บุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศได้เดินทางไปศึกษาดูงาน ณ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรสำนักวิทยบริการฯ ได้รับประสบการณ์ ความรู้แนวคิดในการพัฒนาห้องสมุดให้เป็น Green Library จากการศึกษาดูงานมาประยุกต์ใช้พัฒนาสำนักวิทยบริการฯ ให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานทั้งด้านบริการ ด้านการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ และสนับสนุนในการขับเคลื่อนนโยบายห้องสมุดปัญญาภิรมย์ โดยได้ศึกษาดูงาน 3 ประเด็นดังนี้
1. การปรับปรุงห้องสมุด
1. การปรับปรุงห้องสมุด
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.ราชภัฏเพชรบุรี ได้มีการพัฒนาโดยได้งบประมาณในการปรับปรุงจำนวน 12 ล้านบาท ซึ่งได้ใช้งบดังกล่าวในการปรับปรุงห้องน้ำ และปรับทัศนียภาพ ณ ชั้น 1 ซึ่งมีการจัดทำชั้นหนังสือที่ปรับปรุงใหม่เป็นลักษณะโค้งๆ โดยได้ใช้หลอดไฟสีนีออนเพิ่มความเด่นให้แก่ชั้นวางหนังสือ และรวมรวบหนังสือใหม่ (5 ปีนับจากปัจจุบันย้อนลงไป) นำจัดให้บริการบนชั้นวางดังกล่าว ส่วนหนังสือเก่าที่ตีพิมพ์ตั้งแต่ 5 ปีย้อนหลังจะนำไปไว้ที่ชั้นวางหนังสือบริเวณชั้น 2 ขึ้นไป ส่วนชั้น 6 เน้นความเป็น smart classroom โดยมีห้องประชุมที่สามารถปรับให้เป็นห้องเรียนได้ เพื่อส่งเสริมให้ทั้งอาจารย์และนักศึกษาเข้าห้องสมุดมากที่สุด
2. ห้องสมุดสีเขียว (Green Library)
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.ราชภัฏเพชรบุรี ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียวกับม.เกษตรศาสตร์ซึ่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีได้รับประทานเกียรติบัตรห้องสมุดสีเขียวจาก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุในวันที่ 23 มีนาคม 2560 ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2559 และเป็นห้องสมุดสีเขียวนำร่องในจำนวน 10 แห่งของมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ โดยมีสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้นแบบ)
ตัวอย่าง การเปลี่ยนแปลงเพื่อความเป็นห้องสมุดสีเขียว ได้แก่ เปลี่ยนไฟเป็น LED เพื่อลดพลังงาน ครุภัณฑ์ซื้อใหม่ประหยัดไฟเบอร์ 5 ออกแบบอาคารให้เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงาน เครื่องถ่ายเอกสาร ปรับผนังเป็นกระจก ลดการใช้ไฟ ปรับภูมิทัศน์สีเขียวทั้งภายในและภายนอก หาต้นไม้เล็กๆ ใส่ในห้องสมุด ใช้อุปกรณ์ recycle ใส่ต้นไม้ การพิจารณาการใช้ไฟฟ้าของหน่วยงาน เป็นมูลค่ากี่บาท (ต้องแจ้งส่วนกลางให้ประเมินราคาให้) การใช้ปริมาณน้ำ มีการจดมิเตอร์น้ำ (เช็คการรั่วซึมของก็อกน้ำ) ควรติดตั้งมิเตอร์น้ำแบบดิจิทัล และเทียบคำนวณการใช้น้ำจากเว็บไซต์การประปา การคัดแยกขยะ ใช้วัสดุรีไซเคิล กล่องเอสี่เอามาใช้งานต่อ ป้ายประกาศใช้ปฏิทินเก่า ควบคุมการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์น้ำยาทำความสะอาดของแม่บ้าน มุมหนังสือส่งเสริมความรู้พลังงานและสิ่งแวดล้อม ชดเชยการใช้คาร์บอนฟุตปริ้นด้วยการปลูกต้นไม้ การติดแผงโซล่าเซลชั้นดาดฟ้า จัดเบรคห่อใบตอง กินขนมไทย น้ำใบเตย ดอกอัญชัน ระหว่างทำกิจกรรม ให้แทรกความเป็นกรีนเข้าไปด้วย การแยกเศษอาหารที่บุคลากรกิน เป็นต้น
3. ทักษะการทำงานเป็นทีม (Teamwork skills)
เจ้าหน้าที่ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.ราชภัฏเพชรบุรีมีการทำงานเป็นทีมในทุกงาน โดยเฉพาะการจัดโครงการต่างๆ ซึ่งได้มีการบูรณาการศาสตร์โดยเน้นคณาจารย์จากทุกคณะให้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสวท.ส่งเสริมการเรียนรู้ในสวท.ด้วยไปด้วยกันและจับมือกับคณะเพื่อจัดกิจกรรมในห้องสมุด เช่น มีการพัฒนาสื่อการสอนให้เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายไอทีจะช่วยปรับไฟล์ power point ให้เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้แก่อาจารย์ทั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็จะแบ่งงานกันประสานกับคณาจารย์ตามคณะต่างๆ รวมทั้งการจัดกิจกรรม ที่ไม่เลือกมุ่งเน้นด้านใดด้านหนึ่ง แต่จะพยายามจัดอะไรก็ได้ที่ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าห้องสมุดมากยิ่งขึ้นและเน้นให้นักศึกษาช่วยประชาสัมพันธ์ห้องสมุดซึ่งเจ้าหน้าที่ก็จะแบ่งกันประสานนักศึกษาตามคณะต่างๆเพื่อให้ช่วยกันประชาสัมพันธ์ห้องสมุดลงในเฟสบุ๊คและแท็ก สวท.ด้วย