจักษ์อย่างเป็นรูปธรรม

       จากการที่ผู้บริหารและบุคลากรร่วมกันกำหนดตัวชี้วัดรายบุคคล (KPIs) ของบุคลากรเองและของผู้บริหาร ที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดของ สวท.รับผิดชอบจากการถ่ายทอดจากตัวชี้วัดแผนยุทธศาสตร์ ของมหาวิทยาลัย จนมีผลทำให้มีผลการประเมินคุณภาพภายในหน่วยงานสนับสนุน (ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด) อยู่ในระดับดีมากต่อเนื่องมาตลอดมา

   สำหรับอนาคตและทิศทางในระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2561-2564) ของ สวท. โดยการขับเคลื่อนภายใต้การนำของ อาจารย์ปรีชา พังสุบรรณ ผู้อำนวยการ และคณะผู้บริหาร รวมทั้งบุคลากรใน สวท. ก็ยังคงใช้แนวทางการการบริหารงานโดย "การบริหารเชิงยุทธศาสตร์" มุ่งเน้นพัฒนาด้วยการประยุกต์ใช้หรือสร้างนวัตกรรมขององค์กร เสริมสร้างศักยภาพบุคลากรให้เป็นมืออาชีพ มีศักยภาพในการแข่งขัน มุ่งพัฒนา สวท.  ให้เป็น "สวท.4.0" หรือ "ARITC 4.0"  เพื่อให้เป็นองค์กรต้นแบบ มีแนวปฏิบัติที่ดี มีนวัตกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้หน่วยงาน และมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาต่อไป

(1) นำแนวทางการพัฒนา "ระบบราชการ 4.0" สู่การพัฒนาให้เป็น  "สวท.4.0" 




(2) แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเพื่อการยกระดับสู่ความมาตรฐานความเป็นเลิศ ระยะ 10 ปี พ.ศ. 2560-2564 



(3) มุ่งพัฒนาสมรรถนะหลักของบุคลากรตามกรอบสมรรถนะหลัก (Core Competency) ของมหาวิทยาลัย



ที่มา: ธณิตสรณ์ จิระพรชัย (2558)

(4) ร่วมสร้างค่านิยมองค์กร (Core Valued) เพื่อให้เป็นพฤติกรรมถาวรจนเป็น "วัฒนธรรมองค์กรคุณภาพ" 

ตัวอย่างการกำหนด (ร่าง) ค่านิยมร่วมองค์กร มรย.-สวท. 

ม  :  มุ่งมั่นผลสัมฤทธิ์ เป็นมืออาชีพ
ร  :  รู้ รัก สามัคคี 
ย  : ยกย่องคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสามารถ และยึดประโยชน์ส่วนรวม
ส  : ซื่อสัตย์สุจริต จริงใจต่อกัน
ว  : มีวินัย ใส่ใจรับผิดชอบ
ท : ทำให้ง่าย (คิดค้น พัฒนา แก้ไขให้ทำงานง่าย ไม่ซับซ้อน บริการจุดเดียว สร้างนวัตกรรม และมูลค่าเพิ่ม)

วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2560

สำนักงาน กสทช ภาค 4 จัดสัมมนาผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ครั้งที่ 4 ประจำปี 2560

เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา ณ โรงแรม ซี เอส ปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ภาค 4 สงขลา จัดการสัมมนาผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติตามกฏหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ประจำปี 2560 ครั้งที่ 4 ให้กับผู้รับใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการกระจายเสียง และสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่ในระบบเอฟเอ็มและเอเอ็ม ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

ภายในงานมีการให้ความรู้ในเรื่องผลกระทบจากปัญหาวิทยุกระจายเสียงรบกวนการสื่อสารการบินและวิทยุช่วยเดินอากาศ โดยคุณสมเกียรติ แก้วไชยะ ผู้จัดการงานวิศวกรรมจราจรทางอากาศ และคุณสายชล ส่งเจิม จากบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด มาตรฐานทางเทคนิคการแพร่กระจายคลื่นวิทยุกระจายเสียงเพื่อลดปัญหาการรบกวน โดยคุณพันธ์ศักดิ์ ปลอดเอี่ยม รักษาการแทนผู้อำนวยการส่วนกำกับการตรวจสสอบคลื่นความถี่ สำนักงาน กสทช. ภาค 4 การปฏิบัติตามกฏหมายว่าด้วยการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหารและยา โดยคุณดุริพัธ แจ้งใจ เภสัชกรชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสงขลา และบทบาทและแนวทางกำกับดูแลเนื้อหารายการการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหารและยา โดยคุณทิพย ชุติธรพงศ์ และช่วงท้ายมีการมอบประกาศนียบัตรให้กับผู้ร่วมสัมมนา โดยได้รับเกียรติจากคุณสุธระ พึ่งธรรม รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงาน กสทช. ภาค 4









วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาในอนาคตตามแผนยุทธศาสตร์ระยะ 10 ปี พ.ศ. 2560-2569

การจัดโครงการอบรมปฏิบัติการ การปฐมนิเทศและพัฒนาศักยภาพบุคลกรใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาในวันที่ 20 สิงหาคม 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาในอนาคต ตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาสู่มาตรฐานความเป็นเลิศระยะ 10 ปี พ.ศ. 2560-2569 เพื่อให้บุคลากรใหม่ของมหาวิทยาลัยฯ ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานและพัฒนาตัวเองให้สอดคล้องกับเป้าประสงค์และตัวชี้วัด (KPIs) ของแผนยุทธศาสตร์ฯ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรร่วมกันโดยรับผิดชอบตัวชี้วัดรายบุคคลที่ได้รับการถ่ายทอดจากหน่วยงานที่สังกัด หรือเป็น KPIs ของแต่ละคนที่ใช้เป็นเครื่องมือการวัดและประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี โดยมีเอกสารประกอบการอบรมปฏฺิบัติการดังนี้


วันพฤหัสบดีที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2560

วันที่ 17 สิงหาคม 2560 เวลา 09.00 - 12.00 น. นางสาวทิชากร  ทัศนเบญจกุล หัวหน้างานพัสดุ พร้อมด้วยนางปริณดา  คลาดแคล้ว เป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุมสัมมนาผลการวิเคราะห์พฤติกรรมในการจัดซื้อจัดจ้าง ของส่วนราชการในจังหวัดยะลา จัดโดย สำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดยะลา ณ ห้องประชุมปัญจเพชร ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมี นายวรเชษฐ พรมโอภาษ รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เป็นประธานในการประชุม ซึ่งเป็นหารือ และร่วมรับฟังข้อเสนอแนะแนวทางในการปฏิบัติงาน ของ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดยะลา ในเรื่องของการจัดหาพัสดุโดยวิธีพิเศษ ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการเกิดการโปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นไปในแนวทางเดียวกันของทุกส่วนราชการ ในการนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้นำไปปรับแนวทางในการดำเนินการตามข้อเสนอแนะต่อไป