วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2564

สำนักงานประกันคุณภาพ จัดกิจกรรมอบรมปฏิบัติการ "การเตรียมความพร้อมองค์กรเข้าสู่การจัดอันดับมหาวิทยาลัย" (แบบออนไลน์)

 

วันที่ 7 กันยายน 2564 สำนักงานประกันคุณภาพ จัดอบรมปฏิบัติการ "การเตรียมความพร้อมองค์กรเข้าสู่การจัดอันดับมหาวิทยาลัย" (แบบออนไลน์) การจัดกิจกรรมในครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารและบุคลากรของมหาวิทยาลัยมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินของ U-Multirank และ Times Higher Education (THE) เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมรับการประเมินและพัฒนามหาวิทยาลัยเข้าสู่การจัดอันดับองค์กรซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาได้กำหนดตัวชี้วัดในแผนยุทธศาสตร์ 20 ปีของ

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าประสงค์ มหาวิทยาลัยได้รับการยอมรับโดยมีแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมและสนับสนุนมหาวิทยาลัยเพื่อเข้าสู่ระบบการจัดอันดับตามเกณฑ์ขององค์กรที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.ศิริชัย  นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในพิธีเปิด และได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ใกล้รุ่ง สามารถ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเคราะห์ข้อมูล จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เป็นวิทยากร ถ่ายทอดความรู้ 



        ทำไมต้อง Ranking = สะท้อนคุณภาพของมหาวิทยาลัย
                                        เปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่น 
                                        นำไปสู่แผนพัฒนาวิทยาลัย

        แนวทางปฏิบัติในการเข้าสู่การจัดอันดับมหาวิทยาลัย = ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเข้าใจตรงกัน เข้าใจตัวชี้วัดของการจัดอันดับในแต่ละสถาบัน (ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ) ทำ Gap Analysis (ยังขาดข้อมูลส่วนไหน ต้องปรับปรุงอะไรบ้าง) สร้างระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัย คณะ สาขา/ภาควิชา หลักสูตร)

        U-Multirank คือ เป็นการจัดอันดับที่เริ่มใช้ในปี 2014 โดย European Commission เปรียบเทียบมากกว่า 1,700 มหาวิทยาลัย จาก 92 ประเทศ โดยเปรียบเทียบในระดับสถาบัน และระดับสาขา 24 สาขา (ปี 2020)

          เปรียบเทียบมหาวิทยาลัยจากผลงานใน 5 ด้าน 1. Teaching&Learning 2. Research 3. Knowledge transfer 4. International orientation 5. Regional engagement  มีตัวชี้วัดย่อย 29 ตัวชี้วัด (ระดับสถาบัน) และมากกว่า 30 ตัวชี้วัด (ระดับสาขา)

          ข้อดีของ U-Multirank  คือ ไม่มี minimum requirement สำหรับมหาวิทยาลัยในการเข้าร่วมจัดอันดับ ประเมินแยกตามสาขาและมีความหลากหลายของตัวชี้วัดในทุก ๆ ด้าน ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนเชิงพาณิชย์  และเป็นเครื่องมือให้กับผู้บริหารในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย

          THE INPACT RANKINGS ที่มาและความสำคัญ คือ เป็นการจัดอันดับ SDG แยกรายข้อ วัดบทบาทของมหาวิทยาลัยในการมีส่วนช่วยเหลือ SDG แต่ละข้อ และทุกมหาวิทยาลัยสามารถเข้าร่วมการจัดอันดับได้ 

           วิธีการ แต่ละข้อ SDG จะมีตัวชี้วัดย่อยและมีการคำนวณคะแนนและจัดอันดับรายข้อ SDG 17 เป็นข้อบังคับ และมหาวิทยาลัยเลือกส่ง SDG อื่น ๆ อย่างน้อย 3 ข้อ ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกปี และต้องมีหลักฐานประกอบการประเมินทุกตัวชี้วัด (ประกาศนโยบาย รายงาน เว็บไซต์ ฯลฯ)


เอกสารประกอบการอบรม