วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2560

กระบวนการการเรียนรู้

กระบวนการเรียนรู้วิจัย บริหาร ปฏิบัติงานเพื่อการพัฒนาและการเรียนรู้องค์กร  และการแลกเปลี่ยนความรู้ ประเด็นและสาระสำคัญที่ได้จากการเข้าร่วมสัมมนาที่นำมาแลกเปลี่ยนกันที่น่าสนใจ มีดังนี้
  • การปรับตัวของอุดมศึกษาไทย ทำอย่างไรที่จะรองรับการพัฒนาวิสัยทัศน์ชาติ "มั่งคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" สู่ "ประเทศไทย 4.0" ด้วยวิกฤติคุณภาพการศึกษา คุณภาพบัณฑิตไทยที่ยังไม่ตอบสนองและสนับสนุนการพัฒนาไปสู่ประเทศไทย 4.0 หรือประเทศไทย 4.0 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดประดิษฐ์นวัตกรรม การสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยใช้บริบทของเทคโนโลยีของโลกที่ปรัลเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว 
  • การจัดการศึกษาที่เป็นแนวทางสนับสนุน Thailand 4.0 ที่สำคัญคือ ต้องปฏิรูปกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เน้น Active Learning ตัวอย่างเช่น การใช้ STEM (Science, Technology, Engineer, Mathematic) เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้  การพัฒนาโรงเรียนไปสู่  Innovative School ซึ่งจะเป็นรูปแบบที่ต่างปัจจุบัน เป็นต้น
  • ผลกระทบด้านการศึกษาของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้เรียนเป็นผู้เลือกในสิ่งที่สนใจและอยากเรียนรู้ เช่น เทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้แบบเปิดสำหรับผู้สนใจเรียนกลุ่มใหญ่แบบออนไลน์ ที่สามารถสมัครเข้าเรียนได้จากทั่วโลก เรียนกับผู้สอนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขา/วิชานั้นๆ จากอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับโลก หรือจากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ เมื่อเรียนเสร็จได้ในใบรับรองคุณวุฒิ ที่เรียกว่าระบบการเรียนการสอนแบบ MOOC (Massive Open Online Course) เช่น Edx (https://www.edx.org) Saylor (https://www.saylor.org) Coursera (https://www.coursera.org) Khan Academy (https://www.khanacademy.org) เป็นต้น ซึ่งนวัตกรรมการเรียนรู้เหล่านี้ จะตอบสนองกับผู้เรียนยุค Gen Y หรือ Gen i ที่ต้องการเรียนรู้ในสิ่งที่ต้องการรู้และนำไปใช้ได้จริงๆ เรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ มีชื่อเสียงระดับโลก ทำให้การจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยในรูปแบบปกติ ต้องนำไปพิจารณาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้กับระบบการ
  • เรียนการสอนในหลักสูตรปกติของมหาวิทยาลัย
  • นอกจากนั้น ด้านนโยบายการบริหารงานด้านไอซีทีขององค์กร จะต้องมีความชัดเจน และกำหนดมาตรฐานขึ้นมาใช้ทั้งองค์กร ได้แก่
    • การพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์กรภายใน จะต้องขออนุมัติในระดับนโยบาย เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกันและเป็นไปตามทิศทางการพัฒนาของมหาวิทยาลัย
    • การพัฒนาคน (ทั้งด้านนักพัฒนาระบบ และผู้เกี่ยวข้อง) จะต้องมีเป้าหมายให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • การพัฒนามาตรฐานการทำงานด้านไอซทีที่เป็นกรอบมาตรฐานสากล
    • การพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนในอนาคต มุ่งสร้างผลิตเพื่อหาหรือสร้างรายได้
    • ควรมีการพัฒนาระบบการมอบหมายงาน (KPIs) ของนักวิชาการคอมพิวเตอร์ให้ชัดเจน ตามหน้าที่หลัก
    • การมอบหมาย KPIs ให้บุคลากรในหน่วยงานผู้ใช้ระบบโดยตรง เพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบสารสนเทศตั้งแต่เริ่มต้น
    • ควรมีการจัดทำแผนบริหารเรื่องความเสี่ยงด้านไอซีที
    • การกำหนดบทบาทในการพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์กรให้ชัดเจน  เช่น  DBA, NA
    • เป้าหมายการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อตอบสนองการบริการท้องถิ่น โดยเฉพาะการผลิตระบบสารสนเทศตอบสนองโครงการต้นแบบสามเหลี่ยมเศรษฐกิจชายแดนใต้