วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2564

รายงานสรุปผลการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564


วันนี้ ( ๒๓ กันยายน ๒๕๖๔) เวลา ๑๕.๐๐ น. สำนักงานประกันคุณภาพจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ครั้งที่  ๑/๒๕๖๔ ประชุมแบบออนไลน์ โดยมีอาจารย์ ดร.ศิริชัย  นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหารเป็นประธานในการประชุม และคณะกรรมการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เข้าร่วมประชุม การประชุมคณะกรรมการดำเนินงานบริหารความเสี่ยงมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีวาระให้ทั้ง 7 ส่วนราชการรายงานผลการบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน การพิจารณารายงานผลการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการฯ เพื่อดำเนินงานและจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยในปีถัดไป สำหรับสรุปผลการบริหารความเสี่ยงฯ ทั้ง 8 ประเด็นดังนี้

สรุปประเด็นที่มีความเสี่ยงลดลง
มี
5 ประเด็น ดังนี้
    

          1. จำนวนนักศึกษาใหม่ลดลงและไม่เป็นไปตามแผนรับระดับความเสี่ยง
         2. รายได้ของมหาวิทยาลัยลดลง อาจไม่เพียงพอต่อการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร
         3. ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมีจำนวนลดลง ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม
         4. ลูกหนี้เกินกำหนดระยะเวลา
         5. ความปลอดภัยด้านสถานที่และทรัพย์สินของทางราชการ

สรุปประเด็นที่มีความเสี่ยงเท่าเดิม 3 ประเด็น ดังนี้

    1. การติดเชื้อไวรัส Covid -19 ของบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย
            2. การเสียโอกาสจากการปรับเปลี่ยนให้เป็นองค์กรดิจิทัล (Digital Trans-formation) ในการพัฒนามหาวิทยาลัย
            3. ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยอาจไม่เป็นที่ยอมรับของตลาดแรงงานในอนาคต

   ทั้งนี้มีข้อเสนอแนะจากที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เพื่อนำไปใช้ในการบริหารจัดการความเสี่ยงในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565  ดังนี้
    1. ประเด็นความเสี่ยงใดที่ยังมีระดับความเสี่ยงสูง ให้นำไปบริหารจัดการความเสี่ยงในปีงบประมาณถัดไป
      2. ในทุกประเด็นความเสี่ยง ควรวิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยงที่เป็นปัจจัยภายนอก หรือความเสี่ยงแท้ เพื่อจะทำมาตรการให้ความเสี่ยงลดลง

        3. จัดทำปฏิทินการบริหารความเสี่ยง เพื่อกำกับและติดตามผลการดำเนินงานในทุกเดือน
        4. จัดการความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยง
        5. นำเอานวัตกรรม (โปรแกรมด้านการบริหารความเสี่ยง) มาใช้ในการวิเคราะห์และบริหารความเสี่ยง
        6. หากมีหน่วยงานใดที่ดำเนินการด้านการบริหารความเสี่ยง ที่มีผลงานโดดเด่นให้มีการมอบรางวัล best practice ด้านการบริหารความเสี่ยง