วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560

TCAS : ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2561

ด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้ ทปอ. (ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย) พิจารณาปรับรูปแบบการรับเข้าศึกษา โดยมีหลักการสำคัญ คือ ให้นักเรียนอยู่ในห้องเรียนจนจบหลักสูตร ให้จัดการสอบเพื่อการคัดเลือกได้หลังจากนักเรียนเรียนจบหลักสูตรโดยใช้ข้อสอบของส่วนกลาง และให้มีการบริหารสิทธิ์ในการสมัครเข้ามหาวิทยาลัย โดยที่ประชุม ทปอ. จำนวน 30 แห่ง ร่วมกันพิจารณากระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อต้องการให้เกิดความเท่าเทียมกัน ซึ่งจะเริ่มใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป ซึ่ง ทปอ.ราชภัฏ และ ทปอ.ราชมงคล ได้รับหลักการในการเข้าร่วมดำเนินการตามแนวทางนี้ด้วย


TCAS หรือ Thai University Center Admission System เป็นระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งจะเริ่มนำมาใช้ในปีการศึกษา 2561 โดยหลักการสำคัญของ TCAS คือ

1. นักเรียนควรอยู่ในห้องเรียนจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
2. ผู้สมัครแต่ละคนมีเพียง 1 สิทธิ์ในการตอบรับในสาขา
    วิชาที่เลือก เพื่อความเสมอภาค
3. สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
    จะเข้าระบบ Clearing House เพื่อบริหาร 1 สิทธิ์ของ
    ผู้สมัคร

ระบบ TCAS จะแบ่งการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย 5 รอบ ได้แก่

รอบที่ 1  การรับด้วย Portfolio โดยไม่มีการสอบข้อเขียน : สำหรับนักเรียนทั่วไป นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ นักเรียนโควตา นักเรียนเครือข่าย ให้นักเรียนยื่นสมัครโดยตรงกับสถาบันอุดมศึกษา

รอบที่ 2  การรับแบบโควตาที่ีมีการสอบข้อเขียนหรือข้อสอบปฏิบัติ : โดยมีเงื่อนไขต่างๆ ระบุไว้ สำหรับนักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่หรือโควตาของโรงเรียนในเครือข่าย และโครงการความสามารถพิเศษต่างๆ ซึ่งสถาบันจะประกาศเกณฑ์การสอบให้นักเรียนยื่นสมัครโดยตรงกับสถาบันอุดมศึกษาและเข้ารับการคัดเลือกตามเกณฑ์การสอบ

รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน : สำหรับนักเรียนในโครงการกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) โครงการอื่นๆ และนักเรียนทั่วไป โดย ทปอ. เป็นหน่วยกลางในการรับสมัคร นักเรียนสามารถเลือกได้ 4 สาขาวิชาโดยไม่เรียงลำดับ แต่ละสถาบันอุดมศึกษากำหนดเกณฑ์ที่เป็นอิสระของตนเอง

รอบที่ 4 การรับแบบ Admission : สำหรับนักเรียนทั่วไป โดย ทปอ. เป็นหน่วยกลางในการรับสมัคร นักเรียนสามารถเลือกสมัครได้ 4 สาขา แบบมีลำดับ โดยใช้เกณฑ์ค่าน้ำหนักตามที่ประกาศไว้ล่วงหน้า 3 ปี

รอบที่ 5 การรับตรงอิสระ : สถาบันอุดมศึกษารับโดยตรงด้วยวิธีการของสถาบันเอง เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนต่อ

การสอบคัดเลือกในแต่ละรอบเมื่อรับเสร็จจะทำการ Clearing House กล่าวคือ นักเรียน 1 คน มี 1 สิทธิ์ในการยืนยันการเข้าศึกษาต่อในสาขาที่สอบได้ เมื่อยืนยันแล้วระบบจะตัดชื่อออกจากการมีสิทธิ์สมัครสอบรอบต่อไป หากต้องการสมัครรอบต่อไปต้องสละสิทธิ์ก่อน แต่หากมีการสมัครครั้งต่อไปโดยไม่สละสิทธิ์แล้วผ่านการคัดเลือกจะถือเป็นโมฆะ

ดังนั้น การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ทั้ง 5 รอบข้างต้น มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้ยืนยันการเข้าร่วม ระบบ TCAS ได้แก่ รอบที่ 1  รอบที่ 2  รอบที่ 3 และ รอบที่ 5 ยกเว้นรอบที่ 4 ที่ไม่เข้าร่วม  นับตั้งแต่นี้ไป ทุกหลักสูตรที่เปิดสอนในปีการศึกษา 2561 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จะต้องตระหนักและให้ความสำคัญที่จะสรรหานักศึกษาในพื้นที่มาเข้าเรียนในหลักสูตรที่เปิดการเรียนการสอนในระบบ TCAS ต่อไป

ลิงค์ : ปฏิทินการดำเนินการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561

ที่มา : ข้อมูลเอกสารประกอบการประชุมการชี้แจงของ ทปอ. 

วันอังคารที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2560

km: กระบวนการบริหารความเสี่ยง

งานพัสดุ กองกลาง
               เมื่อวันที่ 13 - 14 มิ.ย. 2560 นางสุมล  เพ็ชร์แก้ว ผู้อำนวยการกองกลาง พร้อมด้วย นางสาวทิชากร  ทัศนเบญจกุล หัวหน้างานพัสดุ และนางปริณดา  คลาดแคล้ว นักวิชาการพัสดุ เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการ "การควบคุมภายในและบริหารความเสี่ยง" ณ ห้องประชุมจุติ โรงแรมหรรษาเจบี หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อให้บุคลากรเกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการประเมินคุณธรรมความโปร่งใส ผลประโยชน์ทับซ้อน และกระบวนการบริหารความเสี่ยง ซึ่งเป็นหน้าที่ของทุกคน ที่ต้องร่วมกันคิดและบริหารความเสี่ยง
               แนวความคิดกระบวนการบริหารความเสี่ยง คือ ความไม่แน่นอน เป็นบ่อเกิดของเสี่ยง ความไม่แน่นอน เป็นสิ่งที่แน่นอน ความเสี่ยงเป็นสิ่งที่ไม่อาจห้าม ไม่ให้เกิดขึ้นได้ ความเสี่ยงเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ต้องรู้จักหาวิธีที่จะจัดการความเสี่ยง เพราะอย่างนั้น มหาวิทยาลัยฯ จึงต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการบริหารความเสี่ยง ความเสี่ยง ไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้

วันพุธที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2560

การจัดการความรู้ : การเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน km.yru.ac.th

การจัดการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรจะต้องดำเนินการ เพื่อนำไปพัฒนาองค์กรและพัฒนาบุคลากรให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งหลายหน่วยงานได้มีการจัดการเรียนรู้ที่ครอบคลุมทุกด้าน ได้แก่ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การบริหารจัดการองค์การ และการปฏิบัติงานในองค์กร เพียงแต่ทุกหน่วยงานยังขาดการนำการจัดการเรียนรู้ไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม

จากปัญหาดังกล่าว มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นำโดย ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ได้เป็นวิทยากรในการจัดกิจกรรมอบรมปฏิบัติการ เรื่อง การจัดการความรู้:การเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน km.yru.ac.th ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน 2560 เวลา 09.00 - 12.00 น. ณ ห้อง 25-601 อาคารเทคโนโลยี โดยมีบุคลากรจากทุกหน่วยงาน จำนวน 35 คนเข้าร่วมอบรมเพื่อรับความรู้นำไปปรับประยุกต์ใช้ในการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน km.yru.ac.th



ดังนั้น เว็บไซต์ km.yru.ac.th จึงถือเป็นจุดศูนย์กลางในการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ซึ่งบุคลากรทุกหน่วยงานสามารถที่จะนำเรื่องราวในการจัดการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์มารวบรวมไว้ มาเผยแพร่และเรียนรู้ร่วมกัน จนนำองค์กรไปสู่ "มหาวิทยาลัยคลังปัญญาแห่งชายแดนใต้" ได้อย่างสมบูรณ์



วันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2560

การจัดการความรู้ : การเคลียร์รายงานการเดินทางไปราชการ (สำนักงานเลขานุการฯ)

          สำนักงานเลขานุการ สำนักงานอธิการบดี  ได้จัดประชุมบุคลากรภายในสำนักงานเลขานุการฯ ครั้งที่ 1/2560 ในวันที่  16  มีนาคม  2560  ณ ห้องประชุมกลาดี  อาคาร 20 โดยมีนางฐานิดา  เดือนจำรูญ ผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการฯ เป็นประธาน  โดยการประชุมในครั้งนี้ ได้มีการพูดถึงเรื่องการจัดการความรู้ ภายในสำนักงานเลขานุการฯ ว่าสำนักงานเลขานุการฯ จะดำเนินการการจัดการความรู้เรื่องอะไร ซึ่งในที่ประชุมได้มีการเสนอหัวข้อที่จะดำเนินการ 3 เรื่อง ดังนี้  1. การทำงานเป็นทีม  2.การสื่อสาร  และ 3. การเคลียร์รายงานการเดินทางไปราชการ  ซึ่งในที่ประชุมได้สรุปให้เลือก เรื่อง การเคลียร์รายงานการเดินทางไปราชการ เป็นการจัดการความรู้ ของสำนักงานเลขานุการฯ โดยสำนักงานเลขานุการฯ ได้เลือกเรื่องการเคลียร์รายงานการเดินทางไปราชการ เนื่องจากการเคลียร์รายงานการเดินทางไปราชการแต่ละครั้งจะเกิดข้อผิดพลาดบ่อยมาก งานการคลังจะคืนเรื่องกลับมาให้แก้ไขอยู่บ่อยครั้ง  ดังนั้นสำนักงานเลขานุการฯ จึงพิจารณาจัดทำการจัดการความรู้เรื่อง การเคลียร์รายงานการเดินทางไปราชการ ของสำนักงานเลขานุการฯ ขึ้น  โดยสำนักงานเลขานุการฯ ได้เชิญบุคลากรภายในงานการคลังมาให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเคลียร์รายงานการเดินทางที่ถูกต้อง

การประชุมสำนักงานเลขานุการฯ ครั้งที่ 1/60 วันที่  16  มี.ค. 60













และหลังจากได้ข้อมูล ระเบียบ และหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเคลียร์รายงานการเดินทางไปราชการ จากบุคลากรในงานการคลังแล้ว สำนักงานเลขานุการฯ โดยนายธีรยุทธ์  สัจจะบุตร ได้ดำเนินการจัดทำแบบฟอร์มรายงานการเดินทางไปราชการ ด้วยระบบ Excel ซึ่งมีทั้งหมดซึ่งมีจำนวน 5 หน้า  และนายธียุทธ์ สัจจะบุตร ได้ทดลองใช้แบบฟอร์มรายงานการเดินทางไปราชการ โดยการเคลียร์รายงานการเดินทางไปราชการของการประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 3/60 เมื่อวันที่  28 เมษายน 2560  ที่ผ่านมา  ซึ่งการเคลียร์รายงานการเดินทางไปราชการของกรรมการสภาแต่ละท่านใช้เวลาประมาณ 7 นาที ต่อ 1 คน 1 ชุด  และทำให้สะดวกรวดเร็วต่อการนำส่งรายงานการเดินทางไปราชการต่องานการคลัง




ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับบุคลากรงาน
การคลัง วันที่ 12 มิ.ย. 60


 หากการทดลองใช้ การจัดการความรู้ เรื่อง การเคลียร์รายงานการเดินทางไปราชการ จากบุคลากรภายในสำนักงานเลขานุการฯ ได้ผลหรือมีประโยชน์ทำให้สะดวกและเร็วต่อการทำงาน  สำนักงานเลขานุการฯ จะดำเนินการออกเป็นแนวปฏิบัติ เพื่อให้ปฏิบัติงานใช้ร่วมกันภายในสำนักงานอธิการบดีต่อไป


การประชุมสำนักงานเลขานุการฯ ครั้งที่ 2/60 วันที่ 7  มิ.ย. 60

วันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2560

การจัดการความรู้:ทักษะการทำงานเป็นทีม-สำนักงานอธิการบดี

สำนักงานอธิการบดี

              เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2560  เวลา 09.00 - 12.00 น. สำนักงานอธิการบดีได้มีการจัดอบรมให้แก่บุคลากรภายในสำนักงานอธิการบดี ในเรื่อง ทักษะการทำงานเป็นทีม โดยเชิญ อาจารย์กอเดช  อ้าสะกะละ รองคณบดี คณะครุศาสตร์ เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ในประเด็นเรื่อง ทักษะการทำงานเป็นทีม โดยรูปแบบการจัดอบรมเป็นลักษณะการทำกิจกรรม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน



             และในภาคบ่าย เวลา 13.00 - 16.00 น. เป็นกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน กับ 6 ส่วนราชการ โดยมีผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งหมด 28 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม เพื่อร่วมกันหาแนวทางปฏิบัติที่ดีในหัวข้อ "การทำงานเป็นทีม" และได้ข้อสรุปออกมาเพื่อแนวทางในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานอธิการบดี


บทสรุปทักษะการทำงานเป็นทีม : สำนักงานอธิการบดี



วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2560

สรุปการศึกษาดูงาน ณ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

สรุปการศึกษาดูงาน ณ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
 บุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศได้เดินทางไปศึกษาดูงาน ณ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรสำนักวิทยบริการฯ ได้รับประสบการณ์ ความรู้แนวคิดในการพัฒนาห้องสมุดให้เป็น Green Library จากการศึกษาดูงานมาประยุกต์ใช้พัฒนาสำนักวิทยบริการฯ ให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานทั้งด้านบริการ ด้านการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ และสนับสนุนในการขับเคลื่อนนโยบายห้องสมุดปัญญาภิรมย์ โดยได้ศึกษาดูงาน 3 ประเด็นดังนี้
       1. การปรับปรุงห้องสมุด
         สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.ราชภัฏเพชรบุรี ได้มีการพัฒนาโดยได้งบประมาณในการปรับปรุงจำนวน 12 ล้านบาท ซึ่งได้ใช้งบดังกล่าวในการปรับปรุงห้องน้ำ และปรับทัศนียภาพ ณ ชั้น 1 ซึ่งมีการจัดทำชั้นหนังสือที่ปรับปรุงใหม่เป็นลักษณะโค้งๆ โดยได้ใช้หลอดไฟสีนีออนเพิ่มความเด่นให้แก่ชั้นวางหนังสือ และรวมรวบหนังสือใหม่ (5 ปีนับจากปัจจุบันย้อนลงไป) นำจัดให้บริการบนชั้นวางดังกล่าว ส่วนหนังสือเก่าที่ตีพิมพ์ตั้งแต่ 5 ปีย้อนหลังจะนำไปไว้ที่ชั้นวางหนังสือบริเวณชั้น 2 ขึ้นไป ส่วนชั้น 6 เน้นความเป็น smart classroom โดยมีห้องประชุมที่สามารถปรับให้เป็นห้องเรียนได้ เพื่อส่งเสริมให้ทั้งอาจารย์และนักศึกษาเข้าห้องสมุดมากที่สุด
       2. ห้องสมุดสีเขียว (Green Library)
         สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.ราชภัฏเพชรบุรี ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียวกับม.เกษตรศาสตร์ซึ่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีได้รับประทานเกียรติบัตรห้องสมุดสีเขียวจาก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุในวันที่ 23 มีนาคม 2560 ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2559 และเป็นห้องสมุดสีเขียวนำร่องในจำนวน 10 แห่งของมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ โดยมีสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้นแบบ)
        ตัวอย่าง การเปลี่ยนแปลงเพื่อความเป็นห้องสมุดสีเขียว ได้แก่ เปลี่ยนไฟเป็น LED เพื่อลดพลังงาน ครุภัณฑ์ซื้อใหม่ประหยัดไฟเบอร์ 5 ออกแบบอาคารให้เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงาน เครื่องถ่ายเอกสาร ปรับผนังเป็นกระจก ลดการใช้ไฟ ปรับภูมิทัศน์สีเขียวทั้งภายในและภายนอก หาต้นไม้เล็กๆ ใส่ในห้องสมุด ใช้อุปกรณ์ recycle ใส่ต้นไม้ การพิจารณาการใช้ไฟฟ้าของหน่วยงาน เป็นมูลค่ากี่บาท (ต้องแจ้งส่วนกลางให้ประเมินราคาให้) การใช้ปริมาณน้ำ มีการจดมิเตอร์น้ำ (เช็คการรั่วซึมของก็อกน้ำ) ควรติดตั้งมิเตอร์น้ำแบบดิจิทัล และเทียบคำนวณการใช้น้ำจากเว็บไซต์การประปา การคัดแยกขยะ ใช้วัสดุรีไซเคิล กล่องเอสี่เอามาใช้งานต่อ ป้ายประกาศใช้ปฏิทินเก่า ควบคุมการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์น้ำยาทำความสะอาดของแม่บ้าน มุมหนังสือส่งเสริมความรู้พลังงานและสิ่งแวดล้อม ชดเชยการใช้คาร์บอนฟุตปริ้นด้วยการปลูกต้นไม้ การติดแผงโซล่าเซลชั้นดาดฟ้า จัดเบรคห่อใบตอง กินขนมไทย น้ำใบเตย ดอกอัญชัน ระหว่างทำกิจกรรม ให้แทรกความเป็นกรีนเข้าไปด้วย การแยกเศษอาหารที่บุคลากรกิน เป็นต้น
       3. ทักษะการทำงานเป็นทีม (Teamwork skills)
         เจ้าหน้าที่ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.ราชภัฏเพชรบุรีมีการทำงานเป็นทีมในทุกงาน โดยเฉพาะการจัดโครงการต่างๆ ซึ่งได้มีการบูรณาการศาสตร์โดยเน้นคณาจารย์จากทุกคณะให้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสวท.ส่งเสริมการเรียนรู้ในสวท.ด้วยไปด้วยกันและจับมือกับคณะเพื่อจัดกิจกรรมในห้องสมุด เช่น มีการพัฒนาสื่อการสอนให้เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายไอทีจะช่วยปรับไฟล์ power point ให้เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้แก่อาจารย์ทั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็จะแบ่งงานกันประสานกับคณาจารย์ตามคณะต่างๆ รวมทั้งการจัดกิจกรรม ที่ไม่เลือกมุ่งเน้นด้านใดด้านหนึ่ง แต่จะพยายามจัดอะไรก็ได้ที่ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าห้องสมุดมากยิ่งขึ้นและเน้นให้นักศึกษาช่วยประชาสัมพันธ์ห้องสมุดซึ่งเจ้าหน้าที่ก็จะแบ่งกันประสานนักศึกษาตามคณะต่างๆเพื่อให้ช่วยกันประชาสัมพันธ์ห้องสมุดลงในเฟสบุ๊คและแท็ก สวท.ด้วย
   









วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2560

กระบวนการการเรียนรู้

กระบวนการเรียนรู้วิจัย บริหาร ปฏิบัติงานเพื่อการพัฒนาและการเรียนรู้องค์กร  และการแลกเปลี่ยนความรู้ ประเด็นและสาระสำคัญที่ได้จากการเข้าร่วมสัมมนาที่นำมาแลกเปลี่ยนกันที่น่าสนใจ มีดังนี้
  • การปรับตัวของอุดมศึกษาไทย ทำอย่างไรที่จะรองรับการพัฒนาวิสัยทัศน์ชาติ "มั่งคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" สู่ "ประเทศไทย 4.0" ด้วยวิกฤติคุณภาพการศึกษา คุณภาพบัณฑิตไทยที่ยังไม่ตอบสนองและสนับสนุนการพัฒนาไปสู่ประเทศไทย 4.0 หรือประเทศไทย 4.0 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดประดิษฐ์นวัตกรรม การสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยใช้บริบทของเทคโนโลยีของโลกที่ปรัลเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว 
  • การจัดการศึกษาที่เป็นแนวทางสนับสนุน Thailand 4.0 ที่สำคัญคือ ต้องปฏิรูปกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เน้น Active Learning ตัวอย่างเช่น การใช้ STEM (Science, Technology, Engineer, Mathematic) เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้  การพัฒนาโรงเรียนไปสู่  Innovative School ซึ่งจะเป็นรูปแบบที่ต่างปัจจุบัน เป็นต้น
  • ผลกระทบด้านการศึกษาของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้เรียนเป็นผู้เลือกในสิ่งที่สนใจและอยากเรียนรู้ เช่น เทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้แบบเปิดสำหรับผู้สนใจเรียนกลุ่มใหญ่แบบออนไลน์ ที่สามารถสมัครเข้าเรียนได้จากทั่วโลก เรียนกับผู้สอนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขา/วิชานั้นๆ จากอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับโลก หรือจากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ เมื่อเรียนเสร็จได้ในใบรับรองคุณวุฒิ ที่เรียกว่าระบบการเรียนการสอนแบบ MOOC (Massive Open Online Course) เช่น Edx (https://www.edx.org) Saylor (https://www.saylor.org) Coursera (https://www.coursera.org) Khan Academy (https://www.khanacademy.org) เป็นต้น ซึ่งนวัตกรรมการเรียนรู้เหล่านี้ จะตอบสนองกับผู้เรียนยุค Gen Y หรือ Gen i ที่ต้องการเรียนรู้ในสิ่งที่ต้องการรู้และนำไปใช้ได้จริงๆ เรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ มีชื่อเสียงระดับโลก ทำให้การจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยในรูปแบบปกติ ต้องนำไปพิจารณาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้กับระบบการ
  • เรียนการสอนในหลักสูตรปกติของมหาวิทยาลัย
  • นอกจากนั้น ด้านนโยบายการบริหารงานด้านไอซีทีขององค์กร จะต้องมีความชัดเจน และกำหนดมาตรฐานขึ้นมาใช้ทั้งองค์กร ได้แก่
    • การพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์กรภายใน จะต้องขออนุมัติในระดับนโยบาย เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกันและเป็นไปตามทิศทางการพัฒนาของมหาวิทยาลัย
    • การพัฒนาคน (ทั้งด้านนักพัฒนาระบบ และผู้เกี่ยวข้อง) จะต้องมีเป้าหมายให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • การพัฒนามาตรฐานการทำงานด้านไอซทีที่เป็นกรอบมาตรฐานสากล
    • การพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนในอนาคต มุ่งสร้างผลิตเพื่อหาหรือสร้างรายได้
    • ควรมีการพัฒนาระบบการมอบหมายงาน (KPIs) ของนักวิชาการคอมพิวเตอร์ให้ชัดเจน ตามหน้าที่หลัก
    • การมอบหมาย KPIs ให้บุคลากรในหน่วยงานผู้ใช้ระบบโดยตรง เพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบสารสนเทศตั้งแต่เริ่มต้น
    • ควรมีการจัดทำแผนบริหารเรื่องความเสี่ยงด้านไอซีที
    • การกำหนดบทบาทในการพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์กรให้ชัดเจน  เช่น  DBA, NA
    • เป้าหมายการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อตอบสนองการบริการท้องถิ่น โดยเฉพาะการผลิตระบบสารสนเทศตอบสนองโครงการต้นแบบสามเหลี่ยมเศรษฐกิจชายแดนใต้



กองนโยบายและแผน จัดกิจกรรมถอดบทเรียนการวิเคราะห์ต้นทุกกิจกรรม

               กองนโยบายและแผนจัดกิจกรรมถอดบทเรียนการจัดทำต้นทุนกิจกรรมหน่วยงานสนับสนุน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 และเตรียมการจัดทำต้นทุนกิจกรรมหน่วยงานสนับสนุน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 ในวันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09.00 - 10.25 น. ณ ห้องประชุมหลิวเหลียน อาคารคณะวิทยาการจัดการ โดยมี อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นประธาน กิจกรรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในส่วนของปัญหา แนวทางแก้ไข รวมถึงข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อพัฒนาการจัดทำต้นทุนกิจกรรมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับแนวทางการจัดทำงบประมาณโดยเน้นให้ทุกหน่วยงานมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอก เพื่อลดความซ้ำซ้อนและประหยัดทรัพยากร

สถานีวิทยุเพื่อการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมกับคณะครุศาสตร์ จัดค่าย “แนะแนวการศึกษาสู่อาชีพ”


สถานีวิทยุเพื่อการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาร่วมกับคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดค่ายแนะแนวการศึกษาสู่อาชีพ ณ อาคารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และอาคารคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ “พัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง” โดยมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น-ตอนปลาย จาก 16 โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดยะลาเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้


          อาจารย์จันจลี ถนอมลิขิตวงศ์ ประธานหลักสูตรการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กล่าวกับทีมงานสถานีวิทยุฯ ว่า กิจกรรมครั้งนี้ได้จัดขึ้น ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบาย ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับผิดชอบโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสืบเนื่องต่อมาจากปีงบประมาณ 2559 ในขณะนั้นมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการจำนวน 2 โรงเรียน คือโรงเรียนบ้านโกตาบารูและโรงเรียนบ้านอัยเยอร์เวง และในปีงบประมาณ 2560 กระทรวงศึกษาธิการได้ให้มหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงขยายผลโครงการเพิ่มขึ้น โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลารับผิดชอบเป็นพี่เลี้ยง จำนวน 16 โรงเรียน ในพื้นที่จังหวัดยะลา

          ประธานหลักสูตรการประถมศึกษา กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดค่ายแนะแนวการศึกษาสู่อาชีพ ในครั้งนี้ นับว่าเป็นโครงการที่ตอบสนองความต้องการของพื้นที่ได้เป็นอย่างดี เพราะเนื่องด้วยปัจจุบันระบบการแนะแนวในพื้นที่ยังขาดบุคลากรเฉพาะทาง การจัดค่ายครั้งนี้จะช่วยพัฒนาระบบการแนะแนวในโรงเรียนให้เข้มแข็งขึ้น  ประการสำคัญคือกระบวนการแนะแนว ยังช่วยให้นักเรียนสามารถค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตน มีทักษะการดำเนินชีวิต รู้จักตัดสินใจในการเลือกแผนการเรียน การวางแผนการประกอบอาชีพ และปรับตัวได้อย่างมีความสุขในชีวิต อันจะนำไปสู่กระบวนการตัดสินใจเลือกการเรียนและอาชีพที่เหมาะสมกับตนเองต่อไปในอนาคต

“การจัดค่ายได้แบ่งกิจกรรมย่อยออกเป็น 3 กิจกรรม ได้แก่ การให้ความรู้พื้นฐานด้านการศึกษาและอาชีพ การทดลองอาชีพตามความสนใจ และการพัฒนาทักษะชีวิตด้านการรู้จักตนเอง ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะช่วยให้นักเรียนได้ทราบข้อมูลด้านการศึกษาและอาชีพ การค้นหาความถนัดของตนเองและสามารถเลือกอาชีพสมความปรารถนาในอนาคต โดยมีฐานการเรียนรู้ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาจำนวน 11 ฐาน ให้กับนักเรียน” อาจารย์จันจลี กล่าว
 ทั้งนี้ การจัดค่ายแนะแนวการศึกษาสู่อาชีพ มีจำนวนทั้งสิ้น 4 รุ่น รุ่นที่ 1 วันที่ 18-19 พฤษภาคม 2560,    รุ่นที่ 2 วันที่  20-21 พฤษภาคม 2560 , รุ่นที่ 3 วันที่ 22-23 พฤษภาคม 2560 , รุ่นที่ 4 วันที่  24-25 พฤษภาคม 2560

(ร่าง) การผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงอย่างมืออาชีพ

การผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงทุกรายการ ผู้ผลิตรายการเป็นผู้ที่มีบทบาทส าคัญอย่างมาก เพราะต้องท าหน้าที่เสมือนพ่อครัวปรุงอาหารให้คนอื่นรับประทาน อาหารจะมีรสชาติดีหรือไม่ดี รายการจะ ถูกใจผู้ฟังหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการท าหน้าและความรับผิดชอบของผู้ผลิตรายการนั้นๆ ซึ่งมีกระบวนการและ ขั้นตอนการน าเสนอเนื้อหาที่ละเอียด ซับซ้อน ต้องอาศัยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเฉพาะ การผลิต รายการวิทยุกระจายเสียง จะต้องวิเคราะห์งานหรือภารกิจขององค์กรที่จะสื่อให้ชัดเจน วัตถุประสงค์ของ รายการ กลุ่มเป้าหมาย ความยาวและระยะเวลาในการออกอากาศ จากนั้นจึงกำหนดเนื้อหารายการ และ รูปแบบของรายการให้เหมาะสม เพื่อให้การผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อ ผู้ฟัง 

ขั้นตอนการผลิตรายการ 1.ขั้นเตรียมการ ขั้นเตรียมการ สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็นอีก 3 ขั้นตอน คือ 
       วางแผน คือ การกำหนดหัวข้อว่าจะจัดรายการเรื่องอะไร มีเนื้อหาอย่างไร จะเสนอ รายการในรูปแบบไหน ผู้ฟังคือใคร ออกอากาศเวลาไหน ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจน ผู้ผลิตรายการควร เขียนออกมาเป็นโครงการน าเสนอรายการ จะช่วยให้เห็นภาพของการจัดรายการได้ชัดเจนขึ้น การเขียนบท คือ การเอาความคิดในขั้นวางแผนมาขยาย และเขียนรายละเอียด ออกมาเป็นบทวิทยุฯ โดยอาศัยการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่ต้องการจัด ประกอบกับจิตนาการ การเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเสียงประกอบต่างๆตามบท คือ การจัดเตรียม แผ่นเสียง แผ่นซีดี เพลงประกอบในรายการเสียงประกอบต่างๆจัดหาบุคลากรให้พร้อมตามบทที่ก าหนด ว่า ใครท าหน้าที่อะไร มีใครมาร่วมรายการบ้าง นัดสัมภาษณ์ นัดบันทึกเสียงหากเป็นรายการบันทึกเทป 
2.ขั้นซักซ้อมออกอากาศ เป็นการซักซ้อมการจัดรายการตามรายละเอียดของบทวิทยุที่เขียนไว้ทั้งหมดเพื่อให้ บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกคนได้ท าความเข้าใจร่วมกัน และเพื่อหาข้อบกพร่องจะได้แก้ไขได้ทันท่วงที 
3.ขั้นออกอากาศ เป็นขั้นที่ทุกสิ่งทุกอย่างกระท าไปตามบทที่ผ่านการซักซ้อมและแก้ไขมาแล้ว โดย การออกอากาศนี้อาจเป็นการออกอากาศจริง หรือบันทึกเทปเอาไว้แล้วนำไปออกอากาศก็ได้ 

4.ขั้นประเมิน เป็นการติดตามผลหลังจากการออกอากาศ ว่ารายการที่ผลิไปนั้นประสบปัญหา อะไรบ้าง จะแก้ไขอย่างไร หรือผู้ฟังต้องการให้เป็นแบบไหนเพื่อให้รายการประสบความสำเร็จสูงสุด
                                                                                          

-ร่าง- ประกาศ กสทช เรื่อง แผนความถี่วิทยุกระจายเสียงระบบดิจิตอลเพื่อการทดลองหรือทดสอบ

-ร่าง- ประกาศ กสทช เรื่อง แผนความถี่วิทยุกระจายเสียงระบบดิจิตอลเพื่อการทดลองหรือทดสอบhttps://drive.google.com/open?id=0B7F6IKhPcbsidnRnLVRDSkdZMUpZc1d1SnZLUmtXWVV2ZDhR


การจัดการความรู้ การเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ KM

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ได้เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Blogger ในการเป็นเวที และเปลี่ยนเรียนรู้
  • ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้นำการใช้งาน WebBlogger มาเป็นเวทีกลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 
  • แชร์การนำ Google for Apps มาใช้งานในองค์กร
ภาพ ดร.ศิริชัย กำลังแบ่งปันความรู้


การจัดการความรู้:สำนักวิทยบริการและเทคดนโลยีสารสนเทศ ปีงบประมาณ2560

          สำนักวิทยบริการได้ดำเนินการจัดการความรู้ (KM) 
ประจำปีงบประมาณ 2560

  การทำงานเป็นทีม

การจัดการความรู้: ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ

             ด้วยคณะกรรมการบริหารกองกลาง ได้มีการจัดประชุมร่วมกันในการวิเคราะห์หัวข้อในการจัดการเรียนรู้ โดยที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาเเล้วเห็นว่า ประเด็นการใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการยังเป็นปัญหาในการดำเนินงานของกองกลาง โดยพบว่าผู้ปฏิบัติงานยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเขียนรายงานการเดินทาไปราชการ
             จากประเด็นปัญหาดังกล่าว จึงเป็นที่มาให้กองกลางได้กำหนดประเด็นการเรียนรู้ในเรื่อง การเขียนรายงานการเดินทางไปราชการ โดยกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นในวันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมเวิ่งช่าย มีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ธุรการ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ของส่วนราชการ เเละบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมกันเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ 
               ซึ่งจากการจัดเวทีเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ดังกล่าว ได้มีการตอบคำถาม ข้อสงสัย ในประเด็นดังกล่าว  เเละจากการร่วมเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทางผู้เข้าร่วมเเลกเปลี่ยนได้เสนอเเนะให้งานการคลัง จัดทำคู่มือการให้บริการในเรื่องการเขียนรายงานค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ เเละภายหลังจาการเผยเเพร่คู่มือดังกล่าว ทางงานการคลังจะมีการจัดเวทีเเลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อติดตามผลการให้ความรู้ อีกครั้ง


การจัดการความรู้: การเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน km.yru.ac.th


มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กำหนดวิสัยทัศน์ "มหาวิทยาลัยคลังปัญญาแห่งชายแดนใต้ (The WISDOM Bank University)" เป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งไปสู่อนาคต Small and Smart University เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในทุกมิติ เพื่อพัฒนาคนไปสู่บุคคลแห่งการเรียนรู้ (Learning Person) นำพาองค์กรเป็นองค์กรแห่งการจัดการเรียนรู้ (Learning Organization: LO) เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งสู่องค์กรคุณภาพ โดยเริ่มจากการพัฒนาคน คนสร้างองค์ความรู้สู่องค์กร องค์กรจัดระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Manamgement) ให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล เป้าหมายสุดท้ายองค์กรใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการองค์ความรู้ทุกประเภท ตั้งแต่การสร้าง การคัดสรร การจัดรูปแบบ (เน้นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์) การจัดเก็บ การนำเสนอ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการค้นคืนเพื่อนำองค์ความรู้กลับมาใช้ใหม่ในองค์กร หรือเพื่อเป็นคลังปัญญาให้กับชุมชน ท้องถิ่นและประเทศชาติ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
   ดังนั้น การจัดอบรมปฏิบัติการ เรื่อง การจัดการความรู้:การเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน km.yru.ac.th จึงเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญในการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ที่ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดเวทีเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้ที่เกิดจากบุคคล หน่วยงานภายใน เพื่อจัดการองค์ความรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะในขั้นตอนการจัดเข้าถึงความรู้ การแลกเปลี่ยนแบ่งปัน และการเรียนรู้ ซึ่งในปัจจุบันมีเครื่องมือจัดการหลากหลายรูปแบบ http://km.yru.ac.th ก็เป็นเวทีหนึ่ง ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่อง การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การบริหารจัดการองค์การ และการปฏิบัติงานในองค์กร
  เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาอื่นๆ ที่ควรเรียนรู้และเข้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้








เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้

แบบทดสอบประเมินตนเอง